8 วิธีป้องกัน “เชื้อราในช่องคลอด” จัดไปก่อน “คัน”

8 วิธีป้องกัน “เชื้อราในช่องคลอด” จัดไปก่อน “คัน”

8 วิธีป้องกัน “เชื้อราในช่องคลอด” จัดไปก่อน “คัน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คุณผู้หญิงจำนวนไม่น้อย ที่มีปัญหาเรื่องอาการ “คัน” ในที่ๆ ไม่อยากบอกใคร บางคนก็หน้าบางเกินกว่าจะเดินทางไปหาหมอ หรือเดินไปปรึกษาเภสัชกร ทนนั่งยุกยิกไปอย่างนั้น บอกเลยว่าไม่ดีแน่ เพราะอาการคัน เป็นอาการเริ่มต้นแรกๆ ของ “เชื้อราในช่องคลอด” ที่ผู้หญิงหลายคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากมาย ภายใต้สภาพอากาศร้อนชื้นในบ้านเรา

 

เชื้อราในช่องคลอด คืออะไร?

เชื้อราในช่องคลอด เป็นอาการผิดปกติที่มีเชื้อราที่มีชื่อว่า  แคดิดา แอลบิแคนส์ (Candida Albicans) เติบโตมากผิดปกติ จนทำให้มีอาการคัน และมีตกขาวบริเวณช่องคลอด

 

เชื้อราในช่องคลอด มีสาเหตุมาจากอะไร?

สาเหตุของเชื้อราในช่องคลอด มาจากการสวมใส่ชุดชั้นในที่ไม่สะอาด อับชื้น ไม่แห้งสนิท หรืออาจทำมาจากผ้าที่หนาเกินไป เนื้อผ้าไม่ระบายอากาศ จนเกิดความอับชื้น

การสวมกางเกง เลกกิ้ง ที่เล็ก และรัดมากจนเกินไป การใช้ผ้าอนามัยนานๆ โดยไม่เปลี่ยนทุกๆ 3-4 ชั่วโมง ก็อาจเป็นสาเหตุที่เร่งการเติบโตของเชื้อราได้เช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ จากสภาพร่างกาย เช่น ร่างกายอ่อนแอ อยู่ในสภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ และใครที่ทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจมีความเสี่ยงได้เช่นกัน

 

เชื้อราในช่องคลอด มีอาการอย่างไร?

เริ่มแรกของอาการเชื้อราในช่องคลอด ก็เป็นอย่างที่หลายคนอาจทราบกันดี คือมีอาการคัน มีตกขาวมาก และมีลักษณะผิดปกติ โดยมีลักษณะเป็นก้อนๆ สีขาวหรือเหลืองคล้ายนมบูด กลิ่นผิดปกติ หากอาการหนักขึ้น อาการคันก็จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นจนทนแทบไม่ได้ จนอาจทำให้คันเลยมาถึงบริเวณขาหนีบ แดง หรือแสบอย่างรุนแรงได้ และอาจแสบขณะปัสสาวะได้อีกด้วย

 

เชื้อราในช่องคลอด รักษาอย่างไร?

หากเพิ่งเริ่มมีอาการในช่วงแรกๆ อาจขอคำปรึกษากับเภสัชกร เพื่อซื้อยาทาภายนอกมาใช้ก่อนได้ แต่หากมีอาการคันรุนแรง หรือตกขาวมีความผิดปกติอย่างมาก ขอให้ปรึกษาคุณหมอจะดีกว่า เพราะในบางกรณี ยาทาภายนอกเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการรักษาเชื้อราในช่องคลอด

 

เชื้อราในช่องคลอด ป้องกันอย่างไร?

  1. หลีกเลี่ยงการสวมใส่ชุดชั้นในที่อับชื้น ทำจากผ้าที่ระบายอากาศได้ไม่ดี

  2. หลีกเลี่ยงการสวมใส่กางเกง เลคกิ้ง ที่รัดแน่นจนเกินไป

  3. เปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ 3-4 ชั่วโมง

  4. ทานโยเกิร์ต เพื่อช่วยเพิ่มจูลินทรีย์แลคโตบาซิลลัสในช่องคลอด ซึ่งสามารถลดอัตราการเจริญเติบโตของเชื้อราในช่องคลอดได้

  5. ทานอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลทีมีดัชนีไกลซีมิกต่ำ เพื่อให้น้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นที่ละน้อย

  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาวะแพ้อาหาร งดทานอาหารที่แพ้ทั้งหมด เพราะหากร่างกายอยู่ในสภาวะแพ้อาหาร จะยิ่งทำให้อาการติดเชื้อแย่ลง

  7. รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ

  8. สามารถทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าอย่างเดียว ก็เพียงพอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook