นโยบาย "รถคันแรก" ประเด็นร้อนของคนอยากมีรถ

นโยบาย "รถคันแรก" ประเด็นร้อนของคนอยากมีรถ

นโยบาย "รถคันแรก" ประเด็นร้อนของคนอยากมีรถ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนาทีนี้สำหรับคนอยากมีรถนั้นคงไม่มีใครที่จะให้ความสนใจไปกว่า แนวนโยบาย "รถคันแรก" ของรัฐบาลชุดใหม่ที่หวังช่วยเติมฝันคนอยากมีรถให้สมหวัง ด้วยมาตรการส่วนลดทางภาษี 100,000 บาท สำหรับ ผู้ที่ซื้อรถยนต์คันแรก ทำให้น่าจะช่วยให้ซื้อมากขึ้น

วานนี้มีการเคาะความชัดเจนของนโยบาย รถคันแรก โดยที่ประชุมครม.มีการเห็นชอบมาตราการทางภาษีของรถคันแรก ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนนี้เป้นต้นไป จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมปีหน้า ซึ่งหน้าตาของนโยบายภาษีรถยนต์คันแรกจะเป็นอย่างไร เราลองไปติดตามดูกัน

ขอ้กำหนดภาษีรถยนต์คันแรกนั้นมีข้อสำคัญที่ขาดไม่ได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการเขียนออกมาเป็นรูปธรรม แต่รถคันที่ซื้อนี้ต้องเป็นรถยนต์คันแรกของชีวิต ที่กำหนดอายุของผู้ซื้อได้ที่ 21 ปีบริบูรณ์ โดยรถคันแรกนี้ต้องเป็นรถที่ไม่มีราคาเกิน 1 ล้านบาท
นโยบายรถคันแรกนโยบายรถคันแรก

เรื่องสำคัญข้อหนึ่งของ นโยบาย "รถคันแรก" คงไม่พ้นประเภทของรถที่ให้เลือกจับจองได้ในรถ 2 ประเภท คือ 1.รถนั่งส่วนบุคคลขนาดไม่เกิน 1500 ซีซี ที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่พุ่งเป้ากลุ่มรถยนต์อีโค่คาร์ซึ่งมีขนาด 1200 ซีซี ส่งผลให้ครั้งนี้มีการขยายวงกว้างเพิ่มทางเลือกของผู้อยากมีรถมากขึ้น เนื่องจากแทบทุกแบรนด์ชั้นนำมีรถยนต์กลุ่มนี้ไว้ตอบโจทย์อยู่แล้ว

อีกกลุ่มหนึ่งที่สามารถเลือกซื้อได้นั้นเป็นรถยนต์กระบะและรถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก หรือพูดให้เข้าใจง่าย คือ กลุ่มรถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) โดยรถทั้ง 2 ประเภทนี้ต้องอยู่ภายในเงื่อนไขราคาที่ไม่เกิน 1 ล้านบาท และที่สำคัญทั้งหมดนี้ไม่รวมรถยนต์ประเภทนำชิ้นส่วนเข้ามาประกอบภายในประเภทหรือ รถจดประกอบ

ในด้านผู้ซื้อเองนั้นก้มีเงื่อนไขต่างๆมากมายที่น่าสนใจ ตั้งแต่ผู้ซื้อนั้นจะต้องเป็นบุคคลที่มีอายุ 21 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จึงจะเข้าตามหลักเกณฑ์แนวนโยบาย เช่นเดียวกับการครอบครองต้องมากกว่า 5 ปี จึงสามารถเปลี่ยนมือได้ โดย นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า จะให้กรมการขนส่งนั้นบันทึกในฐานข้อมูล "ห้ามโอนภายใน 5 ปี"

สำหรับการดำเนินการเข้าโครงการ "รถคันแรก" ตามแนวทางของรัฐบาลนั้นจะเริ่มหลังจากสามารถซื้อรถตามข้อกำหนดของรัฐบาลและมาครอบครองได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ให้ เจ้าของของรถเตรียมเอกสาร 4 อย่า งดังต่อไปนี้ คือ 1. หนังสือยินยอมสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปี 2.สำเนาบัตรประชาชนของผู้ซื้อ 3.สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อ และ 4 ในกรณีที่เช่าซื้อรถยนต์ (ซื้อเงินผ่อน) ต้องมี สำเนาหนังสือสัญญาเช่าซื้อ (ในกรณีเช่าซื้อ)
นโยบายรถคันแรกนโยบายรถคันแรก

เมื่อได้เอกสารครบแล้วให้นำ เอกสารทั้งหมดนี้ไปยื่นต่อกรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ จากนั้นทางกรมสรรพาสามิตร จึงจะออกหนังสือขอตรวจสอบการครอบครองรถยนต์คันแรก และแจ้งการสละสิทธิ์การโอนภายใน 5 ปีของผู้ซื้อ ถึงกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักขนส่งจังหวัดที่รถคันดังกล่าวจดทะเบียนอยู่ จากนั้นจะมีการตรวจสอบแล้วบันทึกเงื่อนไข "ห้ามโอนภายใน 5 ปี"

หลังจากนั้นกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักขนส่งจังหวัดจะทำหนังสือหนังสือรับรองการครอบครอง รถยนต์คันแรก และสำเนาคู่มือการจดทะเบียนที่บันทึก "ห้ามโอนภายใน 5 ปี" ให้กรมสรรพสามิตหรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ ถือเป็นการเสร็จกระบวนการตรวจสอบและรับสิทธิ์ตามนโยบายรถคันแรก

แม้การสรุปแนวนโยบายรถคันแรกนั้นจะออกมาเป็นรูปธรรมและจะมีผลทันทีตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 แต่การรับเงินคืนนั้นไม่ใช่จะได้ทันที ทว่าจะเริ่มคืนให้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 โดยสั่งจ่ายเป็นเช็คจากกรมสรรพสามิตร และแม้การเคาะมติ "รถคันแรก" ของครม.จะน่าสนใจ แต่ยังมีอีกหลายข้อที่ยังไม่ชัดเจน ฉะนั้นอย่าใจร้อนรีบซื้อรถ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook