“พฤติกรรมชวนยี้“ รถเมล์ไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก!!
ดูเหมือนมาตรการในการบังคับให้รถโดยสารสารธารณะอย่างรถเมล์ไทยนั้นดูเหมือนจะไม่สามารถเข้ามาควบคุมหรือแก้ไขนิสัยในเรื่องขับรถและให้บริการที่เรียกได้ว่าแย่ถึงแย่ที่สุดได้เลยครับ
เพราะยังมีพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ (คนขับ) มีเรียกได้ว่าคะนองผสมความประมาทออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าผู้อ่านหลายๆ คนก็ยังเป็นหนึ่งในจำนวนคนหลายๆ ร้อยที่ใช้บริการรถสาธารณะอย่างรถเมล์ และคงเคยเจอประสบการณ์แย่ๆ จากรถเหล่านี้บนท้องถนน
หากยังจำกันได้ทุกคนเคยได้ยินตำนานของ 'รถเมล์สาย 8' กันแน่นอนเพราะขึ้นหน้าหนึ่งและเป็นข่าวให้เห็นกันเรื่อยๆ ไม่ว่าเรื่องการขับรถเร็ว, ประมาท และเรื่องของบริการที่ไม่ธรรมดา มาดูกันครับว่าเหตุการณ์ที่แย่ๆ และทำให้รู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยนั้นมีอะไรบ้าง? จะตรงกับใจของท่านบ้างไหม?
ข้อแรกยกให้เค้าเลย เรื่องของความเร็วในการขับ พี่เค้าวิ่งเหมือนกับว่าเมียจะคลอดลูกเดียวนั้น หากเหาะได้ผมว่าพี่เค้าทำแล้วละ นั่งส่วนหน้าๆ เชื่อว่าไม่รู้สึกผมแนะนำให้ลองมานั่งแถวท้ายๆ เวลาตีโค้ง หรือเจอลูกระนาดความรู้สึกนะเวลานั้นพี่ครับ ตับ, ไต, ม้าม ผมหายลอยหายไปไหนหมด
มาต่อกันที่ข้อ2 รถเมล์ควรขับเลนซ้ายเสมอก่อนถึงป้าย แต่เชื่อว่าหลายๆ คนคงเจอกรณีขับอยู่ขวา สุดแล้วปาดหน้ารถคันอื่นเข้าป้ายแบบกระชันชิด ทำเอาเพื่อนรวมถนนเบรกกันหัวทิ่ม…
ข้อต่อมาเป็นข้อที่ต่อยอดจากข้อที่แล้ว ขับเลนขวาสุดแล้วปาดเข้าป้าย…ผมว่าผู้โดยสารยังเข้าใจ แต่เคยเจอไหมครับขับขวาสุดแล้วเข้าป้ายไม่ทัน..ถูกละครับพี่เค้าจอดตรงนั้น 2 เลน 3 ปล่อยลงกันเลยครับ พร้อมเปิดประตู เชิญครับป้ายแล้ว แหม่..ยังอุตส่าห์ตะโกนตามหลังมาบอก
ต่อมาเรื่องของการแข่งขันกันเองในการรับผู้โดยสาร ไม่ว่าจะเป็นจากสายเดียวกัน หรือจากคู่แข่งขันที่วิ่งให้บริการในเส้นทางเดียวกัน นั้นหมายถึงทุกคนต้องทำเวลาในการวิ่งรถ เป็นที่มาของการ แซงโค้ง, ปาดซ้าย-ขวา จนลามไปถึง ใช้อารมณ์ในการขับรถขับไปด่าไป ยังไงกันครับพี่
ส่วนข้อสุดท้ายเป็นปัญหาข้อที่ควรปรับปรุงอันดับต้นๆ ของรถร่วมบริการและรถขนาดเล็ก เพราะส่วนใหญ่มักเจอกันปัญหาพนักงานให้บริการไม่ดี พนักงานขับรถร่วมดื่มสุรา สูบบุหรี่ขณะขับ และ ด่าผู้โดยสาร ซึ่งเป็นปัญหาที่เจอเสมอและบ่อยกว่ารถโดยสารของ ขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)
แม้ปัญหาเหล่านี้จะเป็นประเด็นและเกิดขึ้นให้เห็นประจำ ก็ยังไม่เห็นมีหน่วยงานไหนออกมาปรับปรุงและแก้ไขกับเรื่องเหล่านี้อย่างจริงจัง แม้ว่ากระทรวงคมนาคมจะมีมาตรการลงโทษและข้อบังคับที่ให้เคร่งครัดก็ตามครับ
กรณีทั้งหมดที่กล่าวมานั้นมักเจอได้ทั้งรถเมล์ของขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ รถเมล์ของบริษัทร่วมบริการ ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะโชคดีและเจอกันมัน
ขอบคุณภาพประกอบจาก : www.springnews.co.th