ซ้ำรอยเดิมทุกครั้ง! สนามกีฬาโอลิมปิก สิ่งปลูกสร้างที่หมดประโยชน์ก็ไร้การเหลียวแล (ภาพ)

ซ้ำรอยเดิมทุกครั้ง! สนามกีฬาโอลิมปิก สิ่งปลูกสร้างที่หมดประโยชน์ก็ไร้การเหลียวแล (ภาพ)

ซ้ำรอยเดิมทุกครั้ง! สนามกีฬาโอลิมปิก สิ่งปลูกสร้างที่หมดประโยชน์ก็ไร้การเหลียวแล (ภาพ)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อน ถือเป็นหนึ่งในมหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก และไม่น่าแปลกใจที่การสร้างเมืองโอลิมปิกจะมีให้เราเห็นใหม่ๆ ในทุกๆ 4 ปี อย่างไรก็ตามหลายชาติประสบปัญหาตามมาหลังจากการเป็นเจ้าภาพอย่างหนัก และต่อเนื่อง

โดยไม่ว่าจะเป็น เอเธนส์เกมส์ 2004 (ประเทศกรีซ), ปักกิ่งเกมส์ 2008 (ประเทศจีน) และ ริโอเกมส์ 2016 (ประเทศบราซิล) ล้วนประสบปัญหาขาดทุน รวมถึงสนามกีฬาที่ใช้แข่งขันไม่สามารถนำไปก่อให้เกิดประโยชน์ต่อยอดได้อย่างที่ควรจะเป็น ทำให้มันถูกทิ้งให้มีสภาพรกร้าง เต็มไปด้วยรอยสนิม และวัชพืชที่ขึ้นปกครองไปทั่ว

ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นปัญหาระดับชาติที่กำลังจะก่อตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดย แอนดรูว์ ซิมบาลิสต์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จาก Robert A. Woods Smith College ได้เขียนงานวิจัยหลายชิ้นเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ของ กีฬาโอลิมปิก

"ทุกวันนี้หากคุณอยากเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก คุณอาจต้องเตรียมสถานที่จัดการแข่งขันมากถึง 35-40 แห่งเลยทีเดียว ยิ่งไปกว่านั้นคุณต้องมีหมู่บ้านโอลิมปิกที่จะเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนจำนวนกว่า 18,000 คน รวมถึงคุณต้องมีสถานที่พักสำหรับสื่ออีกหลายพันเตียงอีกด้วย"

"แต่หลังจากใช้งานในการแข่งขันประมาณ 18 วัน รวมถึงหลังจากนั้นก็ใช้จัดการแข่งขันพาราลิมปิกเกมส์ อีกหนึ่งเดือนครึ่ง ทุกอย่างถือเป็นอันจบกัน เรื่องนี้ต้องถามตัวเองก่อนว่าเมืองนั้นมีเหตุผลมากขนาดไหนที่ต้องมีสนามกีฬามากขนาดนั้นเลยหรือ" ศาสตราจารย์คนดัง เปิดใจกับ CNN Travel

นั่นทำให้เกิดแนวคิดว่าหากการเสนอตัวจัดการเป็นเจ้าภาพกีฬาใหญ่ๆ จะต้องดำเนินไปด้วยแผนงานเหมือนเดิม ทุกชาติก็คงจะประสบปัญหาเดียวกันต่อไปเหมือนเดิม ซึ่งแม้ว่าการท่องเที่ยวอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้หลายเมืองพร้อมเสนอตัวจัดมหกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่ท้ายสุดทุกเมืองก็จะต้องหาทางจัดการกับสนามเหล่านั้นเหมือนเดิม

อัลบั้มภาพ 60 ภาพ

อัลบั้มภาพ 60 ภาพ ของ ซ้ำรอยเดิมทุกครั้ง! สนามกีฬาโอลิมปิก สิ่งปลูกสร้างที่หมดประโยชน์ก็ไร้การเหลียวแล (ภาพ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook