แนะนำ 5 สถานที่ต่อภาษีรถยนต์โดยไม่ต้องไปขนส่งฯ

แนะนำ 5 สถานที่ต่อภาษีรถยนต์โดยไม่ต้องไปขนส่งฯ

แนะนำ 5 สถานที่ต่อภาษีรถยนต์โดยไม่ต้องไปขนส่งฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี นอกจากจะดำเนินการได้ด้วยตัวเองที่สำนักงานขนส่งแล้ว ยังสามารถต่อภาษี ณ ที่ทำการของเอกชนได้อีกหลายแห่งทั่วประเทศ รวมถึงสามารถต่อภาษีในวันเสาร์-อาทิตย์ได้อีกด้วย ซึ่งบทความนี้เรานำมารวบรวมให้ทราบกันครับ

1.สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)
5.รถแทรกเตอร์ (รย.13)
6.รถบดถนน (รย.14)
7.รถพ่วง (รย.16)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

 

2.ที่ทำการไปรษณีย์

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)
5.รถแทรกเตอร์ (รย.13)
6.รถบดถนน (รย.14)
7.รถพ่วง (รย.16)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ (ถ้ามี)
2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

 

3.ห้างสรรพสินค้า โครงการ "ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)"
**ต่อภาษีวันเสาร์-อาทิตย์ได้**

1.Big-C เวลาเปิด 09.00 - 17.00 น.
สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่และบางนา
2.เซ็นทรัล รามอินทรา เวลาเปิด 10.00 - 17.00 น.
3.พาราไดซ์ พาร์ค ถนนศรีนครินทร์ เวลาเปิด 10.00 - 17.00 น.
4.เซ็นทรัลเวิลด์ เวลาเปิด 11.00 - 18.00 น.
5.ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 15.00 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา
2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
3.หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) เฉพาะรถเก๋ง รถตู้ รถปิคอัพ และรถสองแถวที่จดทะเบียนตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
4.หนังสือรับรองการตรวจ และทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง รับชำระภาษีรถทั่วประเทศไม่ว่ารถนั้นจะจดทะเบียนไว้ที่จังหวัดใด

 

4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

หลักฐานที่ใช้

1.ใบคู่มือจดทะเบียนรถ
2.หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.
3.ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)

เงื่อนไข

1.เป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือมีภาษีค้างชำระไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
2.ยื่นขอเสียภาษีประจำปีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที

 

5.จุดบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
เวลาเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 7.30 - 15.30 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้

1.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
2.รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
3.รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
4.รถจักรยานยนต์ (รย.12)

เงื่อนไข

1.รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
2.รถจักรยานยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
3.ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการนำส่งใบเสร็จ และป้ายวงกลมทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ท่านระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน
4.ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท
5.รถที่มียอดค้างชำระเกินกำหนด 3 ปี ชำระได้ที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook