ทำไมบางคน เจอแดดแล้ว “จาม”?

ทำไมบางคน เจอแดดแล้ว “จาม”?

ทำไมบางคน เจอแดดแล้ว “จาม”?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการจามเมื่อสัมผัสกับแสงแดด เป็นอาการแปลกๆ ที่คนเป็นอาจไม่รู้ตัวว่าเป็นความผิดปกติ หรืออาจไม่ทันสังเกตด้วยซ้ำว่าเป็นอยู่คนเดียว หรือคนอื่นก็เป็นด้วย แต่หากสงสัย เรื่องนี้มีคำอธิบาย


เจอแดดแล้วจาม? 

อาการที่เราสัมผัสกับแสงแดดแล้วจามออกมา เรียกว่า รีเฟล็กซ์จามจากแสง (photic sneeze reflex) เป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายผ่านระบบประสาทอย่างหนึ่ง นอกจากการสัมผัสกับแสงแดดแล้ว ยังพบปฏิกิริยาอื่นๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น การมองเห็นแสงจ้า หรือการฉีดยาเข้าบริเวณรอบลูกตา 

ปฏิกิริยาจามจากแสง พบได้ประมาณ 18-35% ของคนทั่วไป แต่ยังไม่ทราบกลไกที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจนมากนัก

นักวิจัยบางส่วนสันนิษฐานว่า เป็นปฏิกิริยาที่ตอบสนองจากสิ่งเร้าบางอย่าง ในกรณีนี้คือ แสงแดด แล้วมีส่วนเกี่ยวข้องหรือส่งผลให้เกิดอาการระคายเคืองบริเวณจมูกจนทำให้มีอาการจาม โดยเป็นการทำงานผ่านระบบประสาทจากผิวหนังสู่สมอง และสมองสั่งให้ปล่อยลมออกจากปากและจมูกแรงๆ ไม่ใช่แค่ให้กำจัดน้ำมูกในโพรงจมูกออกไปเท่านั้น แต่ยังทำให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นทำงานตามไปด้วย เช่น การหายใจเข้ามากๆ ในช่วงระยะสั้นๆ ผ่านหลอดลมก่อนจาม และการหลับตาขณะจาม

อีกหนึ่งข้อสันนิษฐาน มาจากความผิดปกติของ trigeminal nerve เป็นระบบประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึกบนใบหน้า โดยควบคุมการทำงานของตา โพรงจมูก และกราม เช่น การส่งสัญญาณให้หรี่ตาเมื่อมองกับแสงจ้า เป็นต้น

ยังมีระบบประสาทอีกหนึ่งอย่างที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการจามเมื่อโดนแสงแดด นั่นคือ ระบบประสาทพาราซิมพาเธทิค (parasympathetic generalisation) ที่ระบบประสาทอาจทำงานอย่างอัตโนมัติเมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีปฏิกิริยาก่อน เช่น หากแสงจ้ากระทบกับดวงตาทำให้แสบตาจนต้องหรี่ตา อาจสะกิดให้อวัยวะส่วนอื่นๆ ทำงานเพิ่มขึ้นทันทีทันใดนั้น

อย่างไรก็ตาม อาการนี้ถูกเรียกในภายหลังว่า Achoo (ฮัดชิ้ว เสียงจาม) ที่ย่อมาจาก Autosomal Dominant Compelling Helio-opthalmic Outburst โดยเป็นการอธิบายอาการที่เกิดขึ้นว่าเป็นอาการที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้โดยไม่จำกัดเพศ

อาการจามเมื่อโดนแสงแดดไม่ได้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกาย ดังนั้นไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่ถ้าหากคุณจามหนักมากติดต่อกัน คุณอาจเป็นหวัด หรือภูมิแพ้มากกว่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook