อันตรายของ “ป่าช้าเหงา” (หนานเฉาเหว่ย) สมุนไพรช่วยลดน้ำตาลในเลือด ทานมากอาจช็อกเสียชีวิต
“ป่าช้าเหงา” สมุนไพรที่ผู้สูงอายุนิยมทานเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆ ทดแทน หรือควบคู่ไปกับการทานยาปฏิชีวนะ เพื่อรักษาอาการโรคเบาหวาน ฟังดูมีประโยชน์ และปลอดภัย แต่จริงๆ แล้วหากทานไม่มากเกินไป หรือทานไม่ถูกวิธี อาจเสี่ยงน้ำตาตกเฉียบพลันจนช็อก และเสียชีวิตได้
ป่าช้าเหงา คืออะไร?
ต้นป่าช้าเหงา หรือ หนานเฉาเหว่ย เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดจากจีน และเป็นพืชกลุ่มเดียวกับฟ้าทลายโจร และพญายอ นิยมปลูกเพื่อเป็นสมุนไพร รักษาอาการของโรคต่างๆ ส่วนที่นำมาทานเพื่อบรรเทาอาการของโรค คือ ใบสด ที่มีรสขมจัด
สรรพคุณของใบป่าช้าเหงา หรือ หนานเฉาเหว่ย
เฟซบุ๊คเพจ สมุนไพรอภัยภูเบศร อธิบายว่า ป่าช้าเหงามีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ดังนี้
- ลดน้ำตาลในเลือด
- ลดไขมันในเลือด
- ลดน้ำหนัก
- ลดความดันโลหิต
- มีสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง
- ปกป้องตับ (แต่หากเป็นโรคตับ ไม่แนะนำให้ทาน)
- ปกป้องไต (หาก GFR หรือค่าการทำงานของไตต่ำกว่า 60 ไม่แนะนำให้ทาน)
- กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย
- แก้ปวด ลดอักเสบ
- ต้านเชื้อแบคทีเรีย
- ต้านเชื้อปรสิต
- เพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม
- คนพื้นบ้านทานเพื่อแก้ไขมาลาเรีย
- คนในแอฟริกา และลิงชิมแปนซีกินเพื่อขับพยาธิ
ปริมาณของใบป่าช้าเหงาที่ควรทาน
-
ทานเป็นอาหาร
ทานใบป่าช้าเหงาโดยนำใบมารองกระทงห่อหมกแทนใบยอ หรือยำดอกขจรใส่ดอกป่าช้าเหงา คนพื้นบ้านนิยมกินช่วงเปลี่ยนฤดู ปลายฝนต้นหนาว เพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ไม่ให้เจ็บป่วย (นิยมนำมาลวกน้ำร้อนก่อนรับประทาน เพื่อลดความขม และลดฤทธิ์ยา วันละ 3-5 ใบ)
-
ทานเป็นยา
เช่น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือกินบำรุงร่างกาย
- กินใบสด ถ้ากินใบใหญ่เท่าฝ่ามือ วันละ 1 ใบ กินบ้างหยุดบ้าง เช่น กินวันเว้นวัน หรือ 2-3 วันกินที ถ้าจะกินทุกวัน แนะนำวันละ 1-2 ใบเล็กๆ ติดต่อกันไม่เกิน 1 เดือน อาจเว้น 1 เดือน แล้วเริ่มกินใหม่
- ต้มกิน ใบเท่าฝ่ามือ 3 ใบ ต้มกับน้ำ 1 ลิตร ต้มพอเดือด 3-5 นาที ดื่ม 250 มิลลิลิตร ก่อนอาหารเช้า วันละ 1 ครั้ง ตอนตื่นนอน กินบ้างหยุดบ้าง
ไม่แนะนำให้กินทุกวัน หรือกินต่อเนื่อง เพราะเป็นยาเย็น
(จากการใช้ของคนไทใหญ่และทางใต้ มักกินไม่เกินวันละ 5 ใบ)
ข้อควรระวังในการทานใบป่าช้าเหงา
- ห้ามใช้ในคนไข้กินยาละลายลิ่มเลือดชื่อวาร์ฟาริน เพราะอาจเสริมฤทธิ์ยา
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หรือวางแผนจะตั้งครรภ์
- ผู้ป่วยที่มีการทำงานของตับ และไตบกพร่อง (ผู้เชี่ยวชาญบางท่านแนะนำว่าหากค่าการทำงานของไต GFR น้อยกว่า 60 ไม่ควรทาน) เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยในการใช้ในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว
- ไม่ควรทานเป็นยา ในผู้ที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด คุมความดันโลหิตได้ดีอยู่แล้ว
- ระวังการใช้ในผู้ป่วยเลือดจาง เนื่องจากบางรายงานพบฤทธิ์ทำให้เม็ดเลือดแดงแตก
- หากมีอาการหน้ามืด เหนื่อยมากขึ้น เหงื่อออก ใจสั่น อ่อนแรง ควรหยุดทานแล้วปรึกษาแพทย์ทันที
ข้อควรทราบก่อนทานใบป่าช้าเหงา
- สมุนไพรไม่ได้ทำให้โรคดังกล่าวหายขาด ห้ามหยุดยาแผนปัจจุบัน ห้ามขาดการรักษา
- ผู้ป่วยควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ความดันตก (BP < 90/60 มิลลิเมตรปรอท อาจมีวิงเวียน หน้ามืด) น้ำตาลตก (ระดับน้ำตาล < 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจมีวิงเวียนหน้ามืด ใจสั่น เหงื่อกออก) ต้องหยุดกินทันที
- จากรายงานการใช้ พบว่าให้ผลลดความดันและน้ำตาลได้เร็ว และลดได้มาก ในผู้ป่วยบางราย (Haemolytic properties) แต่บางรายงานก็ไม่พบผลดังกล่าว
- พบพิษต่ออัณฑะในหนูเพศผู้ เมื่อใช้ติดต่อกัน 5-6 วัน ระวังการใช้ติดต่อกันนานหรือเข้มข้นในชายวัยเจริญพันธุ์