อย่าเมิน 6 สัญญาณเตือนของรถคู่ใจ

อย่าเมิน 6 สัญญาณเตือนของรถคู่ใจ

อย่าเมิน 6 สัญญาณเตือนของรถคู่ใจ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

เมื่อ ร่างกายเริ่มไม่สบาย จะส่งสัญญาณให้เรารู้ รถยนต์ก็เช่นกัน เมื่อเครื่องยนต์ขัดข้อง พวกมันจะส่งสัญญาณเหล่านั้นให้แก่เจ้าของผู้ขับขี่เสมอ

เมื่อร่างกายเริ่มไม่สบาย จะส่งสัญญาณบอกให้เรารู้แต่เนิ่นๆ เพื่อทำการักษา ก่อนที่ความป่วยไข้จะฉุดลากสุขภาพให้ทรุดโทรมจนยากจะเยียวยา รถยนต์ก็เช่นกัน เมื่อเครื่องยนต์ขัดข้องหรือมีปัญหา พวกมันจะส่งสัญญาณเหล่านั้นให้แก่เจ้าของผู้ขับขี่เสมอ แต่น้อยคนนักที่จะเข้าใจในภาษาที่รถกำลังสื่อสาร ด้วยความห่วงใยในสุขภาพของรถและความปลอดภัยของคุณ คนรักรถ จึงของถือวิสาสะเป็นล่ามแปลสัญญาณของรถยนต์ให้แก่ผู้อ่านทุกท่านแล้วกันนะ ครับ

 

1. เครื่องยนต์ หัวใจสำคัญของรถ หากมีอาการดังนี้

                 - เครื่องร้อนจัดเกินไป ขับไปได้ไม่เท่าไรความร้อนก็ขึ้นสูงเสียแล้ว

                 - เครื่องเย็นเกินไป แม้จะขับมาไกลพอสมควร เข็มวัดอุณหภูมิยังไม่กระดิก

                 - เครื่องยนต์มีเสียงดังผิดปกติ

          **นำเข้าตรวจสภาพที่ศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ

2. ยาง ลักษณะการสึกหรอของดอกยางบอกได้ถึงความผิดปกติ

                 - ดอกยางตรงกลางล้อสึกมากกว่าขอบ แสดงว่าเติมลมแข็งเกินไป

                 - ดอกยางขอบล้อสึกมากกว่าตรงกลาง แสดงว่าเติมลมอ่อนเกินไป

                 - ดอกยางสึกข้างใดข้างหนึ่ง แสดงว่ามุมแนวตั้งของยางไม่ตรง

                 - ดอกยางเป็นบั้งๆ แสดงว่าแนวยางไม่ขนานกับแนวเคลื่อนที่ของรถ

           **นำรถเข้าอู่เพื่อตั้งศูนย์ล้อ หรือปรับแรงดันลมยางใหม่

3. คลัตช์ เมื่อมีปัญหาจะทำให้ควบคุมเกียร์ไม่ได้ อย่างละเลยอาการเหล่านี้

                 - คลัตช์ลื่นเข้าคลัตช์ไม่สมิท หรือเหยียบแป้นคลัตช์แล้ว แต่ยังเข้าเกียร์ได้ยาก

                 - คลัตช์มีเสียงดังเมื่อเหยียบแป้นคลัตช์

                 - แป้นคลัตช์สั่นขึ้นๆ ลงๆ ขณะขับ

            **นำรถเข้าอู่ซ่อมช่วงล่าง หรือศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ

4. เกียร์ ทำหน้าที่เปลี่ยนแรงบิดของเครื่องยนต์ให้เหมาะสมกับความเร็ว ต้องดูแลให้ดี

                - มีเสียงดังทั้งในขณะอยู่ที่เกียร์ว่าง หรือเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่ง

                - เปลี่ยนเกียร์ยาก มีอาการติดขัด หรือต้องขยับอยู่นาน

                - มีเสียงดังขณะเข้าเกียร์ ทั้งๆ ที่เหยียบคลัตช์แล้ว

                - ห้องเกียร์มีน้ำหล่อลื่นไหลออกมา

            **นำรถเข้าอู่ตรวจสอบห้องเกียร์

5. พวงมาลัย หากมีปัญหาเหล่านี้จะทำให้อุปกรณ์อื่นๆ เช่น ยางเฟืองท้ายชำรุดตามไปด้วย

               - พวงมาลัยหนัก หรือต้องใช้แรงมากผิดปกติในการบังคับเลี้ยว

               - พวงมาลัยหลวมเกินไป โดยมีระยะฟรีเกิน 1 นิ้ว

               - พวงมาลัยสั่นในขณะขับ

            **นำเข้าศูนย์บริการเฉพาะยี่ห้อ

6. เบรก พบว่าผิดปกติต้องแก้ไขทันที เพราะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายที่สุด

               - เบรกลื่น หยุดรถไม่อยู่แม้จะไม่ได้ลุยน้ำ

               - เบรกแล้วรถปัดไปข้างใดข้างหนึ่ง

               - แป้นเบรกยังจมลึกลงไปทั้งๆ ที่ถอนเท้าออกมาแล้ว

               - นำรถเข้าอู่ซ่อมเบรกทันที

            **รู้และเข้าใจดังนี้แล้ว ความป่วยไข้ก็มิอาจพรากรถคู่ใจของคุณไปก่อนวัยอันควรได้แล้ว

 

ที่มา วารสารพลังไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook