กระบะดีเซลอุด 'EGR' ควันดำปี๋แล้วแรงขึ้นจริงหรือ?

กระบะดีเซลอุด 'EGR' ควันดำปี๋แล้วแรงขึ้นจริงหรือ?

กระบะดีเซลอุด 'EGR' ควันดำปี๋แล้วแรงขึ้นจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เมื่อพูดถึงรถยนต์กระบะรุ่นใหม่ที่มีมากมายในตลาดแล้วนั้น รถยนต์กลุ่มนี้ในปัจจุบันมีพัฒนาที่ก้าวล้ำไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรากำลังพูดถึงรถรุ่นใหม่ที่ตอบสนองการขับขี่ได้ดีขึ้นมากกว่าแค่ภาพเดิมที่ถูกมองว่าเป็นรถส่งของ

     กระบะรุ่นใหม่ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างต่อเนื่องนั้นจนมายืนเทียบชั้นรถนั่งหลายๆรุ่น จนได้รับความนิยมมาแต่งแรงกัน โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องยนต์ที่วิ่งได้ไม่แพ้รถเก๋ง และเมื่อพูดถึงการทำให้รถยนต์แรงขึ้นนั้น เราหลายคนต้องเคยได้ยินตัวอักษร EGR ที่ได้รับคำแนะนำว่าให้อุดมันทิ้งเสียเถิดเพื่อความสนุกในการขับขี่

     หลายคนอาจจะตัดสินใจในเรื่องการอุด EGR ที่สามารถตอบโจทย์ในความแรงโดยไม่ได้ไถ่ถามว่าตกลงมันมีความสำคัญอย่างไรบ้าง แต่แท้ที่จริงแล้ว EGR หรือ Exhaust Gas Recirculation นั้น คือวาล์วตัวหนึ่งที่ทำการดึงไอเสียจากท่อไอเสียกลับมาหมุนเวียน ในการเผาไหม้อีกรอบ ซึ่งประโยชน์หลักของมันนั้นก็เพื่อตอบสนองเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม

     เราคงต้องบอกว่า วิศวกรไม่ได้คิดเกินในส่วนนี้ขึ้นมา หากแต่ EGR นั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด โดยเฉพาะเรื่องของสิ่งแวดล้อมอย่างที่ได้กล่าวไปเช่นเดียวกับในเรื่องของการประหยัดน้ำมัน และเชื่อหรือไม่ การอุด EGR อาจจะทำให้รถคุณไม่ได้รับการประกันในเรื่องเครื่องยนต์ด้วย

102

ความเชื่อเรื่องอุด EGR

     อย่างที่เรากล่าวไปแล้วว่า EGR หรือ Exhaust Gas Recirculation นั้นคือการนำไอเสียกลับมาเผาไหม้ซึ่ง แน่นอนว่า มันก็ไม่ต่างอะไรจากการที่เอาของเสียมายัดลงไปในท้องอีกครั้ง และนั่นคือการก่อให้เกิดความเข้าใจผิดที่ว่า อุด EGR แล้วจะแรงขึ้น

     แนวคิดอุด EGR นี้มีขึ้นมาได้สักระยะหนึ่งแล้วเริ่มต้นในกลุ่มคนเล่นรถกลุ่มเล็กที่หาวิธีแรงทางลัด ด้วยการศึกษาระบบเครื่องยนต์ และเมื่อเจอ EGR ที่เป็นการนำไอเสียมาเผาไหม้นั้นอีกครั้งนั้น ก็เลยทดลองทำการอุดเพื่อตัดการทำงานในการนำไอเสียมาเผาไหม้ใหม่อีกครั้ง

     การปิดช่องทางในการนำไอเสียมาเผาไหม้ใหม่นั้นส่งผลให้อากาศที่เข้าสู่เครื่องยนต์นั้นมีแต่อากาศที่ออกมาจากเทอร์โบ ซึ่งเมื่อผ่านชุดอินเตอร์คูลเลอร์ ก็ทำให้มีความเย็นลงและเป็นอากาศที่มีการควบแน่นสูงทำให้มีการตอบสนองที่ดีจากเครื่องยนต์นั่นเอง

103

ผลดีที่มากับผลเสีย

     คำถามที่สำคัญคือ เมื่ออุด EGR แล้วจะมีผลเสียอะไรตามมาหรือไม่ คนที่อุดส่วนใหญ่ ซึ่งโดยมากเป็นผู้ใช้และศึกษาเรื่องเครื่องยนต์ในแบบรู้กันมาปากต่อปาก ทั้งจากประสบการณ์ตัวเองและประสบการณ์ช่างหรือ Guru ก็มักจะบอกว่าไม่มีอะไร ..รับรองแรง!!! แต่ในความเป็นจริงแล้ว การอุด EGR นั้นมีผลเสียเช่นกัน แลัวควรต้องพิจารณาให้ดี

     เมื่ออุด EGR สิ่งแรงที่จะเกิดขึ้นคือการเสื่อมสภาพของเครื่องยนต์ที่จะเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะการขับขี่ แต่ที่หลายคนลืมไปคือเครื่องยนต์ดีเซลนั้นปัจจุบันเป็นระบบไฟฟ้า หรือคอมมอนเรล ซึ่งใช้การตรวจจับอากาศที่ออกมาจากไอเสียคอยควบคุมสั่งการทำงานของเครื่องยนต์

     การวัดค่าอากาศนี้ระบบจะทำการประมวลผลโดยผล ECU (Electronics Control Unit) หรือ ECM (Electronic Control Management) ตามแต่รถรุ่นนั้นจะเรียก ซึ่งค่าอากาศและส่วนผสมนั้นจะถูกประมวล และในจังหวะที่เครื่องยนต์มีการปล่อยไอเสียมากวาล์ว EGR ที่อยู่ตรงท่อไอดีก็จะเปิดขึ้นเพื่อให้ไอเสียนั้นกลับมาเผาไม้อีกครั้ง เพื่อลดก๊าซไอเสียอย่างคาร์บอนมอนนอกไซด์ หรือที่เรารู้จักในฐานะ "ควันดำ" ซึ่งมีส่วนประกอบโลหะหนักในกลุ่มควันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

     ลองคิดง่ายๆ เมื่อวาล์วเปิดเครื่องยนต์ย่อมจะต้องสั่งลดการสั่งจ่ายน้ำมัน ให้ส่วนผสมบางลงเพื่อลดการเกิดแก๊ส โดยหวังว่าแก๊สไอเสียที่มีส่วนน้ำมันที่ปนอยู่ในลักษณะก๊าซที่เผาไหม้ไม่หมด นั้นมาควบรวมแล้วจุดระเบิดเผาไหม้อีกครั้งนั้นจะมา แต่เราดันไปอุดมันนั้น ผลคือส่วนผสมที่บางย่อมส่งผลในเรื่องของการจุดระเบิดที่ไม่ปกติ คือส่วนผสมบาง ซึ่งทำให้เครื่องยนต์ร้อนขึ้น เสี่ยงต่อเครื่องยนต์พังมากกว่า แต่แน่นอนย่อมมีคนต้องบอกว่ายังไม่มีใครเจอ แต่จะคิดแค่วันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้

     ประการต่อมา เมื่อระบบไอเสียมีมลพิษมาก ผลคือระบบระบายไอเสียที่ปัจจุบัน มีตัวกรองไอเสีย ซึ่งเราเรียกว่า Caterlytic Converter นั้น จะทำหน้าที่หนักขึ้นและ เมื่อมันทำงานหนักก็เสี่ยงที่จะอุดตันเร็วกว่าปกติ เมื่อเทียบกับรถที่ไม่ได้ทำการอุด EGR

     และสุดท้ายที่ลืมนึกถึงไม่ได้ คือเทอร์โบ ที่ปัจจุบันเทอร์โบแบบ Variable หรือ Geometry turbo นั้นมีการอ่านค่าไอเสียและรอบเครื่องยนต์ในการปรับความสัมพันธ์ในการทำงาน ของชุดครีบ ซึ่งทำให้เสียหายต่อแกนเทอร์โบมีความร้อนสะสมมากกว่านั่นเอง

     

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook