อย่ามองข้าม"ปีกนก-ลูกหมาก"

อย่ามองข้าม"ปีกนก-ลูกหมาก"

อย่ามองข้าม"ปีกนก-ลูกหมาก"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     คอลัมน์ คาร์ทิปส์  มติชน 24 ตุลาคม 2558


     ปีกนก หรือ คอนโทรล อาร์ม หรือ วิชโบน (Control arm หรือ wishbone) เป็นระบบรองรับการสะเทือนสำหรับรถยนต์โดยปกติจะติดตั้งไว้ใกล้กับแกนล้อโดยใช้ลูกหมากเป็นตัวเชื่อมต่อและทำให้ปีกนกสามารถรับการเคลื่อนไหวของรถได้ มักทำด้วยเหล็กหรืออะลูมิเนียม ปีกนกสามารถเคลื่อนไหวแบบยืดหยุ่นในลักษณะการปรับองศาการเคลื่อนไหวเพื่อรองรับความสั่นสะเทือนของตัวรถ


     ปีกนกเป็นระบบกันสะเทือนแยกอิสระ นุ่มนวล ควบคุมรถได้แม่นยำ แต่เนื่องจากมีส่วนประกอบจุกจิกค่อนข้างเยอะ โอกาสเสียหายเมื่อใช้ในงานที่ต้องลุย จะเสียเปรียบ หรือต้องตรวจเช็ก เปลี่ยน บ่อยครั้งกว่าระบบคานแข็ง การออกแบบแตกต่างกันไป เช่น ปีกนกบนและปีกนกล่างยาวไม่เท่ากันแต่ขนานกัน ปีกนกบนและปีกนกล่างยาวไม่เท่ากันและไม่ขนานกัน

     ระบบรองรับน้ำหนักประเภทนี้ได้รับความนิยมค่อนข้างแพร่หลาย ปัจจุบันสามารถออกแบบให้แข็งแรงมากพอ และใช้อะลูมิเนียมน้ำหนักเบาแทนโครงสร้างเดิมเป็นเหล็ก จึงไม่แปลก นอกจากในรถยนต์นั่งแล้ว รถออฟโรดหลายรุ่นก็ใช้ระบบกันสะเทือนรูปแบบนี้ด้วย ตรวจเช็กซ่อมเปลี่ยนราคาค่อนข้างสูงพอสมควร เป็นหลักหมื่น

     หากบูชปีกนกหรือปลอกหุ้มปีกนกชำรุดเสียหาย จะมีเสียงดัง กุกๆ กักๆ หากอาการหนัก บางครั้งเวลาขับจะมีอาการแฉลบตามลอนถนนหรือรอยต่อถนน



     สำหรับลูกหมากปีกนกหรือ บอลล์ จอยต์ (ball joint) เป็นอะไหล่ตัวหนึ่งในระบบช่วงล่างในส่วนของระบบรองรับน้ำหนักของรถยนต์ที่ขาดไม่ได้ ทำหน้าที่เป็นข้อต่อ ให้การเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนมั่นคง ในหลายทิศทาง คล้ายกับข้อต่อกระดูก หัวไหล่ ข้อศอก สะโพก เข่า ของคน ที่มีกระดูกกลม หมุนโยกได้ในเบ้า

     เมื่อกล่าวถึงระบบรองรับน้ำหนักช่วงล่างรถยนต์จะแบ่งเป็น 2 แบบคือ ระบบแม็คเฟอร์สันสตรัท จะมีเฉพาะปีกนกล่างเท่านั้น ส่วนมากมีใช้ในรถเก๋ง โดยจะใช้ลูกหมากปีกนกข้างละ 1 ตัว ระบบปีกนก 2 ชั้น หรือปีกนกคู่ มีใช้ในรถกระบะและรถเก๋งทั่วไปหลายๆ รุ่น เช่น ซีวิค แอคคอร์ด อัลติม่า รถที่ใช้ระบบปีกนก 2 ชั้นส่วนมากจะใช้ลูกหมากปีกนกทั้งหมด 4 ตัว แบ่งเป็นลูกหมากปีกนกล่างข้างละ 1 ตัว และลูกหมากปีกนกบนข้างละ 1 ตัว
เมื่อลูกหมากถูกใช้ไปนานๆ จะมีชิ้นส่วนสึกหรอเกิดขึ้น เช่น ยางกันฝุ่นฉีกขาด (Duct cover) ลูกหมากหลวม

     การบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมลูกหมาก ที่ทำกันโดยมากคือ เปลี่ยนยางกันฝุ่น เปลี่ยนลูกหมาก บางรุ่นจะต้องเปลี่ยนพร้อมปีกนกเนื่องจากยึดติดด้วยกัน และทำการอัดจาระบี (เฉพาะลูกหมากที่มีหัวอัดจาระบี)


     ที่มาภาพ www.supradit.com

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook