“หลอดเลือดสมอง” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทย

“หลอดเลือดสมอง” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทย

“หลอดเลือดสมอง” สาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหลอดเลือดสมอง พบบ่อย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของไทย สาเหตุจากพันธุกรรม และพฤติกรรมการใช้ชีวิต สังเกตอาการเตือนให้ดีก่อนอันตราย และสายเกินแก้

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งของโรคทางระบบประสาท และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญใน อันดับต้นๆ ของประเทศ โรคนี้ถ้าหากได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีส่วนใหญ่ จะมีความพิการหลงเหลือตามมา 


โรคหลอดเลือดสมอง คืออะไร ?

นิตยา พันธุเวทย์ และลินดา จาปาแก้ว จาก สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลว่า โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) หรือโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงท าให้ อาการชาที่ใบหน้า ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่ง อ่อนแรงเคลื่อนไหวไม่ได้หรือเคลื่อนไหวล าบาก อย่างทันทีทันใด เป็นนาทีหรือเป็นชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่เกิด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือตัน (Ischemic stroke) และโรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)


ประเภทของโรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. โรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke)
    พบประมาณ 70–75% ของโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมด ทาให้เซลล์สมองและเซลล์เนื้อเยื่ออื่นๆ ขาดเลือดอย่างเฉียบพลัน ซึ่งอาจเกิดจากภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ผนังหลอดเลือด เช่น ไขมันและเกล็ดเลือด มาเกาะที่ผนังหลอดเลือดหรือมีการสร้างชั้นของผนังเซลล์หลอดเลือดที่ผิดปกติ ทาให้ผนังหลอดเลือดหนาและเสียความยืดหยุ่น ทาให้มีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดได้ นอกจากนี้ อาจจะเกิดจากลิ่มเลือดที่มาจากที่อื่นๆ เช่น ลิ่มเลือดจากหัวใจหรือจากหลอดเลือดแดงคาโรติดที่คอหลุดลอยมาอุดตันหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการชา อ่อนแรงของแขนขาซีกใดซีกหนึ่ง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด อาจเคยมีอาการมาก่อน แล้วดีขึ้นเองเป็นปกติ ซึ่งเป็นลักษณะอาการของโรคหลอดเลือดสมองตีบชั่วคราว มักมีอาการหลังตื่นนอน หรือขณะทากิจกรรม ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนแรงมากขึ้นและซึมลงภายใน

  2. โรคหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke)
    พบน้อยกว่าโรคหลอดเลือดสมองตีบ แต่มีความรุนแรงมากกว่า พบโรคหลอดเลือดสมองแตกประมาณ 25-30% โดยแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1) เลือดออกในเนื้อสมอง (Intracerebral hemorrhage) ซึ่งจะพบลักษณะของลิ่มเลือดในเนื้อสมอง และ 2) เลือดออกใต้ชั้นเยื่อหุ้มสมอง (Subarachnoid hemorrhage) ผู้ป่วยจะมีเนื้อสมองที่บวมขึ้น และกดเบียดเนื้อสมองส่วนอื่นๆ และทาให้การทางานของสมองที่ถูกเบียดเสียไป

สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตก อาจเกิดจากความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองโป่งพอง เป็นต้น มักมีอาการปวดศีรษะทันที อาเจียน แขนขาอ่อนแรงหรือชาครึ่งซีก พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ชัก หรือหมดสติได้


ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญ เช่น 

  • อายุมากกว่า 65 ปี (แต่สามารถพบโรคนี้ได้ต้ังแต่อายุ 25 ปีขึ้นไป)

  • ความดันโลหิตสูง 

  • ผู้ป่วยโรคหัวใจ

  • เบาหวาน 

  • ไขมันในเลือดสูง 

  • มีญาติสายตรงป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

  • ขาดการออกกำลังกาย 

  • น้ำหนักเกิน 

  • สูบบุหรี่ 

  • ดื่มแอลกอฮอล์

เป็นต้น 


สัญญาณอันตราย โรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยจะมีอาการเตือนสำคัญ คือ 

  1. แขน ขาอ่อนแรงซีกเดียวของร่างกาย

  2. สับสน พูดลำบาก พูดไม่รู้เรื่อง

  3. ตามองเห็นลดลง 1 หรือทั้ง 2 ข้าง

  4. มีปัญหาการเดิน

  5. มึนงง 

หลักการจำง่ายจากคำว่า FAST

F = Face เวลายิ้มพบว่ามุมปากข้างหนึ่งตก

A = Arms ยกแขนไม่ขึ้น 1 ข้าง

S = Speech มีปัญหาด้านการพูดแม้ประโยคง่ายๆ พูดแล้วคนฟัง ฟังไม่รู้เรื่อง

T = time ผู้มีอาการดังกล่าวต้องรีบไปโรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาโดยด่วน ภายใน 3 ชั่วโมง จะได้ช่วยรักษาชีวิตและสามารถฟื้นฟูกลับมาได้เป็นปกติหรือใกล้เคียงคนปกติมากที่สุด


วิธีลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

  1. แก้ไขภาวะไม่ปกติของร่างกายให้หายโดยไว เช่น ภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น

  2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยอาหาร และโปรตีนที่ไขมันต่ำ

  3. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม และไขมันสูง

  4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3-5 วันต่อสัปดาห์ หรือสัปดาห์ละ 150 นาทีเป็นต้นไป

  5. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินกว่าเกณฑ์ปกติ

  6. งดเครื่องดื่มมึนเมา 

  7. เลี่ยงสูบบุหรี่

  8. ตรวจสุขภาพประจำปี


พญ.ไพรัตน์ แสงดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่สำคัญของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองคือการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ จำเป็นต้องรักษาหรือฟื้นฟูด้วยวิธีต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายมีสภาพที่ดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นสำหรับวิธีการฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาตควรทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างแพทย์ผู้ป่วยและผู้ดูแลเพื่อการดูแลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากเป็นการฟื้นฟูผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเรื้อรังหรือฉับพลันเพื่อลดความพิการหรือป้องกันความพิการให้ได้มากที่สุดใช้ชีวิตให้เป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 

สำหรับการวินิจฉัยโรคว่าคนไข้อ่อนแรงจากอัมพฤกษ์ อัมพาตหรือไม่ หรือเป็นที่กล้ามเนื้อและกระดูก แพทย์จะซักประวัติและอาจเอกซเรย์สมองร่วมด้วย หากพบว่าเป็นโรคนี้จะส่งให้แพทย์ดูแลอาการให้สภาพคงที่จากนั้นส่งไปยังศูนย์ฟื้นฟูเพื่อกายภาพบำบัดตามลำดับ

ดังนั้น ประชาชนจึงควรมีความรู้เบื้องต้นในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการทราบถึงอาการเบื้องต้นเพื่อจะรักษาได้ทันเวลาเพิ่มการเยียวยาอาการให้ดีขึ้น เช่น การให้ยาละลายลิ่มเลือดในภาวะเส้นเลือดในสมองตีบ และการดูแลที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดในสมองแตกจะช่วยลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิตได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook