3เงื่อนไข "รถคันแรก" นโยบายจริงหรือขายฝัน

3เงื่อนไข "รถคันแรก" นโยบายจริงหรือขายฝัน

3เงื่อนไข "รถคันแรก" นโยบายจริงหรือขายฝัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงหลายวันที่ผ่านมานี้หากกล่าวถึงข่าวในประเทศไทยที่ได้รับความสนใจและชื่นชอบจากคนที่มีรถหรือกำลังอยากจะมีรถนั้น คงไม่พ้นเรื่องของการประชุมสรุปมาตรการตามนโยบาย "รถคันแรก" ที่ประกาศออกมาในช่วงการเลือกตั้งที่ผ่านมา

ดั้งเดิมทีนโยบายรถคันแรกนั้น มีการสื่อภาพในการเพิ่มความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นในการซื้อขายรถยนต์ที่จะทำให้ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์เติบโตขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเมืองไทยกำลังเดินหน้าตามโครงการ Detroit Of Asia

จุดเด่นในเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์บ้านเรากลายเป็นข้อเสนอที่ดีในการหาเสียงในการให้ส่วนลดกับผู้ที่ซื้อรถยนต์คันแรกในชีวิต โดยนโยบายนี้มุ่งเน้นที่กลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา แต่หลังจากการประชุมที่ผ่านมาดูเหมือนว่าจะเป็นแค่ขายฝันอีกแล้วหรือไม่

นโยบาย "รถคันแรก" ตามแนวทางของภาครัฐนั้น ดูเหมือนจะทำให้ใครหลายๆคนอดอีกตามเคย เมื่อภาครัฐโดยนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้เผยถึง 3 เงือนไขที่สำคัญในการใช้สิทธิ์ตามนโยบายที่ภาครัฐได้วางเอาไว้เพื่อช่วยเหลือสังคม ซึ่งมองอย่างไรก็ไม่ครอบคลุมในความเป็นจริงตามที่เคยกล่าวเอาไว้

1.ผู้ที่จะใช้สิทธิได้ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากคุณอยากซื้อรถคันแรกโดยได้ส่วนลดจำนวนสุงสุดกว่า 1 แสนบาทนั้น ผู้ซื้อต้องเป็นบุคคลที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นประจำ ต่จากจำนวนคนที่ยืนแบบภาษีเงินได้กว่า 10 ล้านคนนั้น มีเสียภาษีจริงประมาณ 2 ล้านกว่าคน และคนที่เสียภาษีปัจจุบันนั้นต้องเป็นผู้ที่มีรายได้เกินเดือนละ 2 หมื่นบาท จึงจะเข้าแนวนโยบาย


เหตุผลที่ต้องกำหนดเงื่อนไขข้อนี้นั้น ก็มาจากการที่ภาครัฐจะใช้การให้ส่วนลดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแทนที่จะใช้การลดภาษีสรรพสามิตร จากที่ได้กล่าวเอาไว้ในช่วงแรก ซึ่งยังไม่มีการเปิดเผยอัตราที่แน่นอนอย่างเป็นทางการ

2.ต้องเป็นรถกระบะ-อีโค่คาร์ ราคาไม่เกิน 1 ล้านบาท หากว่าข้อแรกยากแล้วต้องมาดูเงื่อนไขข้อ2 ที่รัฐกำหนดให้เงื่อนไขการซื้อรถยนต์คันแรกนั้นจะมีสิทธิ์ใช้ได้กับรถที่เป็นรถที่ผลิตในประเทศ โดยต้องเป็น 2 ผลิตภัณฑ์ที่บ้านเราส่งออกนั้น คือรถกระบะขนาดกลาง และรถอีโค่คาร์น้องใหม่ล่าสุด ซึ่งนอกจากจะซื้อได้เพียงแค่รถ 2 ประเภทนี้แล้ว ต้องมีราคาสูงสุดไม่เกิน 1 ล้านบาทด้วย

3.ห้ามซื้อ-ขาย โอนต่อ ในระยะเวลา 5 ปี ถ้าคุณสามารถฝ่าด่านอรหันต์มาได้ใน 2 ข้อที่ผ่านมา หลังซื้อคุณก็ต้องทำใจในการใช้รถยนต์คันนั้นต่อเนื่องไปอีกอย่างน้อย 5 ปี โดยห้ามทำการซื้อ-ขาย หรือโอนต่อ จนกว่าจะได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐครบตามจำนวนที่กำหนด

อย่างไรก็ดีความชัดเจนของแนวนโยบายส่วนลดสำหรับรถคันแรกนั้น ยังต้องรอความชัดเจนในเรื่องจำนวนส่วนรถที่ยังไม่ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่แม้มาตรการนี้ที่เดิมทีจะเอาใจเด็กจบใหม่หรือคนเพิ่งเริ่มทำงาน แต่หากดูจากหลายองค์ประกอบแล้ว มาตรการรถคันแรกอาจจะกลายเป็นแค่ฝัน ที่การบังคับใช้จริงในเดือนหน้านั้น จะมีการปรับเงื่อนไขหรือไม่อย่างไรก็คงต้องติดตามกันต่อไปอย่างใกล้ชิด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook