ทำอย่างไรเมื่อรถไฟไหม้

ทำอย่างไรเมื่อรถไฟไหม้

ทำอย่างไรเมื่อรถไฟไหม้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนี้เรามักจะเห็นข่าวคราวของรถถูกไฟไหม้ ไม่ว่าจะด้วยความประมาท หรือจากการผิดพลาดของเครื่องยนต์นั้น กรณีรถไฟไหม้สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะกับคนที่ใช้แก๊สในการขับเคลื่อนไปสู่ที่หมายปลายทาง

แม้กรณีรถไฟไหมจะมีมากและความเสียหายของมันเทียบเท่ากับไฟไหม้บ้าน เพราะมูลค่ารถแต่ละคันในบ้านเรานั้นไม่ได้มีอะไรน้อยไปกว่ากัน ทว่าคำถามที่น่าสนใจคือว่า คุณรู้หรือไม่ว่า เมื่อรถเราไฟไหม้แล้วควรจะทำอย่างไรกันบ้าง

เหตุการณ์ที่หลายคนไม่อยากเจอนี้ มักไม่มีใครบอกเล่าให้ฟังถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่สุดวิสัย แต่ก็ไม่เกินยากจะเยียวยา หากคุณรู้เท่าทันว่าอะไรควรจะปฏิบัติเมื่อพบพานในสถานการณ์ดังกล่าว วันนี้หลายคนที่ยังกังวลเรื่องรถไฟไหม้ เรามีวิธีมาฝาก โดยเฉพาะยามเจอสถานการณ์จริงจะได้ไม่ตกใจกัน

ก่อนที่เราจะเข้าสู่วิธีการแน่นอนว่า เราไม่สามารถจะสู้ได้ด้วยมือเปล่ากับสมอง แต่เรายังต้องการอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการดับไฟด้วย ซึ่งก็คือ “ถังดับเพลิง” ที่สามารถหาซื้อได้จากห้างทั่วไป ใช่ถังดับเพลิงตามร้านประดับยนต์ที่มีไว้ก็เหมือนไม่มี เราแนะนำให้ติดตั้งถังขนาด 2 ปอนด์ไว้ในรถยนต์ของท่าน โดยเฉพาะใครที่มีการติดตั้งแก๊ส ที่มีโอกาสสุ่มเสี่ยงเพลิงไหม้มากกว่าปกติ

เมื่อมีอุปกรณ์กันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คราวนี้เรามาดูกันสิว่า เมื่อรถเกิดเพลิงไหม้ แน่อยู่คุณอาจจะต้องเอาชีวิตรอด แต่มันก็มีวิธีช่วยให้รถคุณไม่เสียหาย แม้หลายคนจะไม่กังวลเพราะถ้าคุณทำประกันภัยชั้น 1 มันจะรวมกรณีเพลิงไหม้เอาไว้ด้วย

 

1.ตั้งสติ เมื่อรถคุณจะมีเหตุเพลิงไหม้ แน่นอนทุกอย่างมีสัญญาณเตือน และหนึ่งในนั้นก็คือ กลิ่น และในบางกรณีถ้าหากต้นเพลิงมาจากเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่เกิดเพลิงไหม้ในรถยนต์ อาจจะมีอาการเครื่องยนต์ดับร่วมด้วย อันทำให้รถหยุดการเคลื่อนไหวไม่สามารถควบคุมได้ แต่ถ้าคุณยังพอที่จะทำบางอย่างได้ ปลดเกียร์ว่าง หรือเข้าตำแหน่ง N เปิดไฟฉุกเฉินเข้าทาง คือ วิธีที่ดีที่สุด

 

2. ดับเครื่องยนต์ บางครั้งที่เครื่องยนต์ดับนั้น หลายคนมักจะลืมข้อนี้ เพราะคิดเอาเหมาว่าไม่จำเป็นทั้งที่จริงๆควรทำเป็นอย่างยิ่ง คือการบิดสวิทช์กุญแจดับเครื่องยนต์แล้วอย่าลืมนำกุญแจออกมาด้วย พร้อมกับเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการหยิบถังดับเพลิง ที่ทุกท่านควรมีติดรถ และดึงหรือกดปุ่มเปิดฝากระโปรง รวมถึงหากรถใครติดระบบแก๊สเดินไปทางด้านหลังแล้วหมุนวาล์วปิดทวนเข็นนาฬิกา ทันทีอย่าได้ช้า

3.ดับไฟ ได้เวลาผจญเพลิงกันแล้ว บางครั้งเมื่อเราดึงฝากระโปรง หากเพลิงไหม้มีอาการหนักมาก ก็มักจะมีเปลวไฟแลบออกมา ซึ่งอย่าตกใจ ห้ามตกใจ แต่ให้สู้ ด้วยการใช้ถังดับเพลิง ที่ใช้ง่าย เพียงปลอดสลัก แล้วกดฉีด ทำการดับไฟ โดยให้ฉีดพ่นผ่านช่วงแง้มของฝากระโปรง ฉีดให้ทั่วๆ และห้ามเปิดในทันทีทันใด เพราะ การเปิดฝากระโปรงเป็นการเติมออกซิเจน ให้เชื้อไฟ ซึ่งอาจทำให้รถของคุณกลายเป็นเถ้าถ่านในพริบตา

 

4.ดับไฟ (ต่อ) เมื่อไฟเริ่มเบาหรือใกล้สงบ คุณจึงควรจะเปิดฝากระโปรงได้ แต่แน่นอน ฝากระโปรงทำด้วยเหล็ก ถ้าไม่มีผ้าอะไรที่พอหยิบจับได้ ก็เอาเสื้อนี่แหละพันมือจะได้ไม่พองจากความร้อน กรณีที่ไม่สามารถเปิดฝากระโปรงได้ ให้หาอุปกรณ์งัด แต่เมื่อเปิดได้แล้ว ให้รีบฉีดห้องเครื่องให้ทั่ว และให้มั่นใจว่าเพลิงสงบจริงๆ

5.ถอดขั้วแบตเตอร์รี่ ไม่มีประกายไฟก็ไม่เกิดไฟแม้จะมีเชื้อเพลิง นี่เป็นเรื่องที่คุณควรจำไว้ให้แม่น เพราะแหล่งพลังงานหลักของรถที่เราใช้กันอยู่นั้นมันมาจากแบตเตอร์รี่ ซึ่งหากเราสามารถถอดชั้วแบตออกได้ หลังเพลิงดับจะช่วยให้ไม่เกิดเปลวไฟขึ้นอีก เพราะ โดยมากไฟไหม้ในรถยนต์ สาเหตุหนึ่งก็เกิดมาจากระบบไฟฟ้า นั่นเอง

 

เมื่อไฟดับลงเป็นที่เรียบร้อยก้ได้เวลาที่คุณจะโทรหาประกัน ถ้าคุณทำตามที่เราบอกมานั้น โอกาสที่รถจะเสียหายทั้งคันมีโอกาสน้อยลงมาก ซึ่งทั้ง 5 ข้อ แม้ในสถานการณ์จริง อาจจะฟังดูยากมากๆ แต่มันช่วยให้ทั้งชีวิตและทรัพย์สินคุณเสียหายน้อยที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้

 

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

Sanook! Auto Comment

 

เพียง 5 วิธีง่ายๆที่อาจจะพาคุณเหนื่อยหน่อยในการรักษารถสุดที่รักให้รอดจากเหตุเพลิงไหม้นั้น สามารถช่วยคุณรักษาทั้งชีวิตตัวเองและทรัพย์สินที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรง แม้เหตุเพลิงไหม้คงจะไม่เกิดได้ง่ายนัก เมื่อเทียบกับกรณีอื่น แต่รู้ไว้ใช้ว่า เวลาเกิดอะไรขึ้นจริงๆ จะได้แก้ปัญหาเป็น

 

 

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook