"อนุทิน" เซ็นแล้ว! ปรับโควิดให้รักษาฟรีตามสิทธิ-ฉุกเฉินใช้ UCEP ได้ เริ่ม 1 มี.ค.

"อนุทิน" เซ็นแล้ว! ปรับโควิดให้รักษาฟรีตามสิทธิ-ฉุกเฉินใช้ UCEP ได้ เริ่ม 1 มี.ค.

"อนุทิน" เซ็นแล้ว! ปรับโควิดให้รักษาฟรีตามสิทธิ-ฉุกเฉินใช้ UCEP ได้ เริ่ม 1 มี.ค.
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"อนุทิน" เผยเซ็นประกาศให้ "โควิด" เป็นโรคที่ให้รักษาฟรีได้ตามสิทธิของประชาชนแต่ละคน พร้อมย้ำว่าหากมีอาการฉุกเฉินวิกฤตยังสามารถใช้สิทธิ UCEP ได้ โดยจะเริ่มมีผลตั้งแต่ 1 มี.ค. เป็นต้นไป

วันนี้ (21 ก.พ.) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 ก.พ. ที่ผ่านมา ตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดให้โรคโควิด-19 รักษาตามสิทธิ ตามที่ นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ได้นำเสนอขึ้นมา โดยจะมีเริ่มผลในวันที่ 1 มี.ค.นี้

พร้อมทั้งได้กำชับให้อธิบดี สบส. ไปชี้แจงให้สาธารณชนรับทราบว่า เรื่องนี้ไม่ได้เป็นการตัดสิทธิหรือยกเลิก แต่เป็นการกำหนดขั้นตอนและมาตรฐานให้เกิดประสิทธิภาพ เกิดการใช้งบประมาณได้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่หากมีอาการฉุกเฉินวิกฤตยังสามารถใช้สิทธิ UCEP รักษาทุกที่ได้ ส่วนอาการฉุกเฉินแบบที่จะปรับให้ใช้สิทธิแบบ UCEP Plus จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นตอนออกมา แต่ในทางปฏิบัติคิดว่าไม่มีปัญหาเรื่องการให้บริการ เพราะ UCEP Plus ไม่ได้ดูแลเฉพาะผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีโรคร่วม หรือผู้ที่มีอาการรุนแรงเพียงอย่างเดียว แต่หากผู้ติดเชื้อกลุ่มสีเขียวที่อยู่ระหว่างการรักษาที่บ้านและชุมชน (Home Isolation and Community Isolation) แล้วอาการเปลี่ยนแปลง มีอาการรุนแรงเพิ่มขึ้น ก็สามารถใช้สิทธินี้ได้ เพื่อเข้ารักษาเร่งด่วนฉุกเฉิน

เมื่อถามว่า ประกาศดังกล่าวจะทำให้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. โควิดจะไม่ใช่โรคฉุกเฉิน ใช่หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า คำจำกัดความ คือ โรคที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองดูแลตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของประชาชนแต่ละคน

covid-non-ucep-quote-170222

ส่วนการเตรียมยารักษานั้น นายอนุทิน ระบุว่า ขณะนี้มีความจำเป็นต้องเพิ่มยาฟ้าทะลายโจรมากขึ้น เนื่องจากผู้ป่วยโควิด-19 ที่อาการไม่ออกเลย ถ้ารับยาฟาวิพิราเวียร์ไปก็เหมือนกับเกินขนาน ซึ่งฟ้าทะลายโจรสร้างภูมิคุ้มกัน ส่วนฟาวิพิราเวียร์เป็นยาฆ่าไวรัส ถ้าผู้ติดเชื้อไม่มีอาการหลายกรณีจะใช้ฟ้าทะลายโจร

ผู้สื่อข่าวถามเพิ่มเติมว่า สำหรับการเตือนภัยโควิด ยังคงไว้ที่ระดับ 4 ใช่หรือไม่ ต้องยกเป็นระดับ 5 หรือไม่ นายอนุทิน ตอบว่า ยัง ตรงนี้เป็นอำนาจของ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ส่วนสถานการณ์เตียงไอซียูเริ่มเต็มในช่วงนี้นั้น นายอนุทิน กล่าวว่า จากการตรวจสอบกับปลัด สธ. ทุกเช้า ยืนยันว่า ระบบการสาธารณสุขยังสามารถให้การดูแล ต้องไปดูเรื่องประเภทของคนป่วย HI/CI เรามีกติกากำหนดไว้ว่าจะดูจากอาการของผู้ป่วย ว่าระดับไหนจะได้รับการดูแลอย่างไร ถ้าคนที่ไม่แสดงอาการก็อยู่ HI/CI ซึ่งกรณีแยกกักไม่ได้ที่บ้าน เรามี CI ต้องผ่านเป็นขั้นตอนก่อน

กทม.ก็ยืนยันกับ สธ. ว่า HI/CI เขาพร้อม กทม.มีเตียง CI พร้อม ก่อนไปถึง Hospitel เรายังเตรียมโรงพยาบาลสนาม อย่างโรงพยาบาลปิยะเวทจะเอาอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ ของโรงพยาบาลสนามปิยะเวทที่ตั้งอยู่ 200-300 เตียงมามอบให้ สธ. เราก็ขอให้คงโรงพยาบาลสนามไว้ก่อน

ตนหารือไปทาง ปตท. ที่เป็นผู้สนับสนุนหลัก เขาก็ยินดีคง รพ.สนามไว้ ที่ก็ยังไม่เต็ม อาจจะมีการสื่อสารที่ไม่ชัดเจน เมื่อเช้าประสาน สปสช. ให้เพิ่มคู่สายที่จะรับลงทะเบียนจดแจ้งผู้ป่วยและดำเนินการตามมาตรการ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นแต่อยู่ในระดับที่บริหารจัดการได้ ดังนั้น ขอให้ประชาชนที่พบว่าติดเชื้อโควิด-19 ลงทะเบียนผ่านระบบสายด่วน 1330 และไลน์ @nhso

ส่วนจะมีการเสนอ ศบค. ชุดใหญ่ ในวันพุธนี้ เพื่อปรับมาตรการ Test&Go โดยลดการตรวจ RT-PCR เหลือเพียงครั้งเดียวหรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า เรื่องนี้มีการพิจารณากันอยู่ ซึ่งมีข้อมูลมาว่าไม่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดมากขึ้น ไม่ได้มีประโยชน์หรือมีประสิทธิภาพระหว่างการทำหรือไม่ทำก็ไม่ต่างกันเท่าไร การทำ RT-PCR เป็นการเพิ่มภาระของผู้เดินทาง เพราะไม่ได้ใช้งบประมาณของรัฐ เพราะผู้เดินทางต้องเสียค่า RT-PCR เกือบพันบาท และมีค่าบวกต่างๆ ของโรงพยาบาล และโรงแรม รวมทั้งต้องจองไปโรงแรม เป็นการเพิ่มภาระและขั้นตอน

ตอนนี้ที่ได้รับการร้องเรียนมา คือ ประกันสุขภาพจะกำหนดอย่างไร ยิ่งกำหนดมากเบี้ยประกันก็สูงมาก ก็เป็นภาระ เราก็รับฟังทุกเรื่องและพยายามที่จะเร่งแก้ไข

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook