เรียนรู้มารยาท - เพิ่มพูน ทักษะ ...รู้ไว้ใช่ว่า เมื่อเป็น "นักขับมือใหม่"

เรียนรู้มารยาท - เพิ่มพูน ทักษะ ...รู้ไว้ใช่ว่า เมื่อเป็น "นักขับมือใหม่"

เรียนรู้มารยาท - เพิ่มพูน ทักษะ ...รู้ไว้ใช่ว่า เมื่อเป็น "นักขับมือใหม่"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

                ตั้งแต่เริ่มมีนโยบายรถคันแรก ขึ้นมา ใครหลายคนที่ไม่เคยคิดฝันจะมีรถยนต์มาก่อนคงฉุกคิดได้ ในทำนองกับที่ใครหลายคนพอจะคิดๆ ขึ้นมาว่า ทำไมเราไม่มีรถที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ในการเดินทางแทนที่จะเสี่ยงอันตรายกับรถเมล์โดยสารที่ขับฉวัดเฉวียนไปมา หรือทนนั่งรถตู้ปลากกระป๋อง ที่มีบริการมากมาย และ ยังอาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติ เหมือนที่เคยเป็นข่าวดังมากมายมาแล้ว

                การออกรถใหม่ คือทางออกของคนที่รักตัวกลัวตายพูดไปก็อาจจะไม่เกินจากความเป็นจริง นัก เมื่อคนเรามีความสามารถในการหารายได้เพิ่ม การจ่ายเงินซื้อความสะดวกสบายเองก็เป็นเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องผิด แต่ด้วยนโยบายของภาครัฐที่ส่งเสริมให้คนมีรถ แบบเป็นบ้าเป็นหลังอาจจะทำให้ถนนเมืองไทยอันตรายกว่าที่คิดสำหรับการเป็นสนามของมือใหม่หัดขับ

                เรื่องหนึ่งที่ไม่สามารถปฏิเสธได้ของมือใหม่หัดขับก็คงไม่พ้นในเรื่องของประสบการณ์ในการขับขี่ ที่เมื่อคุณผ่านจากโรงเรียนฝึกสอนขับรถ สอบใบขับขี่จากกรมการขนส่งทางบกได้ เรื่องมันกลับไม่ได้จบแค่นั้น เพราะ ทั้ง 2  ด่านอรหันตืที่ฝ่ามาน้า อาจจะเรียกว่า เป็นเพียงบททดสอบสำหรับการเริ่มต้นการขับขี่เท่านั้น

                โลกกว้างของสังคมถนนถือเป็นที่ ซึ่งอันตรายอย่างมาก และอาจจะมากกว่าที่คิด เมื่อถนนเป็นสุดแสนอันตราย ด้วยข้อเท็จจริง เรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จำนวนรถยนต์ที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้สังคมการจราจรในไทย ทั้งติดหนึบหนับจนก้าวเป็นที่ 1  ของโลกไปแล้ว และด้วยสภาพการจราจรที่ไม่สู้ดีนี่เอง ทำให้ถนน กลายเป็นสั่งสมของความเครียด และ ถูกแสดงออกมาภายใต้ความไร้ระเบียบ ซึ่งผิดกับสิ่งที่มือใหม่ถูกสั่งสมมา ที่โดยมากจะเริ่มต้นให้เคารพกฎจราจร

                อย่าเข้าใจผิด สิ่งที่จะพูดต่อไปนี้ไม่ได้หมายความว่า ให้เกิดการไร้ระเบียบตามอย่าง แต่เมื่อ "มือใหม่" อ่อน ประสบการณ์ มันก็เป็นเรื่องที่อันตรายไปในทันที ด้วยข้อเท็จจริง ที่สามารถเห็นได้บนถนน มากมายจากการ ที่รถยนต์ที่ นำ สติกเกอร์ หรือ ป้าย ที่เขียนว่า "มือใหม่..หัดขับ" มาติดเพื่อตั้งสเตตัส ประมาณ ว่า จงโปรดให้อภัย กลับกลายเป็นรถที่สร้างความโกลาหล บนถนน ได้มากพอสมควร แม้อาจจะไม่ใช่ในแง่ของการทำผิดกฎจราจร แต่การไม่รู้ซึ่งมารยาทการใช้ถนน ซึ่งไม่มีที่ไหนสั่งสอน อย่าเป็นจริงจัง นอกจากรับรองว่า เรียนแล้วได้ใบขับขี่แน่นอน  กลายเป็นเรื่อง ที่มือใหม่ต้อการ และทั้งหมดนั้นมันก็มาจาการฝึกประสบการณ์จากการขับขี่เรื่อยไป

 

ขับได้ กับ ขับเป็น มันไม่เหมือนกัน

                แม้การสอบใบขับขี่ขี่ผ่าน จากกรมกาขนส่ง อาจจะระบุว่า  คุณคือผู้ผ่านการทดสอบความสามารถ และอนุญาตให้สามารถขับขี่รถยนต์ได้ แต่มีคำถามหนึ่งที่หลายคนมักไม่เคยคิดมาก่อนคือ "ขับรถได้" กับ "ขับรถเป็น" มันต่างกันอย่างไร

                หลายคนคงคิดว่าการขับรถ มันจะยากอะไร เพรา ฟังๆ ดู มันก็ไม่ได้ต่างกัน อย่างที่เข้าใจกันมากมายนัก แต่หากอธิบายกันตามความจริง สิ่งที่ดูเหมือนคล้ายหันอาจจะแตกต่างมากมที่คิด เพราะ คนขับรถได้คือคนที่ได้รับอนุญาตให้สามารถใช้รถใช้ถนนได้ แต่อาจจะไม่ได้เป็นคนที่มีทักษะการขับขี่มากนัก อาจจะด้วยการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในรถยนต์ปัจจุบัน ทำรถทุกวันนี้ แทบจะสามารถบอกได้ว่า แค่เพียงรู้สิ่งที่ต้องทำ ที่เหลือรถจะช่วยคุณแทบทั้งสิ้น

                กลับกัน คนขับเป็น ก็เป็นคนขับรถยนต์ได้เช่นกัน แต่ข้อแตกต่างของคนทั้ง 2 ประเภทนี้ คือการที่คนขับเป็นจะรู้กฎ ระเบียบ และรู้ว่าเมื่อไรที่ควรจะเร็ว เมื่อที่ควรจะระแวดระวัง ซึ่งนี่ยังรวมถึงการมีทักษะการขับขี่ที่ถูกต้องไม่ใช่เพียงรู้ไว้ใช่ว่า 5 ท่ากับการสอบกรมขนส่งทางบกเท่านั้น

ทักษะการขับขี่เรื่องสำคัญ ในการขับรถ

                ทีผ่านมา แม้จะไม่ได้เป็นที่กว้างขวางมากมายนัก แต่ความปลอดภัยบนท้องถนน ก็เป็นเรื่องสำคัญ และการเรียนจาก้โรงเรียนสอนขับรถที่อาจจะสามารถพอคุณเข้าไปเอาใบขับขี่ง่ายๆ อาจจะเป็นเพียงโรงเรียยน ที่บอกว่าควรทำอย่างไร ดูแล้วก็ไม่ต่างจากโรงเรียนติวเตอร์ หากเปรียบเทียบกัน จนจริงๆ แต่สิ่งที่ต้องมองให้ลึกกว่านั้น ถึงเรื่องการขับรถ ก็คงไม่พ้นในส่วนของทักษะการขับขี่

                แม้ส่วนหนึ่งเวลาจะช่วยเพิ่มพูทักษะในการขับรถมากขึ้น แต่อีกนัยหนึ่งมันก้มีทางลัดที่สามารถช่วยให้อยุ่รอดปลอดภัยในถนนมากขึ้น การอบรมการฝึกทักษะการขับขี่ เป็นเรื่องที่มีมานานสักพักหนึ่งแล้ว ด้วยเหตุผลที่ว่า ความปลอดภัยในถนน ที่นับวันลดน้อยลงทุกวัน และหลายค่ายรถยนต์ตระหนักถึงเรื่องนี้ เช่น  Ford  มีโครงการ  Driving Skills For Life  ที่ได้รับการยอมรับทั่วดลกด้วยหลักสูตรจากทางสหรัฐอเมริกา แต่ก็ยังไม่มีใครให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ แม้จะดำเนินโครงการนี้มา 5 ปีเต็ม ทั้งร่วมมือกับ จส.100 แต่ก็ยังมีผู้เข้าร่วมไม่ได้มามายนัก อย่างที่คิดเฉลี่ยเพียปีละ หรือ จะเป็นโครงการ Honda Save & Safe  ที่เน้นการขับขี่ปลอดภัยเช่นกัน แต่ก็จำกัดอยู่ในผู้ใช้รถยนต์ในแบรนด์ ฮอนด้าเท่านั้น

                การให้ความสำคัญที่น้อยต่อการฝึกทักษะในการขับขี่ ถือเป็นอีกหนึ่งประเด้นใหญ่ที่สำคัญไม่แพ้กัน ยิ่งเมื่อมองภาพรวมของรถยนต์ที่เน้นไปที่การให้ความสำคัญในการใช้รถใช้ถนน เพราะ ทุกปี อย่สงน้อยๆ ก็ในช่วงเทศกาลสำคัญ ต้องเป็น 7 วันอันตราย ทั้งที่ผ่านมาหลายปีแล้ว เรื่องนี้ก็ไม่สามารถแก้ คำถามคือทำไมแก้ให้ตรงปัญหา ซึ่งก้คือการเพิ่มพูนทักษะเพื่อให้พร้อมต่อการขับขี่ ไม่ใช่เพียงนำวีดีโอมาเปิดหรือเข้าอบรม แล้วจะหวังให้ "มือใหม่" เข้าใจ แต่ต้องทำให้เกิดความคุ้นชิน ซึ่ง อาจจะเป็นประเด็นที่ต้องจริงจังมากกว่า

 

ได้เวลาหรือยังที่จะปรับปรุงการออกใบอนุญาต

                ในปัจจุบัน การเรียนขับรถยนต์ไม่ใช่เรื่องยาก และแม้การสอบอาจจะฟังดูแล้วยากกว่า แต่ข้อเท็จจริง ของการมีใบขับขี่ ก็ไม่พ้นการที่เรานึกถึงโรงเรียนสอนขับรถ ไปเสียงเงินชั่วโมงเรียน ขับอีกราวๆ 8-10 ชั่วโมง จากนั้น ติวข้อสอบแล้วไปกรมขนส่งทางบางในพื้นที่ หรือไม่ในอีกแง่ แอบเอารถไปขับ หรือ พ่อแม่หัดให้สอนให้ แล้ว ก็เรียนรู้กฎจราจร เสร็จก็ไปสอบเช่นกัน

                อาจจะดูแล้วเป็นเรื่องที่แตกต่าง แต่ก็ต้องยอมรับว่านี่คือข้อเท็จจริงในประเทศไทย ที่บ้านเป็นแบบนี้เมื่อคิดถึงอยากจะขับรถ แม้จะมีโรงเรียนที่มุ่งเน้นในการฝึกทักษะขับขี่เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่ท้ายุด มันก็ยังไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ทุกอย่างที่พร่ำสอนมาก็มาจบที่การสอบ 5 ท่า ของกรมการขนส่ง ซึ่งปัจจุบัน มีเดินหน้า - ถอยหลัง - จอด เข้าซอง -รู้กฎจราจร และ จบที่การถอยชิดขอบทาง

                เคยคิดไหมว่า การสอบใบขับขี่ อาจจะต้องการอะไรมากกว่านั้น แน่นอน สำหรับมือใหม่ที่กลัวการขับขี่ มันเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรในการที่ เอาตัวรอดจาก 5 ด่านอรหันต์ แต่เรื่องหนึ่งที่ต้องยอดมรับว่า กรมการขนส่งทางบกบ้านเราอาจจะมองข้ามจริงๆ สำหรับการสอบใบขับขี่ คือการอบกรมมารยาม รวมถึงการประเมินภาวะในการขับขี่จริง ซึ่งในหลายประเทศทางยุโรปและอเมริกา มีขั้นตอนนี้และเป็นเรื่องที่สำคัญ

                ตัวอย่างที่สำคัญในสหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจาก "Wikipedia") คือการฝึกทักษะการขับขี่ที่ยาวนานอย่างน้อย 2 ปี ก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตจริง แม้แต่ละรัฐจะมีกฎระเบียบที่ต่างกันออกไป แต่เรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ คือการที่อนุญาตให้มีใบขบขี่ประเภท เรียนรู้ ตั้งแต่ วัย 15 ปี และ เมื่อ ยางเข้าวัย 16 ปี ก็จะมีใบขับขี่เป็นของตัวเอง แต่จะเป็นใบขับขี่ประเภท จำกัดขอบเขต เช่นห้ามขับกลางคืน หรือต้องมีผู้ใหญ่ไปด้วย และ มีเส้นทางชัดเจน อาทิ จากบ้านไปโรงเรียนหรือ มหาวิทยาลัย เท่านั้น  จนกว่า อายุ18 ปี หรือ บางรัฐก็มากถึง 21 ปี จึงจะมีใบขับขี่เป็นของตัวเอง

                ข้อหนึ่งที่เด่นชัด หากดูจากตัวอย่างที่อเมริกามาเป็นบทเรียนก็คือ การขับรถไม่ใช่เพียงเรียน 8-10 ชั่วโมง แล้วไปสอบ จะเป็นคนขับรถที่ดี หากแต่ต้องมีการเรียนรู้ในเรื่องมารยาทการขับขี่ และต้องลองฝึกขับอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ เพราะไม่ใช่แค่คิดว่าได้ใบอนุญาต ก็จบกันที่เหลือหาเอาเอง

 

            แม้รัฐอาจจะยังไม่ใส่เรื่องการขับขี่รถยนต์ของภาคประชาชนมากมายนัก  และการขับรถยนต์ทุกวันนี้ก้เต็มไปด้วยอันตรายอาจจะด้วยจาก "มือใหม่" มากมายเต็มถนนหนทาง  จากโครงการรถคันแรก แต่วันนี้ ถ้าท่านใดที่เป็นมือใหม่หัดขับหากมีโอกาส อาจจะเริ่มต้นจากการฝึกทักษะการขับขี่เพิ่มเติมจากโครงการฝึกอบรมต่าง และที่สำคัญ มี "สติ" ทุกครั้งในการขับขี่ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพึงระลึกไว้เสมอ  

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook