คดีลันลาเบลอุทาหรณ์สอน “พริตตี้” อาชีพอิสระควรเป็นผู้ประกันตนมาตราไหนดี?
พริตตี้ อาชีพอิสระ (Freelance) หากต้องการเข้าระบบประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 และได้จะรับสิทธิคุ้มครอง 3-4-5 กรณีด้วยกัน
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาประเด็นข่าวที่หลายคนติดตามความคืบหน้ากันอย่างใจจดใจจ่อก็คงหนีไม่พ้นคดีการเสียชีวิตกระทันหันของพริตตี้สาว "ลันลาเบล"
>> ลันลาเบล เป็นใคร รู้จักพริตตี้สาวดาวรุ่ง เสียชีวิตกะทันหัน เพื่อนตกใจเพิ่งร่วมงานกันหยกๆ
แม้ว่าตอนนี้ผลการตรวจสอบสาเหตุการเสียชีวิตของลันลาเบลยังไม่ชัดเจน เพราะต้องรอผลการยืนยันจากฝ่ายนิติวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีพริตตี้หลายคนทยอยออกมาแฉพฤติการณ์ของเจ้าของบ้านที่จัดปาร์ตี้ รวมถึงงานเอนเตอร์เทนในรูปแบบต่างๆ กันต่อเนื่อง
เมื่อพูดถึงอาชีพเรามักจะนึกถึงภาพหญิงสาวหน้าตาสะสวยยืนคู่กับสินค้า เช่น รถยนต์ คอนโด เป็นต้น ให้ข้อมูลกับลูกค้า แต่หลังจากมีประเด็นของลันลาเบลเกิดขึ้น ถือเป็นการเปิดโลกให้เราได้รู้รูปแบบการให้บริการอีกมุมหนึ่งด้วยเช่นกัน
>> พริตตี้แฉหมดเปลือก! บ้านจัดปาร์ตี้ที่ "ลันลาเบล" ไปเอนเตอร์เทน แฝงยาเสพติด
>> โมเดลลิ่งแฉเรื่องลับอาชีพพริตตี้ รับงานเอนเตอร์เทน VIP โคตรเยอะ! แต่ยันไม่มีดาราทำ
>> ช็อตต่อช็อต! พริตตี้สาวเล่าทุกเม็ดในปาร์ตี้ ลั่นเคยถูกมอมเหมือน "ลันลาเบล"
>> อาชีพ "เอนเตอร์เทนเนอร์" คืออะไร อาชีพที่รู้เฉพาะกลุ่มที่อันตรายเสี่ยงต่อการหยอดยาเสียสาว
หากมองดูคร่าวๆ แล้ว "พริตตี้" ถือเป็นอาชีพอิสระ (Freelance) เพราะเป็นแรงงานนอกระบบ สามารถรับงานเป็น "job by job" ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างผู้ว่างจ้างและผู้ถูกจ้าง โดยอาชีพดังกล่าวสามารถเข้าระบบเพื่อขอรับสิทธิคุ้มครองจาก "สำนักงานประกันสังคม" ได้ด้วยเช่นกัน ส่วนจะเป็นมาตราไหนและได้รับสิทธิอะไรบ้าง Sanook! Money มีคำตอบมาฝากกัน
หากกางรายละเอียดของผู้ประกันตนจากสำนักงานประกันสังคมออกมา พบว่า ผู้ประกันตนสามารถแบ่งออกมาได้ดังนี้
- มาตรา 33 ลูกจ้างในสถานประกอบการ หรือพนักงานเอกชน
- มาตรา 39 ลูกจ้างที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาแล้วอย่างน้อย 12 เดือน และสมัครภายใน 6 เดือน นับจากวันที่ออกจากงาน
- มาตรา 40 อาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
ถ้าเทียบกับอาชีพพริตตี้แล้ว พบว่า อาชีพดังกล่าวเข้าข่ายเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 มากกว่า หากพริตตี้เข้าระบบประกันสังคม ก็จะได้รับสิทธิคุ้มครอง 3-4-5 กรณี ดังนี้
- กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรับค่าทดแทนขาดรายได้
- กรณีทุพพลภาพ รับค่าทดแทนขาดรายได้
- กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ
- กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล
- กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเงินรายเดือน
โดยมาตรา 40 ได้ออกแบบความสามารถในการจ่ายเงินไว้ให้ 3 ทางเลือกด้วยกัน
- ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินเดือนละ 70 บาทต่อเดือน รับสิทธิคุ้มครอง 3 กรณี
- ทางเลือกที่ 2 จ่ายเงินเดือนละ 100 บาทต่อเดือน รับสิทธิคุ้มครอง 4 กรณี
- ทางเลือกที่ 3 จ่ายเงินเดือนละ 300 บาทต่อเดือน รับสิทธิคุ้มครอง 5 กรณี
สรุปคร่าวๆ จากการเปรียบเทียบอาชีพพริตตี้ซึ่งเป็นฟรีแลนซ์ หากเข้าระบบประกันสังคมแล้วก็น่าจะได้รับสิทธิคุ้มครอง 3-5 กรณี แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้ประกันตนด้วยนะว่าจะเลือกจ่ายเงินสมทบประกันสังคมตามมาตรา 40 แบบไหน