สุดเจ๋ง! ไมโครซอฟท์ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจ่ายไฟฟ้าให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ได้ต่อเนื่อง 48 ชม.

สุดเจ๋ง! ไมโครซอฟท์ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจ่ายไฟฟ้าให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ได้ต่อเนื่อง 48 ชม.

สุดเจ๋ง! ไมโครซอฟท์ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจ่ายไฟฟ้าให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ได้ต่อเนื่อง 48 ชม.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ไมโครซอฟต์กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์ หรือ Carbon neutral ภายในปี 2030 โดยการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดมาทดแทนการผลิตไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล ได้แก่ น้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน เมื่อวันจันทร์ที่ 27 ก.ค. ไมโครซอฟต์เปิดเผยถึงความสำเร็จว่าได้ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนผลิตไฟฟ้าให้กับดาต้าเซ็นเตอร์นาน 48 ชม. ติดต่อกันแบบไม่มีสะดุด

ไมโครซอฟต์มีการใช้เชื้อเพลิงดีเซลอยู่ไม่ถึง 1% โดยส่วนใหญ่จะใช้ในระบบผลิตไฟฟ้าสำรองให้กับดาต้าเซ็นเตอร์ของ Azure ให้สามารถทำงานได้ต่อเนื่องในยามที่ไฟฟ้าดับหรือขัดข้อง จนไม่กี่ปีมานี้ราคาเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนถูกลงและคุ้มค่าต่อการลงทุนที่จะนำมาใช้แทนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเชื้อเพลงดีเซล

ไมโครซอฟต์เริ่มสำรวจการใช้เทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงมาตั้งแต่ปี 2013 กับศูนย์วิจัยเซลล์เชื้อเพลิงแห่งชาติที่มหาวิทยาลัยแห่งแคลิฟอร์เนีย และได้แนวคิดในการใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนสำหรับพลังงานสำรองในปี 2018 จากนักวิจัยที่ห้องปฏิบัติการพลังงานทดแทนแห่งชาติในโกลเด้นโคโลราโดที่ได้ใช้เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (PEM) จ่ายไฟฟ้าให้กับแร็กของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไฮโดรเจนและออกซิเจนในอากาศมาผลิตเพื่อปล่อยไฟฟ้าและไอน้ำออกมา

ต่อมาทีมของไมโครซอฟต์ได้พัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า 250kw สำหรับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยได้เริ่มต้นทดสอบเมื่อเดือนกันยายน 2019 ที่นอกเมืองซอลต์เลกซิตีรัฐยูทาห์ จนถึงเดือนธันวาคมระบบก็สามารถจ่ายไฟฟ้าได้นานต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง และเดือนมิถุนายน 2020 ก็ผ่านการสอบจ่ายไฟฟ้าได้นาน 48 ชั่วโมง

การทดสอบครั้งนี้จัดว่าเป็นการสร้างระบบไฟฟ้าสำรองเชื้อเพลิงไฮโดรเจนให้กับคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดและใช้งานได้ต่อเนื่องนานที่สุด แต่ทีมงานจะไม่หยุดเพียงแค่นี้ โดยมีเป้าหมายจะสร้างระบบเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 3 เมกะวัตต์ให้เทียบเท่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเชื้อเพลิงดีเซลล์ของดาต้าเซ็นเตอร์ Azure

ระบบไฟฟ้าสำรองเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่ดาต้าเซ็นเตอร์ Azure จะเชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าขององค์การไฟฟ้า ซึ่งสามารถสลับมาใช้งานเมื่อไฟฟ้าดับได้อัตโนมัติ และยังสามารถเป็นเสมือนปั๊มเติมไฮโดรเจนให้กับรถยนต์ที่เดินทางไกล รวมทั้งสามารถเป็นต้นแบบให้องค์กรต่าง ๆ นำไปปรับใช้ในอนาคตได้อีกด้วย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook