"รถไฟฟ้า" โดนจวกยับ ปล่อยมลภาวะ 2 เท่า
กำลังเป็นประเด็นที่เรียกว่าเป็นเทรนด์ร้อนของวงการยานยนต์ในปัจจุบันในต่างประเทศ กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าต่างๆมากมาย ที่หลายรุ่นก็อาจจะโผล่มาให้เห็นกันบ้างแล้วในประเทศไทย หากแต่การจะได้มาซึ่งรถไฟฟ้านั้น อาจจะไม่ง่ายอย่างที่คิดและคำว่า "รักษ์โลก" อาจจะเป็นเรื่องที่เพียงเพ้อฝั่นเท่านั้น
ทางออกของปัญหาด้วยการให้รถยนต์ขับเคลื่อนด้วยระบบพลังงานไฟฟ้ากลายเป็นเรื่องที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนาน แต่ไม่มีครั้งไหนรุนแรง เท่าล่าสุดที่มีการออกมาเปิดเผยว่ารถยนต์ไฟฟ้าอาจจะเป็นฆาตกรสิ่งแวดล้อมที่หนักกว่ารถยนต์ในปัจจุบันก็เป็นไปได้
เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดอะ นอร์เวย์ ได้ออกมาแสดงความหวั่นวิตกถึงผลกระทบของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อการจำหน่ายอย่างเป็นทางการ และมันอาจจะไม่ได้ดีอย่างคิดกันมากนัก เมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ อาจจะสามารถปล่อยมลภาวะต่อดลกถึง 2 เท่า เมื่อเทียบกับรถยนต์ทั่วไป
ศาสตราจารย์ แอนเดอร์ แฮมเมอร์ สตอร์มแมน ผู้ร่วมทำการศึกษาวิจัยและรายงานผลการศึกษาในรายงานที่ตีพัมิพ์ลงวารสาร Journal of Industrial Ecology กล่าวถึงผลกระทบดังกล่าวว่า ภาวะโลกร้อนอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปัจจุบัน หากรถไฟฟ้าถูกผลิตวางจำหน่ายอย่างจริงจัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นขั้นตอนที่มาจากกระบวนการผลิตของรถไฟฟ้าที่เป็นอันตรายอย่างมากในสิ่งแวดล้อม
"จากการวิเคราะห์เราพบว่ามีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้รถไฟฟ้าเป็นมลภาวะ โดยเฉพาะขั้นตอนการผลิตรถยนต์ ซึ่งเชื่อมโยงถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่นก่อให้เกิดการเกิดฝนกรด การมีอนุภาคเจือปนในอากาศทำให้เกิดหมอกพิษหรือ Smog ที่อาจจะทำให้เกิดพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์สันดาบภายในรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันแล้ว ถือว่าเสมอกันหรืออาจจะแย่กว่าด้วยซ้ำ แถมเครื่องยนต์บางรุ่นยังมีความสามารถในการทำให้รถยนต์ลดมลภาวะเป็นศูนย์ในบางจังหวะได้อีกด้วย"
ศาสตรจารย์ทางด้านสิ่งแวดล้อมคนเดียวกันนี้ยังกล่าวต่อไปอีกว่า แบตเตอร์รี่และมอเตอร์ไฟฟ้าถือเป็นส่วนสำคัญที่ก่อมลพิษ เนื่องจากประกอบไปด้วยธาตุต่างมากมายก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง และนิคเคิล ซึ่งมันทำลายสิ่งแวดล้อมไปพอสมควรแล้วกว่าที่มันจะได้วิ่งบนถนน
นอกจากนี้แหล่งพลังงานที่จะมาใช้ในรถไฟฟ้าก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ในบางพื้นที่ซึ่งไฟฟ้าผลิตจากแหล่งพลังงานที่มีมลภาวะต่ำมันก็จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นและทำให้แนวคิดเรื่องการปลอดไอเสียที่ปลายท่อได้ผล แต่กลับกันในบางภูมิภาคที่ไฟฟ้าทำมาจากแหล่งพลังงานสารอินทรีย์ เช่นน้ำมันหรือถ่านหินมันก็ไม่ได้ช่วยให้ลดมลภาวะและอาจจะทำให้เป็นปัญหาเพิ่มมากยิ่งขึ้นด้วย
แม้ฟังดูรถไฟฟ้าอาจจะเป็นอสูรร้ายหน้าวานในคราบเรือนร่างที่ถูกโอบอ้อมให้มันดูสีเขียวจากคำกล่าวของค่ายรถยนต์ แต่ก็เป็นที่น่าสนใจ เมื่อในรายงานเดียวกันระบุว่า การที่ยุโรปใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและมีการสนับสนุนมากยิ่งขึ้นตามลำดับนั้นก็ช่วยสามารถลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกในภูมิภาคไปได้ถึง 10-24 % เมื่อเทียบกับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินทั่วไป
โดยปัญหาของรถไฟฟ้าอยู่ที่อายุการใช้งานของมัน ที่ต้องพึ่งกับอายุของแบตเตอร์รี่ และไม่เพียงแค่นั้นมันยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงมากเมื่อจำเป็นต้องเปลี่ยน ซึ่งหากสมมุติให้รถไฟฟ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 200,000 กิโลเมตร มันจะมีความสามารถในการลดภาวะโลกร้อนได้ 27-29% เมื่อเทียบกับรถเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล หากแต่เมื่อทอนอายุมันเหลือเพียง 100,000 ก.ม. มันแทบจะให้ผลที่ไม่ต่างจากรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลในปัจจุบัน
ถึงรายงานนี้อาจจะดูเป็นการโจมตีเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า แต่ ศาสตรจารย์ สตอร์มแมน ก็มีคำชี้แนะว่า บางทีรถยนต์ไฟฟ้าอาจจะเป็นทางออกที่ถูกต้องแล้วเพราะปัจจุบันก็มีการพัฒนาแบตเตอร์รี่อย่างต่อเนื่อง และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น รวมถึงยังเป็นการลดการใช้น้ำมันและในอนาคตเมื่อมันพร้อมที่ทำให้เราจะเปลี่ยนจากน้ำมันไปสู่รถยนต์พลังไฟฟ้า สิ่งแวดล้อมก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน
"หากวันนี้คุณคิดจะซื้อรถไฟฟ้าเพื่อช่วยสิ่งแวดล้อม ก็ควรมองหลากปัจจัยประกอบกันด้วย เริ่มด้วยมองพลังงานที่ใช้ในประเทศของคุณก่อน จากนั้นดูถึงการรับประกันแบตเตอร์รี่ แล้วท้ายสุดก็จะพบคำตอบว่า มันคุ้มค่าหรือไม่ที่จะซื้อรถไฟฟ้ามาขับขี่ ด้วยความตระหนักในการรักษาสิ่งแวดล้อมของคุณ"
เรื่องจาก BBC และ Journal of Industrial Ecology