ชาวสวนยาง อยากรู้ได้เงินเยียวยา 5,000 บาท ตอนไหนต้องตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

ชาวสวนยาง อยากรู้ได้เงินเยียวยา 5,000 บาท ตอนไหนต้องตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร

ชาวสวนยาง อยากรู้ได้เงินเยียวยา 5,000 บาท ตอนไหนต้องตรวจสอบสิทธิ์เยียวยาเกษตรกร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวสวนยาง 3 กลุ่ม อย่าลืมตรวจสอบสิทธิ์รับเงินเยียวยาเกษตรกร 15,000 บาท ที่เว็บไซต์ www.เยียวยาเกษตรกร.com

เพจเฟซบุ๊ก การยางแห่งประเทสไทยRAOT โพสต์ข้อความระบุว่า นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ เผยรอบการจ่ายเงินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หรือ โครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า การจ่ายเงินให้เกษตรกรชาวสวนยาง จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรก ซึ่งขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) และมีชื่อในทะเบียนเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร (ตัดยอด วันที่ 30 เม.ย.63) โดย ธ.ก.ส. เริ่มจ่ายเงินแล้วตั้งแต่วันที่ 15, 18 – 20 พ.ค. 63

ชาวสวนยางกลุ่มที่ 2 เฉพาะกลุ่มที่มีชื่อขึ้นทะเบียนกับ กยท. (ตัดยอด วันที่ 30 เม.ย.63) จะจ่ายเงินในวันที่ 22-25 พ.ค.63

ชาวสวนยางกลุ่มที่ 3 ซึ่งแจ้งปรับปรุงข้อมูลและขึ้นทะเบียนกับ กยท. ระหว่าง 1-15 พ.ค. ที่ผ่านมา จะจ่ายเงินในช่วงวันที่ 30 - 31 พ.ค. 63 แต่จากนั้นหากยังไม่ได้รับสิทธิ์ฯ สามารถแจ้งขออุทธรณ์การเยียวยาได้

"เกษตรกรชาวสวนยางตรวจสอบสิทธิ์การเยียวยาฯ ครบจบในเว็บเดียว ได้ทางเว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ https://www.moac.go.th/ หรือเช็คตรง ที่ http://savefarmer.oae.go.th โดยเมื่อตรวจสอบสถานะแล้วได้รับสิทธิ์ สามารถตรวจสอบการโอนเงินเข้าบัญชีได้จากเว็บไซต์ของ ธ.ก.ส. www.เยียวยาเกษตรกร .com/ กรณีไม่มีบัญชีของ ธ.ก.ส. สามารถแจ้งบัญชีธนาคารอื่นเพื่อรับเงินโอน ในเว็บไซต์ของ ธ.ก.ส .นี้เช่นกัน”

สำหรับเกษตรกรชาวสวนยางที่ไม่ได้รับสิทธิ์เยียวยา สามารถแจ้งขออุทธรณ์การเยียวยาได้ภายในวันที่ 5 มิ.ย.63 กับหน่วยงานที่รับขึ้นทะเบียนในส่วนกลางหรือภูมิภาคใกล้บ้าน ทั้ง 6 หน่วยงาน ได้แก่ กยท. จังหวัด/สาขา เกษตรจังหวัด/อำเภอ ประมงจังหวัด/อำเภอ ปศุสัตว์จังหวัด/อำเภอ ศูนย์หม่อนไหมภูมิภาค และสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ในเวลาราชการ 08.30 – 16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสารมารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ให้คำปรึกษาและตอบข้อซักถาม Call Center 1170

อ่านเรื่อง เงินเยียวยาเกษตรกร ต่อที่นี่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook