'กูเกิล' พัฒนาระบบสั่งการสมาร์ทโฟนด้วยสีหน้าเพื่อคนพิการ

'กูเกิล' พัฒนาระบบสั่งการสมาร์ทโฟนด้วยสีหน้าเพื่อคนพิการ

'กูเกิล' พัฒนาระบบสั่งการสมาร์ทโฟนด้วยสีหน้าเพื่อคนพิการ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กูเกิล (Google) ระบุในวันพฤหัสบดี (23 กันยายน) ว่าผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการพูด จะสามารถใช้สมาร์ทโฟน ที่มีระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้แบบไร้การสัมผัส ผ่านการใช้สีหน้าท่าทางต่างๆได้ ตามรายงานของเอเอฟพี

กูเกิล เปิดเผยในวันพฤหัสบดีว่า ทุกวัน ผู้คนใช้ระบบการสั่งการด้วยเสียงอย่าง 'Hey Google’ หรือใช้มือควบคุมสมาร์ทโฟน อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้อาจเป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ที่มีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหวและการพูด ซึ่งการสร้างระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ให้ทุกคนสามารถใช้งานได้นั้น กูเกิลจะพัฒนาเครื่องมือใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมสมาร์ทโฟนและการสื่อสารผ่านการแสดงสีหน้าต่างๆบนสมาร์ทโฟน และตอนนี้ทุกคนสามารถใช้การเคลื่อนไหวของดวงตาและใบหน้าเพื่อควบคุมสมาร์ทโฟนได้ นอกเหนือจากการใช้มือและเสียงแล้ว

ด้วยระบบการสั่งการเพื่อคนพิการนี้ กูเกิล ได้ใช้ระบบ machine learning และการทำงานของกล้องหน้าของสมาร์ทโฟน เพื่อตรวจจับการแสดงมีหน้าและการเคลื่อนไหวของดวงตาผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถสแดนหน้าจอสมาร์ทโฟน และเลือกโหมดคำสั่งต่างๆได้ ด้วยการยิ้ม เลิกคิ้ว อ้าปาก หรือจะใช้การมองไปทางซ้าย ทางขวา หรือมองขึ้นก็ได้

โดยฟีเจอร์ใหม่เพื่อคนพิการอันแรก เรียกว่า Camera Switches ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้แสดงสีหน้าแทนการใช้นิ้วกดหรือเลื่อนไปบนหน้าจอ เพื่อเลือกโหมดต่างๆของสมาร์ทโฟน ส่วนอีกฟีเจอร์ คือ Activate เป็นแอปพลิเคชันแอนดรอยด์ ที่ให้ผู้ใช้แสดงท่าทางเพื่อออกคำสั่งกับสมาร์ทโฟนได้ เช่น ส่งข้อความ หรือโทรออก

gettyimages-1062183106

ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน Activate สามารถใช้งานได้ในออสเตรเลีย อังกฤษ แคนาดา และสหรัฐฯ ได้แล้ว

ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ หรือ CDC ประเมินว่า มีผู้คนในวัยผู้ใหญ่ 61 ล้านคนในสหรัฐฯ ที่มีภาวะบกพร่องทางการเคลื่อนไหวและการพูด ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้กูเกิล และบริษัทคู่แข่งอย่างแอปเปิล (Apple) และไมโครซอฟต์ (Microsoft) ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ช่วยให้คนพิการ หรือคนสูงอายุสามารถเข้าถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้มากขึ้น

ที่ผ่านมา ไมโครซอฟต์ ที่ระบุว่าการเข้าถึงอุปกรณ์ของผู้พิการเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มขีดความสามารถให้กับทุกคนด้วยเครื่องมือเทคโนโลยี และตั้งเป้าออกแบบระบบที่รองรับองค์กร ห้องเรียน และในครัวเรือน

ส่วนกูเกิล ระบบผู้ช่วยดิจิทัลแบบสั่งการด้วยเสียงที่มาพร้อมกับสมาร์ทโฟน สามารถช่วยเหลือผู้ที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นหรือเคลื่อนไหวได้ โปรแกรมที่ช่วยระบุและช่วยอ่านออกเสียงข้อความบนหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือเว็บไซต์ รวมถึงระบบคำบรรยายอัตโนมัติตามคลิปวิดีโอต่างๆ

ฝั่งแอปเปิล ได้พัฒนา AssistiveTouch ในสมาร์ทโฟนและนาฬิกา Apple Watch ที่ทำให้ควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้ด้วยนิ้วหรือกำมือได้ และยังทำงานด้วยระบบ VoiceOver เพื่อให้ใช้ Apple Watch ด้วยมือเดียว ในระหว่างที่กำลังเดินด้วยไม้เท้า หรือมีสุนัขช่วยเหลือลากจูงอยู่ได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook