ไขปริศนา...นอนในรถ..ทำไมถึงตายได้??
จากข่าวการเสียชีวิตของพ่อบังเกิดเกล้าของนางเอกสาววิก 7 สีขวัญ อุษามณี ที่มีคนพบร่างไร้วิญญาณของพ่อเธอ ติดเครื่องยนต์นอนในรถ จากไปอย่างคาดไม่ถึง นี่เป็นเรื่องที่น่าเศร้าโศกเสียใจอย่างมาก และเราต้องของฝากแสดงความเสียใจไปถึงนางเอกคนนี้ด้วย ทว่าการนอนในรถนั้น เป็นเรื่องที่มีหลายคนมักไม่รู้เท่าไม่ถึงอันตรายและอาจนะไปสู่การเสียชีวิตได้
การจอดรถนอนนั้นเป็นเรื่องที่เราแนะนำให้คนจำนวนมากทำ โดยเฉพาะในหมู่นักเดินทางที่เหนื่อยล้าจากการขับรถทางไกลเป็นเวลานานๆ อาการดังกล่าวนั้น อาจส่งผลให้เกิดการหลับในและก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการจอดรถหลับพักผ่อนสักหน่อยก่อนจะเดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทาง
ดูผิวเผินการจอดรถนอน คงไม่ใช่เรื่องอะไรที่ซับซ้อน จนอาจเป็นอันตรายถึงขนาดทำให้เราสามารถเสียชีวิตคารถสุดที่รัก อย่างกรณีของคุณพ่อของนางเอกวิก 7 สี แต่ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า หากเรานอนในรถโดยไม่เข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง นี่อาจเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายในชีวิตก็เป็นได้
อันตรายจากการจอดรถนอนหลับนั้นความจริงแล้วเป็นภัยใกล้ตัวที่เราอาจวิตกถึงความไม่ปลอดภัยในชีวิตมากกว่าคิดถึงเรื่องอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสุขภาพ ที่เรามักจะอ่านข่าวพบว่า มีคนเสียชีวิตจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ทิ้งไว้แล้วเปิดแอร์นอน
สิ่งที่ผิดที่สุดของแนวคิดการนอนในรถนั้นไม่ใช่ระบบปรับอากาศ แต่มันคือการสตาร์ทเครื่องยนต์เดินเบาทิ้งเอาไว้ เพื่อให้ระบบปรับอากาศนั้นสร้างความเย็นสบายตลอดเวลา ความคิดที่รักสบายนี่เอง ทำให้หลายคนกลายเป็นร่างไร้วิญญาณ เพราะ แม้เครื่องยนต์และระบบปรับอากาศในห้องโดยสารจะไม่เกี่ยวข้องกัน ทว่าความจริงนี่เป็นจุดเริ่มต้นของความตาย
โดยปกติแล้วระบบปรับอากาศภายในรถยนต์นั้น จะทำงานคล้ายๆกับระบบแอร์ทั่วไป คือ แลกเปลี่ยนอุณภูมิผ่านน้ำยาที่เป็นตัวนำไประบายความร้อนออก แล้วกลับมาวนปรับอุณภูมิต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ จนได้อุณหภูมิตามต้องการ
แม้เราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าระบบปรับอากาศในห้องโดยสาร เป็นพื้นที่ปิดเพื่อใช้กักเก็บอุณหภูมิ แต่สิ่งที่อยู่ในระบบกับการดูดอากาศภายนอกบางส่วนมาหมุนเวียนในห้องโดยสารนั้นกลับเป็นชนวนต้นเหตุความตาย
นี่เองที่เป็นสาเหตุหลักที่อาจทำให้คุณตายได้โดยไม่รู้ตัว เพราะ เมื่อคุณติดเครื่องยนต์รถทิ้งไว้ไอเสียบางส่วนก็จะถูกพัดลมแอร์ดูดเข้ามาในห้องโดยสาร ซึ่งถ้าหากมันมาเป็นจำนวนมากคุณจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงและตื่นขึ้นเหมือนสัญญาณเตือนของร่างกาย ซึ่งในรถยนต์บางรุ่นจะติดตั้งตัวดักไอเสียสู่ห้องโดยสาร เพื่อป้องกันคนนอนในรถเป็นเวลานานๆ แต่กลับกันเมื่อเจ้าก๊าซพิษค่อยๆย่างกรายเข้ามาทีละนิด ในขณะที่กำลังฝันหวานก็ไม่ทางรู้สึกเลยว่ากำลังชะตาขาดขณะพักผ่อน
หลายคนคงเคยรู้สึกปวดหัวเวลาขับรถไปเจอการการจราจรขัดติด โดยมากคงนึกว่าเรากำลังผจญภาวะความเครียด แม้เหตุผลดังกล่าวจะถูกต้องในส่วนหนึ่ง แต่ความจริงแล้วอีกด้านเรากำลังสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ที่มีส่วนผสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารพิษเข้าสู่ร่างกาย และจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์ ได้กล่าวถึง อันตรายของการสูดดมก๊าซคาร์บอนไซด์ว่า อาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง ปวดศีรษะ เซื่อมซึม เคลิบเคลิ้ม สั่นกระตุก หายใจติดขัด หมดสติไม่รู้สึกตัว หัวใจเต้นปิดปกติ เนื่องจาก มีฮีโมโกลบินน้อยกว่าปกติ และมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางจนอาจถึงขั้นเสียชีวิต
มันจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพบว่า ถ้าเราสูดดมไอเสียทีละน้อยเป็นเวลากว่า 5-6 ชั่วโมง อาจส่งเราสู่สุคติได้โดยไม่รู้ตัว ทั้งนี้หากคุณมีความจำเป็นจริงๆในการนอนในรถระหว่างเดินทางเราก็มีวิธีที่ถูกต้องมาแนะนำให้ปฏิบัติตามกัน
1.หาที่เหมาะสม เมื่อเริ่มรู้สึกง่วงพยายามหาที่เหมาะสมในการจอดรถ เราแนะนำให้จอดในสถานีบริการ ถ้าเป็นไปได้ หรือถ้าไม่มีก็พยายามหาจุดที่เป็นชุมชน ป้อมตำรวจทางหลวง หรือ ไม่ก็มีแสงไฟสลัวๆดีกว่า เพื่อป้องกันโจรไปด้วยในตัว
2.ดับเครื่องยนต์ เมื่อจอดแล้วดับเครื่องยนต์ทันทีแม้อาจจะเริ่มรู้สึกอึดอัดบ้าง หากคิดว่าไม่สบายตัวก็แง้มกระจกลงสักนิด 2-3 เพื่อระบายอากาศและรับลมจากภายนอก
3.ปรับเบาะเอนเบาะนอนให้เหมาะสม การนอนในรถไม่ใช่การที่คุณเอนนอนทั้งหมด เพราะ แต่ละคนมีท่านอนที่ชอบไม่เหมือนกัน ให้คุณปรับเอนนอนให้พอดีเพียงพอ เพราะการเอนนอนมากไปจะทำให้คุณเมื่อล้าได้ภายหลัง
4.ใช้พัดลมแอร์ช่วยให้หลับ เมื่อพร้อมจะหลับก็ให้บิดกุญแจไปที่จังหวะออนเพื่อให้ระบบไฟฟ้าทำงาน แล้วจึงบิดเปิดสวิทช์แอร์ เมื่อเปิดแล้วให้หาปุ่มที่เขียนว่า A/C หรืออาจะเป็นรูปรถที่มีลูกศรชี้เข้ามาในตัวรถจากภายนอกให้เลือกกดปุ่มดังกล่าว ซึ่งพัดลมแอร์จะดูดอากาศมาหมุนเวียนในห้องโดยสารแม้จะไม่เย็นเหมือนแอร์แต่ก็พอให้คุณเคลิ้มหลับได้สบาย ซึ่งบางคนอาจเกรงว่าแบตจะหมด แต่เราแค่ต้องการพักผ่อนชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งแบตเตอร์รี่ขนาด 60 แอมป์ สามารถใช้ได้นานกว่า 3-4 ชั่วโมงเลยทีเดียว
นี่เป็นวิธีการนอนในรถที่ถูกต้องและเราไม่แนะนำให้ใช้รถเป็นโรงแรมคลื่อนที่ เนื่องจากแม้จะนอนได้แบบพอทน แต่มันก็ไม่ดีต่อสุขภาพกระดูกสันหลัง เช่นเดียวกับความไม่ปลอดภัยในชีวิต หากจำเป็นควรนอนพอให้หายอ่อนเพลียประมาณ 30-40 นาที เมื่อพร้อมแล้วจึงเดินทางต่อให้ถึงจุดหมายปลายทางครับ
ภาพประกอบจาก Gettyimages.com
Sanook Auto Comment
ข่าวการเสียชีวิตของพ่อของนางเอกวิก 7 สี นั้นเป้นข่าวที่สร้างความเสียใจอย่างมากเลยทีเดียว ทั้งนี้พ่อของน้องขวัญไม่ใช่คนแรกของเหยื่อการนอนในรถ และคงไม่ใช่รายสุดท้าย หากทุกคนไม่พยายามทำความเข้าใจถึงอันตรายของการนอนในรถ ข่าวคราวการเสียชัวิตเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็จะยังคงมีต่อไป