สอบคันเร่งค้างในเกาหลี หลังคลิปโผล่บน youtube

สอบคันเร่งค้างในเกาหลี หลังคลิปโผล่บน youtube

สอบคันเร่งค้างในเกาหลี หลังคลิปโผล่บน youtube
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

                กลายเป็นเรื่องที่สนใจกันทั่วโลก ตั้งแต่เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว หลังจากมีการเผยแพร่ชวนสยองจากรถยนต์ที่ถูกระบุว่า เป็นรถ  Hyundai Sonata YF Sedan รุ่น ปี 2009 ซึ่งเกิดเหตุคันเร่งค้างก่อนจะพุ่งด้วยความเร็วสูงข้ามแยกไปชนรถอีกคัน

                เหตุการณ์นี้เป็นที่กล่าวถึงมากไม่ใช่แค่เพียงในโลกไซเบอร์แต่ยังรวมถึงสื่อสำนักข่าวใหญ่ต่างๆทั่วโลก ทั้ง  CNN ABC  หรือกระทั่ง  wall Street Journal  ซึ่งภายหลังถูกระบุว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้น ที่แยกแดจู  Hyundai  ได้ออกแถลงการณ์ว่า "รถที่เกิดอุบัติเหตุได้รับการตรวจสอบโดยหนว่ยงานนิติวิทยาศาสตร์แห่งชาติ และยังไม่มีเวลาประเมินผลสรุปการสอบสวน"

                อย่างไรก็ดี สำนักข่าว  CNN  สามารถเข้าถึงผู้ที่เผยแพร่คลิปดังกล่าว ที่เปิดเผยนามสกุล  Kwon โดยเขาเป็นลูกชายของคู่สามีภรรยาที่ประสบอุบัติเหตุ  กล่าว่า พ่อของเขาได้ยินเสียงประหลาดจากรถของเขา และรู้ว่ามีบางสิ่งผิดปกติอย่างแน่นอน และทันใดรถก็พุ่งออกไปอย่างรวดเร็ว พ่อหักหลบรถคันหน้า แต่รถก็เร่งความเร็วขึ้นเรื่อยๆ จนท้ายที่สุดไม่มีที่ให้ไปแล้วเขาก็ชนเข้ากับรถอีกคัน

                Kwon กล่าวต่อว่า สาเหตุที่ต้องอัพโหลดภาพเหตุการณ์ขึ้น Youtube  ก็เพื่อต้องการพิสูจน์ว่า อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากความผิดของการขับขี่พ่อของเขา แต่มีสาเหตุจากรถยนต์ และเขาเขาหวังว่าทีมสอบสวนจะสามารถหาต้นเหตุของเรื่องที่เกิดขึ้นได้เพื่อจะไม่ได้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นซ้ำรอบกับคนอื่นในอนาคต

                ทั้งนี้จากอุบัติเหตุครั้งนี้ มีรายงานว่า พ่อของ Kwon อายุ 65 ปี ได้รับบาดเจ็บกระดูกซี่โครงหักและนิ้วแตก ส่วน แม่ของเขาอายุ 63 ปี ที่นั่งทางฝั่งผู้โดยสารต้องเข้ารับการผ่าตัดเร่งด่วนหลังพบมีเลือดตกใน และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรอผ่าตัดหลังอีกรอบ

                ด้าน นาย ซอน ยัง-ซัม เจ้าหน้าที่จาก Ministry of Land, Transport & Maritime Affairs ของเกาหลีใต้ เปิดเผยว่า มีคดีกว่า 80 คดี ตั้งแต่ปี 2003-2011ที่ถูกระบุว่าเกิดเหตุคันเร่งค้างและตอนนี้กำลังตรวจสอบโดยสถาบันวิจัยและทดสอบยานยนต์เกาหลี เช่นเดียวกับอุบัติเหตุในคลิปวีดีโอและมีอีก 4 ราย ที่ถูกระบุว่าเป็นคันเร่งค้างเช่นกัน

                อย่างไรก็ดีมีการเปิดเผยว่าหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของเกาหลีระบุว่า พวกเขาได้รับรายงานเรื่องคันเร่งค้างเช่นกันแต่มีกว่า 1000 ราย ตั้งแต่ปี 2006 ที่ผ่านมา

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook