Toyota ตกลงใจยอมความจ่าย 1.4 พันล้านดอลล่าร์เซ่นกรณีคันเร่งค้าง
ในที่สุดมหากากาพย์คันเร่งค้างดูเหมือนจะถึงจุดจบหลัง Toyota ตกลงใจยอมความชำระเงินมูลค่ากว่า 1.4 พันล้านดอลล่าร์ สหรัฐ จ่ายตรงรัฐและเจ้าของรถ
หลังเป็นเหตุสืบเนื่องยาวนานมาเกือบ 10 ปี ในกรณีคันเร่งค้างของรถยนต์ Toyota และกลายเป็นที่โจษจันถึงคุณภาพรถยนต์ที่ใช้กันอยู่บนถนนนั้น ล่าสุดดูเหมือนว่าทั้งหมดนี้จะเป็นการปิดฉากลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธที่ผ่านมา หลังค่ายรถยนต์ Toyota ตกลงยอมความในกรณีที่ถูกฟ้องในการเรื่องดังกล่าว โดย ทนายความของบริษัทเปิดเผยว่า ทางบริษัทตกลงที่จะยอมความในกรณีนี้และจะมีค่าใช้จ่ายมากถึง 1.2-1.4 พันล้านดอลล่าร์ ซึ่ง เงินจำนวนดังกล่าวนี้ถูกใช้ไปกับการติดตั้งระบบตรวจจับสัญญาณคันเร่งและเบรกไฟฟ้า หากทำงานพร้อมกันระบบจะตรวจจับและทำการตัดการทำงานของระบบเร่งทันที
นอกจากนี้ทางบริษัทยังจะยืดระยะเวลารับประกันออกไปอีก 150,000 ไมล์ ในรถยนต์กว่า 16.3 ล้านคัน รวมถึงยังจะแบ่งเงินจำนวนหนึ่งชดใช้ค่าเสียหายให้กับเจ้าของรถหรืออดีตเจ้าของรถที่เข้าข่ายมีปัญหาดังกล่าว
นาย คริสโตเฟอร์ เรย์โนล์ด รองประธานกลุ่มและที่ปรึกษาทั่วไป Toyota Motor Sales U.S.A. และหัวหน้าสำนักงานกฎหมายของ Toyota ภูมิภาคอเมริกาเหนือ กล่าวเปิดเผยว่า ข้อตกลงนี้เป็นก้าวที่สำคัญของบริษัท นี่ทำให้เรามุ่งมั่นที่จะทุ่มเทแรงกายแรงใจ เวลา และทรัพยากรของบริษัท ในการที่จะสร้างสรรค์รถยนต์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าของเรา และ จะทำตามทุกสิ่งที่พวกเขาต้องการ
สำหรับมหากาพย์คันเร่งค้างของ Toyota เป็นกรณีความเสื่อมของมาตรฐานยานยนต์ที่สำคัญ เมื่อมีการร้องเรียนถึงในกรณีดังกล่าวกว่า 3,100 กรณี แก่สำนักงานอุบัติภัยทางหลวงสหรัฐ และมีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตจากกรณีดังกล่าวกว่า 93 ราย โดยจำนวนนี้ 5 ราย ได้รับการสืบสวนจากสำนักงานและระบุว่า มีต้นเหตุจากกรณีดังกล่าว
สาเหตุคันเร่งค้างนั้นมีการพูดถึงเรื่อยมาและในปี 2009 กรณีดังกล่าวก็เป็นที่ถูกถึงในพาดหัวข่าวและออกสู่สาธารณะ เมื่อรถยนต์ Lexus ES เกิดอุบัติเหตุ เป็นเหตุให้ผู้ขับขี่ขี่พร้อมผู้โดยสาร 3 คนเสียชีวิตโดยทันที แต่ภายหลังจากการสืบสวนทางโตโยต้าได้ระบุว่าเป็นที่พรมพื้นรถ จนนำมาสู่การเรียกคืนครั้งใหญ่ที่สุดกว่า 7.1 ล้านคันในตลาดอเมริกา และ 5.3 ล้านคันในตลาดอื่นๆทั่วโลก แต่การเรียกคืนดังกล่าวก็ไม่ประสบผลสำเร็จจน Toyota ถูกปรับเป็นเงินกว่า 70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งภายหลังสภาคองเกรสเข้ามาสอบสวนพร้อมกับซีอีโอของ Toyota นาย อากิโอะ โตโยดะ เข้าให้การ แต่ก็มีสำนักข่าวขุดคุ้ยว่า บริษัททราบเรื่องกรณีนี้ดีอยู่แล้วตั้งแต่เริ่มนำรถออกวางจำหน่าย
อย่างไรก็ดีในกรณีดังกล่าวไม่ได้มีการเปิดเผยว่าจะมีการชดใช้ค่าเสียหายให้กับในส่วนอื่นๆของโลกหรือไม่ รวมถึงจะมีการจัดการอย่างไรในตลาดอื่นๆ