"ขายดาวน์" ซื้อง่ายขายคล่อง แต่เสี่ยงสูง ...

"ขายดาวน์" ซื้อง่ายขายคล่อง แต่เสี่ยงสูง ...

"ขายดาวน์" ซื้อง่ายขายคล่อง แต่เสี่ยงสูง ...
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้เราหลายคนมักอยากจะมีรถด้วยข้ออ้างสารพัดต่างๆนานา ทั้งๆที่ น้ำมันก็ราคาแพง แต่คงจะไม่ใช่หน้าที่เราจะมาบอกว่าอะไรถูกอะไรผิดหากแต่ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกว่าที่ก่อนซื้อรถต้องระลึกถึงภาระที่ตามมาอย่างหนักอึ้งในอีกหลายปีต่อจากนี้ 

การซื้อข่ายรถยนต์ในปัจจุบันนั้น เริ่มมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น และหนึ่งในบรรดาการซื้อขายที่เราเริ่มได้ยินกันหนาหู ก็ไม่พ้น "ขายดาวน์" ที่เริ่มได้รับความนิยมด้วยกระบวนที่ไม่ซับซ้อนหรือยุ่งยากแต่แน่นอนว่า เรื่องที่หลายคนไม่รู้คือแม้การขายแบบนี้จะได้เงินเร็วแต่มีความเสี่ยงสูงทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

กระบวนการ "ขายดาวน์" รถยนต์ เป็นกรรมวิธีใหม่ที่เพิ่งมีการคิดค้นรูปแบบการซื้อขายรถยนต์เมื่อไม่นานมานี้ และกำลังนิยมอย่างมาก โดยวิธีขายดาวน์ ก็คือการขายรถยนต์โดยให้ผู้ที่ซื้อไปทำการผ่อนชำระต่อกับไฟแนนซ์ในงวดที่เหลือ โดยผู้ซื้อต้องจ่ายเงินก้อนจำนวนหนึ่งให้กับผู้ขาย ก่อนที่จะไปดำเนินการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อและได้รถมาขับ

ฟังดูแล้ว "ขายดาวน์" ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย แต่ด้วยการที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสามาถตกลงราคากันเองได้ง่ายตามพอใจ ทำให้กระบวนการนี้ลดความยุ่งยากตามที่เรานำเสนอ และเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายต่างเป็นที่พอใจ ก็สามารถดำเนินการตามขั้นตอนได้แต่ที่หลายคนไม่ทราบคือ กระบวนการ ซื้อรถแบบ "ขายดาวน์" ยังมีอุปสรรคอีกมากมาย ที่อาจจะนำมาสู่ความไม่สมหวัง

1.ผู้ซื้อ แม้กระบวนการขายดาวน์จะง่ายและใช้เงินน้อย แต่ที่หลายคนมักลืมไปเสียสนิท คือ เงินก้อนใหญ่ที่จ่ายไปนั้นเพื่อซื้อรถที่มีคนใช้แล้ว ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรจากการซื้อรถมือสองดีๆ หลาย ครั้งที่เราพบว่าการขายดาวน์กลับใช้เงินสูงกว่าการออกรถใหม่ป้ายแดงเสียด้วยซ้ำ และยิ่งไปกว่านั้นแม้การซื้อรถแบบขายดาวน์ผู้ซื้อต้องไปเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อตามระเบียบอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะซื้อได้ทุกคน เพราะการเปลี่ยนสัญญาก็ไม่ต่างกับการเช่าซื้อใหม่ ซึ่งทางสถาบันการเงินต้องตรวจสอบสถานะการเงินก่อน ไม่ใช่ว่าจ่ายเงินก้อนแล้วจะได้รถเลยและผ่อนต่ออย่างสบาย อย่างที่หลายคนเข้าใจกัน

ไม่เพียงเท่านี้ การซื้อรถที่ขายดาวน์ หากเป็นไปได้ควรทราบประวัติรถว่า รถคันดังกล่าวไม่ใช่รถที่มีประวัติหนีไฟแนนซ์หรือค้างชำระกับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้นจากการดูเพียงสภาพรถทั่วไป เนื่องจากมีการซื้อขายหลายกรณีที่พบว่าท้ายที่สุดแล้วรถที่นำมา "ขายดาวน์" เป็นรถที่มีหนี้ค้างชำระกับสถาบันการเงิน

2.ผู้ขาย หากคุณมีความประสงค์ในการขายรถยนต์แล้วมองว่า การ "ขายดาวน์" เป็นทางออกที่เหมาะสมมากกว่า หนทางอื่น การดำเนินการ "ขายดาวน์" ก็ควรมองในเรื่องความคุ้มค่าด้วยไม่ใช่คิดแค่อยากปล่อยรถออกไป แต่ลองคำนวนเม็ดเงินที่ใช้จ่ายไปในแต่ละงวดด้วย โดยเฉพาะดอกเบี้ยที่คุณเสียไป

นอกจากนี้การขายดาวน์นั้นต้องไม่ปล่อยรถไปจนกว่ากระบวนการเปลี่ยนสัญญาเช่าซื้อจะเสร็จสิ้น ไม่ว่ากับเต๊นท์รถหรือผู้ซื้อรถก็ดี เนื่องจากการขายดาวน์ต้องมีการแจ้งเปลี่ยนผู้เช่าซื้อรายใหม่ เพื่อปิดบัญชีทั้งต่อสถาบันการเงิน และบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เพื่อให้คุณสามารถซื้อรถคันใหม่ หรือดำเนินการใดๆ ในด้านการเงินได้ตามต้องการ

ยิ่งไปกว่านั้น การดำเนินเอกสารให้เสร็จสรรพก่อนปล่อยรถออกไปยังเป็นการป้องกันในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ผ่อนชำระต่อตามที่ได้สัญญาหรือตกลงกันไว้ แม้จะมีการทำเอกสารรับรองการซื้อขายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ในทางกฏหมาย เมื่อชื่อสัญญาเช่าซื้อยังเป็นของผู้ซื้อรายเดิม ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 352 ได้ระบุให้ผู้เช่าซื้อมีความผิดฐานยักยอกทรัพย์ หากบริษัทไฟแนนซ์ยื่นขอยกเลิกสัญญาและให้ผู้เช่าซื้อคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อ แต่เมื่อไม่สามารถคืนได้ไม่ว่าจะไปซุกซ่อนหรือขายต่อไปแล้วจะไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ ต้องรับโทษ จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

จากที่เรากล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การ "ขายดาวน์" หรือซื้อรถ "ขายดาวน์" ต่างก็มีความเสี่ยงสูงทั้งผู้ซื้อและผู้ขายเอง แต่ไม่ใช่เราไม่แนะนำว่า ไม่ให้ซื้อรถที่ดำเนินการขายรูปแบบนี้ หากแต่คุณเองจำเป็นต้องมีความรอบคอบก่อนจะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อเงินในกระเป๋าเองและในแง่กรณีที่เกิดการดำเนินการทางกฏหมายตามมา

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook