รู้หรือไม่? “เอดส์” (AIDS) และ “เอชไอวี” (HIV) ต่างกันอย่างไร?

รู้หรือไม่? “เอดส์” (AIDS) และ “เอชไอวี” (HIV) ต่างกันอย่างไร?

รู้หรือไม่? “เอดส์” (AIDS) และ “เอชไอวี” (HIV) ต่างกันอย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คิดว่านาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักโรคเอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ยังไม่มียารักษาโรคได้อย่างแท้จริง มีเพียงยาต้านไวรัสที่ช่วยประคับประคองอาการของผู้ป่วยให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างแข็งแรงไปได้อีกหลายปี (หรือสิบปี) แต่ผู้ป่วยต้องมีวินัยในการทานยา และพบแพทย์ตามเวลาเท่านั้น แต่นอกจากชื่อโรคว่า “เอดส์” แล้วยังมีชื่อที่เราเรียกว่าเชื้อ “เอชไอวี” อีกชื่อหนึ่งด้วย สองคำนี้ต่างกันอย่างไร Sanook! Health เรามีคำตอบมาอธิบายให้เข้าใจกัน

 

ความหมายของ “เอชไอวี” (HIV)

เชื้อเอชไอวี (Human Immunodeficiency Virus) คือ ไวรัสที่จะเข้าไปกัดกินทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ทำให้ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

 

ความหมายของ “เอดส์” (AIDS)

เอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome - AIDS) คือกลุ่มอาการของการติดเชื้อโรคแทรกซ้อนต่างๆ เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อเอชไอวีทำลาย จนไม่สามารถต้านทานเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายเหล่านี้ได้

 

ติดเชื้อเอชไอวี ≠ โรคเอดส์

หากผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ไม่จำเป็นจะต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป เพราะหากตรวจพบว่าติดเชื้อได้เร็วผ่านการตรวจเลือด สามารถรักษาได้ด้วยการทานยาต้านไวรัส เมื่อทำการรักษาแล้ว อาจไม่สามารถตรวจพบเชื้อเอชไอวีในร่างกายได้อีก เมื่อตรวจไม่เจอก็เท่ากับไม่แพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทำการรักษาด้วยยาต้านไวรัสอย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง จะมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีอายุขัยยืนยาวเท่ากับผู้ที่ไม่มีเชื้อ และอาจไม่จำเป็นต้องทานยาต้านไวรัสไปตลอดชีวิต เพราะหากตรวจไม่พบเชื้ออีก ก็สามารถหยุดทานยาได้ แต่แพทย์อาจนัดพบเพื่อตรวจร่างกายเป็นระยะๆ

“เอชไอวี รู้เร็ว รักษาได้”

 

การติดต่อของเชื้อเอชไอวี จากคนสู่คน

เชื้อเอชไอวีสามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ผ่านสารคัดหลั่ง เช่น เลือดของผู้ป่วย ที่เข้าสู่ร่างกายอีกคนผ่านการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ซึมผ่านเข้าบาดแผลสดๆ การให้นมบุตรจากแม่ที่ติดเชื้อสู่ลูก เป็นต้น แต่โอกาสที่จะติดเชื้อก็ไม่ 100% เสมอไป

ส่วนการกอด จูบ (ในกรณีที่ไม่มีแผลในปาก หรือเป็นการจูบแลกลิ้น แลกน้ำลายกัน) ทานข้าวร่วมกัน จานเดียวกัน ใช้ช้อนส้อม แก้วหน้าร่วมกัน ใช้สบู่ แชมพู ยาสีฟันร่วมกัน ไอจามใส่กัน หรือการมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัย (ที่ยังอยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน) ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อเอชไอวีได้

 

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี

  1. สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์

  2. หากอยากมีบุตร ควรมีเพศสัมพันธ์กับคู่รักของตัวเองเท่านั้น และอย่าลืมตรวจร่างกายเพื่อการวางแผนครอบครัวก่อน

  3. ไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ ควรรักเดียวใจเดียว

  4. ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับคนอื่น

  5. หากพบว่าร่างกายติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด ยิ่งเร็ว ยิ่งรักษาง่าย

  6. หากเป็นผู้ติดเชื้อจากแม่ ควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ตั้งแต่เด็ก และมีวินัยในการรักษาอย่างเคร่งครัด

  7. ไม่ควรหวังตรวจเลือดด้วยการบริจาคโลหิต เพราะเป็นการรบกวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ และไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่รอรับโลหิตเพื่อการรักษา


>> 8 สิ่งที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์ และผู้ติดเชื้อ HIV

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook