เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ดี ?
Thailand Web Stat

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ดี ?

เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ดี ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สมรรถนะของรถขึ้นอยู่กับสภาพของเครื่องยนต์ และถ้าต้องการการตอบสนองที่ดียิ่งขึ้น ก็จะต้องดูแลสุขภาพของเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์อยู่เสมอ โดยเฉพาะกับน้ำมันเครื่องที่เปรียบเสมือนเป็นเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงเครื่องยนต์ การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามระยะทาง (หรือเวลา) ที่จะกำหนดจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ซึ่งก็เปรียบเสมือนการคืนความสดชื่นให้กับเครื่องยนต์ยังไงยังงั้น ว่าแต่ควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ดี

สำหรับปัจจัยที่ชี้ชัดว่าควรจะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันได้แล้วนั้น นอกจากระยะทางและระยะเวลาที่ยึดถือปฏิบัติกันอยู่แล้วนั้น ก็จะมีองค์ประกอบอื่นที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งถ้าให้เรียงลำดับความสำคัญแล้วก็จะออกมาดังนี้ครับ

- ความถี่ในการสตาร์ทขณะเครื่องเย็นมากๆ ทั้งนี้ก็เนื่องจากการที่เกิดการควบแน่นในขณะที่เครื่องเย็นมากกว่าปกตินั่น เองครับ แต่อันนี้บ้านเราไม่ค่อยเจออยู่แล้วครับ

- สภาพแวดล้อม (หนาวเย็น) โดยรอบ คือ ต้องใช้ระยะเวลานานแค่ไหนกว่าที่เครื่องจะถึงอุณหภูมิทำงาน
     
- ประสิทธิภาพในการทำความสะอาดของห้องเพลาข้อเหวี่ยง คือจะสามารถกักเอาสิ่งสกปรกไว้ไม่ให้ขึ้นไปหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ด้านบนได้มากน้อยเพียงใด

- ความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ กำลังอัดน้อยเท่าไหร่ การเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องก็จะยิ่งมากตาม

ระยะทางที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ ถ้าระยะทางที่ใช้แต่ละวันค่อนข้างสั้นและใช้แต่ความเร็วต่ำ  ก็จะทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็วกว่าด้วย อันนี้ “นายT”  ขอเสริมนิดนึงล่ะกันครับ ในกรณีที่ต้องประสบกับสภาพจราจรที่จอดนิ่งบ่อยๆ (โดยเฉพาะกับเมืองฟ้าอมรของเรา) ที่เครื่องยนต์ทำงานตลอด แต่รถไม่เคลื่อนที่นั้น การเสื่อมสภาพของน้ำมันเครื่องและการสึกหรอของเครื่องยนต์นั้นจะมากกว่าการขับแบบถนนโล่งๆ นะครับ เพราะฉะนั้นถ้าต้องประสบกับการจราจรที่แสนสาหัสล่ะก็   เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้เร็วขึ้นอีกนิดก็จะเป็นการดีกว่าครับ หรือกลับกัน ในกรณีที่ใช้ความเร็วสูงต่อเนื่องก็ทำให้น้ำมันเสื่อมสภาพเร็วกว่าด้วยเช่นกันครับ

ถ้าเป็นรถยนต์นั่งที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบ็นซิน ส่วนใหญ่ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นจะระบุให้เปลี่ยนถ่ายตามเกรดและประสิทธิภาพ ของน้ำมันเครื่อง หรือถ้าเป็นรถที่ไม่ค่อยได้ใช้งาน อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะเปลี่ยนน้ำมันเครื่องทุกๆ ปี แต่ถ้าเป็นผู้ผลิตรถ จะระบุให้เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 8,000-10,000 กม. หรือทุกๆ 6 เดือน (สำหรับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์) แล้วแต่ว่าอย่างใดอย่างหนึ่งถึงก่อน แต่ก็มีผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าถ้าต้องการการปกป้องสูงสุด ก็ต้องเปลี่ยนกันทุกๆ 5,000 กม. หรือ 3 เดือนนั่นแหละครับ พูดง่ายๆ ว่าเปลี่ยนยิ่งบ่อยก็ยิ่งยืดอายุของเครื่องนั่นเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็จะหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นด้วยนั่นเองล่ะครับ
     
แจ้งเตือนเมื่อถึงระยะที่ต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องติดตัวมาจากโรงงาน ซึ่งนั่นทำให้การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น และช่วยให้ผู้ขับไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะใช้งานจนเกินระยะทางที่กำหนด แต่ถ้ารถคุณไม่มี (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเช่นนั้น) ก็ไม่ต้องกลัวไปครับ ตัวช่วยมีเยอะแยะ อย่างที่ “นาย ก” นิยมใช้ก็จะเป็นการบันทึกลงในโทรศัพท์มือถือ ทั้งระยะทาง, วัน/เดือน/ปีที่เปลี่ยนถ่าย และแบรนด์-รุ่นของน้ำมันเครื่องที่ใช้ แต่ถ้าโทรศัพท์มือถือหายก็ตัวใครตัวมันละกันครับ หรือจะหากระดาษใบเล็กๆ จดรายละเอียดใส่ไว้ในช่องเก็บของก็ได้ครับ
     
ในกรณีที่เป็นรถจอดมากกว่าวิ่ง อย่างน้อยๆ ก็ควรที่จะเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องทุกๆ 6 เดือน เพราะทุกครั้งที่เครื่องยนต์ทำงาน ภายในเครื่องยนต์จะมีคราบเขม่าและความชื้นจากการเผาไหม้ตกค้างอยู่นั่นเอง ครับ และความชื้นกับชิ้นส่วนต่างๆ ที่เป็นโลหะนั้นก็ไม่ค่อยจะถูกกันซะด้วยซิครับ ถึงจะจอดนิ่งๆ ก็เลี่ยงเรื่องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันไม่ได้นะครับ
     
ด้วยรูปแบบการใช้งานของแต่ละคนที่แตกต่างกัน ทำให้ความถี่ในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของรถไม่เท่ากัน เพราะบางคนอาจใช้รถแค่เดือนละ 1,000 กม. ในขณะที่บางคนเดือนเศษๆ ก็ถึงกำหนดเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแล้ว ในกรณีที่ต้องการยืดระยะทางหรือเวลาในการเปลี่ยนถ่าย อันเนื่องมาจากไม่สะดวกที่จะต้องเข้ารับบริการบ่อยๆ ก็จะต้องกระโดดไปเล่นกับ Fully Synthetic Oil แล้วล่ะครับ แต่ไม่ว่าจะเลือกใช้น้ำมันเกรดใด ที่จะละเลยไม่ได้เลยก็คือต้องหมั่นตรวจสอบปริมาณและสภาพของน้ำมันเครื่อง อยู่เสมอด้วยล่ะครับ จริงๆ แล้วก็ทุกชนิดนั่นแหละครับ อ้อ อย่าลืมเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่องและแหวนรองน็อตถ่ายน้ำมันเครื่องทุก ครั้งด้วยนะครับ


ขอบคุณบทความดีๆจาก E-toyotaclub.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook