จำให้ดี! ขับรถลงเขาอย่าเน้น "เบรก" แต่ต้องเน้น "เกียร์"

จำให้ดี! ขับรถลงเขาอย่าเน้น "เบรก" แต่ต้องเน้น "เกียร์"

จำให้ดี! ขับรถลงเขาอย่าเน้น "เบรก" แต่ต้องเน้น "เกียร์"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ช่วงเทศกาลในฤดูหนาวแบบนี้ หลายคนคงอยากขึ้นไปสัมผัสอากาศเย็นบนเขาสูง ซึ่งวิธีเดินทางหนึ่งที่สะดวกและปลอดภัยก็คือการขับรถขึ้นไปเอง แต่รู้ไหมว่าการขับรถลงเขามันช่างอันตรายยิ่งนัก ไม่เว้นแม้กระทั่งรถใหม่!

     การขับรถลงเขาลาดชัน ต่างจากการขับรถขึ้นเขาโดยสิ้นเชิง เพราะรถจะไหลลงมาเร็วชนิดที่ไม่ต้องเหยียบคันเร่ง หลายคนจึงใช้วิธีเหยียบเบรกเพื่อประคองความเร็วให้ช้าสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นวิธีที่ 'ผิด' และ 'อันตราย' เป็นอย่างมาก เพราะระบบเบรกจะมีการเสียดสีจนเกินความร้อนสะสมมาก ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า 'เบรกเฟด' ซึ่งว่าง่ายๆ ก็คือ เบรกไม่อยู่ เหยียบหนักแค่ไหนรถก็ไม่ชะลอความเร็ว จนทำให้เกิดอุบัติเหตุมานักต่อนักแล้ว

     ดังนั้น การขับรถลงเขาจะต้องมีตัวช่วยอีกอย่างเพื่อให้ไม่เบรกทำงานหนักจนเกินไป นั่นคือ 'เกียร์' ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งเกียร์อัตโนมัติและเกียร์ธรรมดา รวมถึงเกียร์แบบซีวีทีด้วย

100

     เมื่อต้องขับรถลงเขาหรือทางชันเป็นระยะเวลานานๆ ให้เปลี่ยนจากตำแหน่งเกียร์ 'D' ไปเป็นเกียร์ '2' หรือหากรถยังไม่มีแรงหน่วงพอ ก็ให้เลื่อนมาเป็นตำแหน่ง '1' หรือ 'L' รอบเครื่องยนต์จะพุ่งขึ้นสูง พร้อมกับมีแรงหน่วงช่วยไม่ให้รถไหลด้วยความเร็วมากจนเกินไป ถึงแม้ว่าเครื่องยนต์จะหมุนด้วยความเร็วสูง แต่ระหว่างนี้หัวฉีดจะไม่มีการจ่ายน้ำมัน จึงไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้รถกินน้ำมันมากกว่าปกติ

     หากเป็นเกียร์อัตโนมัติรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ตำแหน่ง '+' '-' ก็ให้ผลักคันเกียร์มาที่ตำแหน่ง Manual แล้วจึงผลักเกียร์ไปยัง '-' เพื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ 2 หรือ 1 ได้เช่นกัน

     ส่วนการเบรก ให้เหยียบเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ควรเหยียบแป้นเบรกตลอดเวลา เพราะจะทำให้เบรกร้อนจนเกิดอาการเฟด รวมถึงควรรักษาระยะห่างระหว่างรถคันหน้าพอประมาณ เพราะต้องใช้ระยะทางเบรกยาวกว่าทางราบปกติ

     เทคนิคนี้ถือว่าสำคัญมาก สามารถเซฟชีวิตและทรัพย์สินให้ปลอดภัยได้เป็นอย่างดี ดังนั้น อย่าลืมนำไปปรับใช้กับตัวเองกันนะครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook