ตำรวจแจ้ง 10 ข้อหาหนัก "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา มั่นใจในหลักฐาน

ตำรวจแจ้ง 10 ข้อหาหนัก "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา มั่นใจในหลักฐาน

ตำรวจแจ้ง 10 ข้อหาหนัก "บรรยิน" คดีอุ้มฆ่าพี่ชายผู้พิพากษา มั่นใจในหลักฐาน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พลตำรวจตรีจิรภพ ภูริเดช ผู้บังคับการกองปราบปราม เปิดเผยความคืบหน้าการดำเนินคดีพันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ หนึ่งในผู้ต้องหาคดีอุ้มฆ่านายวีรชัย ศกุนตะประเสริฐ พี่ชายของผู้พิพากษาอาวุโสประจำศาลอาญากรุงเทพใต้ โดยการเผานั่งยางในอำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ หลังถูกตำรวจกองปราบปรามจับกุมตัวผู้ร่วมก่อเหตุได้ 6 คน ยึดของกลางอุปกรณ์และหลักฐานที่เกี่ยวข้องได้จำนวนมาก ว่า ในคดีนี้ทางพนักงานสอบสวนสอบปากคำพยานไป 111 ปาก รวบรวมสำนวนคดีได้ 11 แฟ้ม จำนวน 4,259 หน้า

ซึ่งทางพนักงานสอบสวนได้เห็นควรแจ้งข้อหาผู้ต้องหาทั้ง 6 คน ใน 9 ข้อหา ได้แก่ ข้อหาความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อให้ได้มาซึ่งฆ่าไถ่, ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นเหตุให้ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยวถึงแก่ความตาย, ร่วมกันข่มขืนใจเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ, ร่วมกันเป็นซ่องโจร, ร่วมกันพยายามข่มขืนใจให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายแก่ชีวิต, ร่วมกันซ่อนเร้นทำลายศพ, ร่วมกันอำพรางศพและแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน ส่วนพันตำรวจโทบรรยิน นั้นจะถูกเพิ่มอีกข้อหา คือ ความผิดฐานสวมเครื่องแบบ แต่งเครื่องแบบตำรวจโดยไม่มีสิทธิเพื่อกระทำความผิดทางอาญา

ผู้บังคับการกองปราบปราม กล่าวเพิ่มเติมว่า ระหว่างการสอบสวนพันตำรวจโทบรรยิน ยืนยันให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าว และจะขอให้การในชั้นศาลเท่านั้น ส่วนผู้ต้องหาอีก 5 คน พบมีเพียง 1 คนที่ให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ส่วนอีก 4 คนให้การภาคเสธ ยืนยันว่าไม่ได้ร่วมกันฆ่า แต่อย่างไรนั้น ทางตำรวจมั่นใจในพยานหลักฐานที่มีว่าสามารถเอาผิดผู้ต้องหาทั้ง 6 คนได้อย่างแน่นอน

ส่วนผลการสอบปากคำนางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์ ภรรยา และเรืออากาศเอกจักรวาล ตั้งภากรณ์ พี่ชายของพันตำรวจโทบรรยิน พบว่าไม่เกี่ยวข้องกับสำนวนคดีนี้ และยังไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือให้การช่วยเหลือ สนับสนุนให้กระทำความผิด

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ทางพนักงานสอบสวนจะนำสำนวนคดีดังกล่าว ไปส่งให้พนักงานอัยการ เพื่อรับไปพิจารณามีความเห็นสั่งฟ้อง ซึ่งคาดว่ายังเหลือเวลาประมาณ 10 วัน ก่อนจะมีความเห็นควรสั่งฟ้องต่อศาลหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook