5 อาหารเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

5 อาหารเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย

5 อาหารเสี่ยง “มะเร็งลำไส้ใหญ่” มะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้น ๆ ของหลายประเทศทั่วโลก ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของประชากรส่งผลให้แนวโน้มอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาสู่สาเหตุการตายและปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี”

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุเพิ่มเติมว่า “สำหรับประเทศไทยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นทุกปี ปัจจุบันพบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง แต่ละปีจะมีผู้ป่วยรายใหม่ 12,467 คน เป็นเพศชาย 6,874 และเพศหญิง 5,593 คน และมีผู้เสียชีวิตวันละ 14 คน หรือ 5,068 คนต่อปี”


อาหาร สาเหตุหลัก “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากโดยเฉพาะพฤติกรรมการบริโภค จึงทำให้เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ

  1. อาหารไขมันสูง 

  2. อาหารฟาสฟูดส์ต่างๆ

  3. อาหารปิ้งย่างไหม้เกรียม 

  4. อาหารจากน้ำมันทอดซ้ำ

  5. เนื้อสัตว์แปรรูป 

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น 

  1. การสูบบุหรี่ 

  2. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
     
  3. การขาดการออกกำลังกาย  

  4. การมีภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน 

  5. มีประวัติครอบครัวหรือตนเองเป็นติ่งเนื้อในลำไส้ 
Advertisement

เป็นต้น


อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เริ่มจากการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ (polyp) และพัฒนาจนเป็นมะเร็งโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 10-15 ปี มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมักจะไม่มีอาการในระยะเริ่มแรกของโรค จะมีอาการก็ต่อเมื่อโรคลุกลามมากขึ้นจนถึงระยะสุดท้าย ส่งผลทำให้การรักษาไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ซึ่งอาการของโรคที่พบบ่อย ได้แก่ การถ่ายอุจจาระผิดปกติ มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง ถ่ายไม่สุด ถ่ายเป็นมูกหรือ มูกปนเลือด หรืออาจถ่ายเป็นเลือดสด ขนาดลำอุจจาระเล็กลง และมีอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องอืด จุกเสียด เป็นต้น


มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจคัดกรองได้

อย่างไรก็ตาม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่สามารถตรวจคัดกรองเพื่อค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกได้ ส่งผลให้การรักษาได้ผลดีและมีโอกาสหายจากโรคสูง ผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดยการตรวจหาเลือดแฝงในอุจจาระปีละครั้ง หากผิดปกติควรได้รับการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ กรณีพบติ่งเนื้อหรือความผิดปกติในลำไส้ใหญ่ แพทย์จะทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณดังกล่าวเพื่อวินิจฉัยต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้