8 สัญญาณอันตราย “มะเร็งรังไข่”

8 สัญญาณอันตราย “มะเร็งรังไข่”

8 สัญญาณอันตราย “มะเร็งรังไข่”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิงทั่วโลก สำหรับประเทศไทย มะเร็งรังไข่เป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในหญิงไทย

นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย รายงานว่าในแต่ละปีมีผู้ป่วยรายใหม่ราว 2,500 คน หรือคิดเป็นอุบัติการณ์การเกิดโรค 5.7 คนต่อประชากรหญิงแสนคน และมีผู้เสียชีวิตราว 1,100 คนต่อปี หรือมีอัตรา 3.5 คนต่อประชากรหญิงแสนคน มะเร็งรังไข่พบได้ทุกกลุ่มอายุแต่พบมากในผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์ในระยะท้ายที่มะเร็งลุกลามมากแล้ว เนื่องจากโรคนี้ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการแสดง ทำให้การรักษาได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร


ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งรังไข่

-          มาจากพันธุกรรม ที่ครอบครัวอาจเคยเป็นโรคมะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้มาก่อน

-         อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสพบมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าช่วงอายุอื่นๆ

-         เคยเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้มาก่อน

-         พบมะเร็งรังไข่ในผู้ที่อ้วน หรือน้ำหนักเกินมาตรฐานมากกว่าคนผอม

-         พบในผู้ที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ มากกว่าคนที่มีบุตรแล้ว

-         พบในคนที่มีประจำเดือนเร็ว คือก่อนอายุ 12 ปี หรือผู้หมดประจำเดือนช้า หรือหลังอายุ 55 ปี

-         อาจเคยใช้ยากระตุ้นการตกไข่ เพื่อช่วยในการมีบุตร

-         อาจเคยใช้ฮอร์โมนเพศ เพื่อชดเชยช่วงที่หมดประจำเดือน


8
สัญญาณอันตราย มะเร็งรังไข่

  1. ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง

  2. เรอบ่อยขึ้น

  3. ปัสสาวะบ่อย หรืออั้นปัสสาวะไม่อยู่ จากการที่ก้อนมะเร็งอาจไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ

  4. ท้องผูก จากการที่ก้อนมะเร็งไปเบียดลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่

  5. คลำเจอก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อย

  6. ปวดท้องน้อย

  7. มีประจำเดือนผิดปกติ

  8. มีน้ำในช่องท้อง หรือท้องมาน

 

 

 

เพราะฉะนั้นใครที่มีญาติ (โดยเฉพาะสายตรง) เคยเป็นมะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งประเภทอื่นๆ มาก่อน แนะนำให้ตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อความสบายใจ และป้องกันการลุกลามของมะเร็ง เพราะหากพบเซลล์มะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ ก็มีโอกาสหายมากขึ้นตามไปด้วย


การวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งรังไข่

แพทย์จะพิจารณาวิธีการรักษามะเร็งรังไข่จากระยะของมะเร็งและความต้องการมีบุตรของผู้ป่วย โดยอาจพิจารณาการผ่าตัดร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตามผู้หญิงทุกคนควรให้ความสำคัญต่อการตรวจสุขภาพก่อนมีอาการ โดยการตรวจภายในและพบสูตินรีแพทย์เป็นประจำทุกปี เพื่อสามารถตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มต้นโดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติ คนในครอบครัวหรือญาติใกล้ชิดเป็นมะเร็งรังไข่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook