กิน "ไข่" ทำให้ "แผลเป็นนูน" จริงหรือไม่?
Thailand Web Stat

กิน "ไข่" ทำให้ "แผลเป็นนูน" จริงหรือไม่?

กิน "ไข่" ทำให้ "แผลเป็นนูน" จริงหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ความเชื่อที่ว่า “ไข่” หากกินตอนที่เป็นแผลอยู่ จะทำให้เกิดรอยแผลเป็นนูน ไม่สวยงาม จริงหรือไม่?

แผลเป็น เป็นที่สิ่งที่หลายคนไม่อยากมี เพราะทำให้เกิดความไม่สวยงามบนเรือนร่าง จนอาจทำให้สูญเสียความมั่นใจได้ จึงมีความพยายามที่จะรักษาแผลที่เกิดขึ้นโดยไม่ให้เกิดรอยแผลเป็น แต่หลายคนอาจจะเคยได้ยินมาว่า หากกินไข่ในช่วงที่เป็นแผล อาจทำให้เกิดรอยแผลเป็นนูนๆ ขึ้นมาได้ เรื่องนี้จริงเท็จอย่างไร Sanook Health มีคำตอบจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. มาฝากกัน

แผลเป็นนูน เกิดขึ้นได้อย่างไร?

แผลเป็นนูน มี 2 ชนิด คือ

  1. แผลเป็นนูนเกิน แผลจะนูนขึ้นมาแต่ไม่ขยายเกินขอบเขตของบาดแผล เมื่อเกิดขึ้นแล้วสามารถกลับมาใกล้เคียงกับแผลเป็นปกติได้ภายใน 1 ปี ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

  2. แผลเป็นคีลอยด์ แผลจะนูนขึ้นมาและขยายเกินขอบเขตของบาดแผลเกิด เมื่อเกิดขึ้นแล้วแผลจะนูนและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา แผลเป็นชนิดนี้มีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อ และคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมบาดแผลมากเกินไป อีกทั้งพันธุกรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลเป็นคีลอยด์เช่นกัน

กิน "ไข่" ทำให้ "แผลเป็นนูน" จริงหรือไม่?

การรับประทานไข่จึงไม่เกี่ยวข้องกับการเกิดแผลเป็นนูน ระหว่างเกิดบาดแผลสามารถรับประทานไข่ได้ในปริมาณที่เหมาะสม

Advertisement

วิธีลดความเสี่ยงเกิดแผลเป็นนูน

การดูแลแผลอย่างถูกวิธีจะช่วยลดการขยายตัวและการนูนตัวของแผลเป็นได้ และสามารถลดการขยายตัว และการนูนของแผลเป็นโดยการนวดบริเวณแผลเป็นเป็นประจำในระหว่าง 6 เดือนแรก

การรักษาแผลเป็นนั้นสามารถรักษาได้หลายวิธี เช่น ผ่าตัด ใช้สเตียรอยด์แบบฉีด ซึ่งวิธีเหล่านี้ต้อง

อยู่ในความดูแลของแพทย์ สำหรับวิธีที่สามารถดูแลแผลเป็นด้วยตัวเองโดยการใช้แผ่นแปะลดรอยแผลเป็นได้แก่

  1. แผ่นซิลิโคน (Silicone) ใช้หลังเกิดแผลสดหายดีแล้ว โดยปิดแผลเป็นตลอด 24 ชั่วโมงนาน 3 เดือน

  2. แผ่นเทปเหนียว (Microporous) ใช้ปิดลงบนแผลเป็น

อุปกรณ์ทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ สามารถซื้อและขอรับคำปรึกษาในการใช้แผ่นแปะลดรอยแผลเป็นจากเภสัชกรได้ตามร้ายขายยาทั่วไป แนะนำให้เลือกซื้อแผ่นแปะที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยสังเกตเลขที่ใบอนุญาตเครื่องมือแพทย์ก่อนซื้อทุกครั้ง

หากแผลเป็นนูนที่เกิดขึ้นสร้างความไม่สบายใจสามารถปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อรับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมได้  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้