รู้จัก 4 ต้นไม้ดักฝุ่นดีเลิศ ช่วยลดปัญหาหมอกควัน ฝุ่นละออง
จากการศึกษาวิจัยของทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีรับทุนสำนักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศึกษาการใช้พืชยืนต้นบำบุดฝุ่นละออง พบว่ามีต้นไม้ใหญ่ช่วยดักจับฝุ่นได้ดีคือ ต้นประดู่ ต้นกัลปพฤกษ์ ต้นจามจุรี และต้นสัก
จากตัวอย่างต้นไม้ที่ยกตัวอย่างมาซึ่งสามารถช่วยดักจับฝุ่นนั้นลักษณะต้นไม้นั้นมีใบเล็ก ซึ่งช่วยเพิ่มพื้นที่ในการจับฝุ่น หรือลักษณะใบที่เป็นขนเยอะๆ ซึ่งจะช่วยดักฝุ่นได้เยอะ ถ้ายิ่งมีลมยิ่งช่วยดักฝุ่นได้มาก มาทำความรู้จักต้นไม้ฮีโร่ดักฝุ่นดีเลิศกันแต่ละต้นเลยดีกว่า
ต้นประดู่ เป็นพรรณไม้พื้นเมืองในอินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ,พม่า,ลาว และเวียดนาม และเป็นพรรณไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทย ซึ่งเราสามารถพบประดู่ได้ตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรังในทุกภาคยกเว้นภาคใต้
ลักษณะลำต้นสูง 15-30 เมตร หุ้มด้วยเปลือกหนาสีน้ำตาลแตกสะเก็ดเป็นร่องลึก มีน้ำยางมาก เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ลักษณะใบเป็นใบประกอบรูปขนนกเรียงสลับใบย่อยเยื้องสลับกัน 4-10 ใบ ใบมีลักษณะเป็นรูปไข่ถึงรูปขนาน ดอกมีสีเหลือง กลิ่นหอมคล้ายดอกซ่อนกลิ่น
ต้นกัลปพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง พบได้มากในพม่า และทางเหนือของประเทศไทย พุ่มใบแบนกว้าง ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ นอกจากชื่อกัลปพฤกษ์แล้วยังสามารถเรียกว่าต้นชัยพฤกษ์ กานล์ เปลือกขม หรือกาลพฤกษ์ได้อีกด้วย
กัลปพฤกษ์เปลือกนอกสีเทาลำต้นมีรอยเป็นเส้นเล็กน้อยแตกกิ่งก้านพุ่งสู่ด้านบนไม่ค่อยเป็นระเบียบ ใบเป็นแผงมีใบย่อยประมาณ 5-6 คู่เรียงตรงกันตามก้านใบเป็นคู่ๆ ใบบางเรียบปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อสีชมพูความกิ่งก้าน มีกลิ่นหอม ตรงกลางดอกจะมีเกสรตัวผู้สีเหลืองผลเป็นฝักกลมยาว สีดำ เมือแกก่เนื้อในฝักมีสีขาวกั้นเป็นชั้นๆ ประโยชน์ของต้นกัลปพฤกษ์คือเนื้อในฝักช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ และใช้ปลูกเป็นไม้ประดับ
ต้นจามจุรี มักเป็นชื่อที่ใช้เรียกต้นก้ามปู ต้นฉำฉา หรือจามจุรีแดง เหล่านี้เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มีกิ่งก้านสาขามาก มีใบขนาดเล็ก ดอกสีชมพู มีผลเป็นฝัก เมล็ดแข็ง ผลเนื้อสีชมพู เป็นพืชพื้นเมืองของเม็กซิโก บราซิล และเปรู ต่อมาถูกนำเข้ามาเผยแพร่ในเอเชียใต้ เอเชียอาคเนย์ หมู่เกาะแปซิฟิก และฮาวาย
ต้นสัก เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ผลัดใบในถดูร้อน ตรงเปลือกเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา เรือนยอดเป็นพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกสีเทา เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามความยาวลำต้น ขึ้นเป็นหมู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ บางส่วนในภาคกลางและภาคตะวันตก ส่วนใบนั้นเป็นใบเดี่ยวใหญ่มาก ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ปลายใบแหลมโคนมน ผิวใบมีลักษณะเป็นขนสาก ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด มีการสลัดใบทิ้งเมื่อถึงฤดูหนาว