Sanook! Auto Advance :...ดับเครื่องประหยัดน้ำมัน เรื่องกังขา ที่ต้องมาปรับความเข้าใจ

Sanook! Auto Advance :...ดับเครื่องประหยัดน้ำมัน เรื่องกังขา ที่ต้องมาปรับความเข้าใจ

Sanook! Auto Advance :...ดับเครื่องประหยัดน้ำมัน เรื่องกังขา ที่ต้องมาปรับความเข้าใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากพูดถึงการขับรถยนต์ให้ประหยัดแล้ว ปัจจุบันราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ เราหลายคนต้องปรับตัวกับสถานการณ์ที่รังแต่จะแย่ลง ทว่าการขับรถให้ประหยัดนั้นก็ยังเป็นหนทางที่ดีที่สุดเสมอแม้จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยก็ตาม

การขับรถให้ประหยัดเป็นเรื่องที่กล่าวถึงมากในยุคน้ำมันแพง และหนึ่งในหลายคำแนะนำที่เราเคยได้กล่าวไป ก็มีข้อคำถามข้องใจโดยเฉพาะเรื่องราวการดับเครื่องยนต์ชั่วคราวเพื่อประหยัดน้ำมัน จนหลายคนไม่เชื่อว่ามันจะทำได้จริง ด้วยแนวคิดว่าทุกครั้งที่ติดเครื่องยนต์จะต้องมีการจ่ายน้ำมันมากกว่าที่เดินเครื่องทั่วไปๆ

เทคนิคดับเครื่องยนต์ประหยัดน้ำมันไม่ใช่ของใหม่ในโลกยานยนต์ เพราะไม่ว่าใครก็ต้องรู้ดีว่าติดเครื่องยนต์รถต้องทานน้ำมัน แต่สำหรับใครที่ไม่เชื่อว่าการติดๆดับๆ เครื่องยนต์นั้นจะทำให้ประหยัดได้ไง วันนี้ เราจะพาเพื่อนๆไปล้วงแคะ แกะเกาแนวคิดนี้ ในคอลัมน์ใหม่ Auto Advance ....

เข้าใจในการสตาร์ทเครื่อง ..เรื่องที่ทำทุกวัน แต่คุณอาจไม่เคยรู้

 

เราทุกคนเคยสตาร์ทเครื่องยนต์กันมาแล้วและมันเป็นเรื่องที่เราทำกันทุกวันเพื่อให้รถขับเคลื่อนไปได้ ทว่าคงไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ว่า เบื้องหลังการบิดกุญแจ แชะๆ..แล้ว บรึ้นเป็นเสียงเครื่องยนต์เดินเบา ต้องประกอบด้วยการทำงานจากหลายองค์ประกอบสำคัญ

Idling StopIdling Stop

การสตาร์ทเครื่องยนต์ให้ทำงานเป็นปกติ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ก็ไม่ง่าย ถ้าไม่ได้ส่วนผสมที่ถูกต้อง ซึ่งพื้นฐานช่างยนต์ทุกคน ต้องเรียนรู้ส่วนผสมของอากาศและน้ำมัน และสำหรับเครื่องยนต์เบนซินนั้น อาจจะมีไฟจากหัวเทียนเป็นส่วนประกอบในการทำให้เกิดการจุดระเบิด ซึ่งเป็นต้นกำลังให้เครื่องยนต์ทำงาน

บิดกุญแจแล้วเครื่องติดคือพื้นฐานที่เกิดขึ้นในด้านคนใช้รถ แต่เบื้องหลังของการสตาร์ทนั้น เมื่อเราบิดกุญแจ ไฟฟ้าจากสวิทช์กุญแจ จะถูกส่งต่อไปยังมอเตอร์สตาร์ท หรือ ที่ช่างไทยเรียกว่าไดร์สตาร์ท เพื่อทำหน้าที่ในการติดเครื่องยนต์และมันทำงานทุกครั้งที่คุณสตาร์ทเครื่อง

มอเตอร์สตาร์ทมีมากมายหลายแบบ แต่ที่เราคุ้นเคยคือมอเตอร์สตาร์ทไฟฟ้า ซึ่งใช้ไฟฟ้ามากระตุ้นโซลินอยด์ในตัวดันฟันเฟืองจิ๋วๆในตัว เข้าไปยังล้อช่วยแรงหรือที่เรียกว่า Flywheel ซึ่งต่อตรงมาจากชุดข้อเหวี่ยงฐานของลูกสูบ โดยจะหมุนฟลายวีลเป็นระยะเวลาสั้นๆ เมื่อเกิดการจุดระเบิดเครื่องยนต์ก็ติดและเดินเบาพร้อมใช้งาน

ดั้งเดิมการสตาร์ทรถใช้วิธีการมือหมุนหรือเท้าถีบ ซึ่งยังเห็นได้ในมอเตอร์ไซค์หลายรุ่น แต่สิ่งที่ทุกคนเข้าใจว่า สตาร์ทรถยนต์นั้นต้องใช้น้ำมันมากนั้น มาจากเครื่องยนต์แบบคาร์บูเรเตอร์ ที่ใช้การผสมแบบคงที่จาก ตัวผสมน้ำมันกับอากาศในชุดคาร์บู หรือที่เรียกว่า "นมหนู" ทำให้ทุกครั้งที่ติดเครื่องยนต์ อาจจะซดน้ำมันมากกว่าปกติ

ปัจจุบันการสั่งจ่ายน้ำมันของเครื่องยนต์ถูกพัฒนาไปสู่ระบบหัวฉีดที่ให้ความแม่นยำยิ่งขึ้นในการจ่ายน้ำมันเข้าสู่ห้องเผาไหม้ โดยสั่งกำหนดค่าประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์จากกล่อง ECU (Electronic Control Unit) ซึ่งจะวัดค่าต่างๆ เช่นความร้อนหม้อน้ำ ความร้อนเครื่อง และ น้ำมันเครื่องรวมถึงปริมาตรอากาศ แต่ทั้งหมดนั้นแบ่งการสตาร์ทเป็นเพียง 2 ลักษณะ คือ สตาร์ทเย็น กับสตาร์ทร้อน

การสตาร์ทเย็นและสตาร์ทร้อน เป็นการแบ่งภาวะอุณหภูมิของเครื่องยนต์ในขณะนั้นว่ามีลักษณะทางกายภาพเป็นอย่างไรบ้าง โดยการสตาร์ทเย็นจะมีขึ้นเมื่อเราไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานานๆ ทำให้เครื่องยนต์สูญเสียความร้อนที่เหมาะสมในการทำงาน ซึ่งอยู่ในช่วง 85-92 องศาเซลเซียส โดยประมาณ ทำให้การจุดระเบิดทำได้ยากกว่า จึงต้องมีการจ่ายน้ำมันเพิ่มจากอัตราปกติ ตรงนี้เองคือสิ่งที่ทุกคนเข้าใจเรื่องการสิ้นเปลืองน้ำมันมากกว่าทุกครั้งที่สตาร์ทเครื่อง

Idling StopIdling Stop

กลับกันการสตาร์ทร้อนเป็นการทำให้เครื่องยนต์ติดในอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว ทำให้เพียงจ่ายน้ำมันตามปกติ เครื่องยนต์ก็จะสามารถติดได้ง่าย โดยไม่สิ้นเปลือง และคือจุดที่วิศวกรหรือกูรูมักจะพูดว่าการดับเครื่องยนต์แล้วสตาร์ทใหม่อีกครั้งจะมีความประหยัดมากกว่า

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook