ไบโพลาร์ เดี๋ยวซ่า เดี๋ยวเศร้า
ไบโพลาร์ คือ “โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว” โดยปกติคนเราจะมีพื้นอารมณ์ที่เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมและความคิดอยู่ โดยอาศัยการทำงานของสารเคมีในสมองที่เราเรียกว่า “สารสื่อประสาท” เมื่อใดที่สารสื่อประสาทเหล่านี้ทำงานไม่ปกติ การแสดงออกของอารมณ์ก็จะหลุดออกนอกกรอบ กลายเป็นอารมณ์แปรปรวนได้ 2 แบบ คือ เป็นแบบทุกข์มากจนซึมเศร้า หรือ สุขมากจนกลายเป็นความคึกคักที่ควบคุมไม่ได้ เดี๋ยวซ่า อาการคึกคัก เช่น สุขมาก ครื้นเครง พูดมาก ไม่นิ่ง มีพลังมาก ไม่หลับไม่นอน มั่นใจสูง ตัดสินใจเร็ว ไม่ยับยั้งชั่งใจ ความคิดบรรเจิด ใช้เงินเก่ง ไม่มีสมาธิ ก้าวร้าว หงุดหงิด เป็นต้น เดี๋ยวเศร้า อาการซึมเศร้า เช่น เศร้า หดหู่ ท้อแท้ กังวล เบื่อหน่าย เฉยเมย หงุดหงิด ไม่กิน เพลีย ไม่สบาย ไม่มีสมาธิ รู้สึกผิด อยากตาย สมองไม่สั่งงาน เฉื่อยชา เป็นต้น
เมื่อเกิดอาการข้างต้นติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ถึงจะเรียกว่าป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นบ่อยกว่าอาการคึกคักเกือบ 3 เท่า โดยในสังคมปกติ จะมีคนป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ร้อยละ 1-2 การมีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้ จะช่วยให้เข้าใจและให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีอาการได้ถูกวิธี และสามารถป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากอาการของโรคนี้ได้
โรงพยาบาลมนารมย์ ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟังการบรรยาย วันที่ 17 มีนาคม 2562 เวลา 09.30 น. - 12.00 น. ณ ห้องประชุมมนารมย์ ชั้น 2 โดย นพ. พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์
ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
ลงทะเบียนออนไลน์ https://www.manarom.com/services/seminar/afcourse.html?register=af-2019-05
หรือโทรสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-725-9595
(Advertorial)