กระบะแต่งควันดำระวังให้ดี ตร.มีสิทธิ์สั่ง "ห้ามใช้รถเด็ดขาด"!

กระบะแต่งควันดำระวังให้ดี ตร.มีสิทธิ์สั่ง "ห้ามใช้รถเด็ดขาด"!

กระบะแต่งควันดำระวังให้ดี ตร.มีสิทธิ์สั่ง "ห้ามใช้รถเด็ดขาด"!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     รู้หรือไม่ว่ารถควันดำมีความผิดตามกฎหมาย นอกจากจะมีโทษปรับแล้ว อาจถูกสั่งห้ามใช้รถชั่วคราว ไปจนถึงห้ามใช้โดยเด็ดขาดได้

202

     ปัจจุบันความนิยมแต่งรถกระบะเพิ่มขึ้นสูงมาก นอกเหนือจากการตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงามแล้ว เจ้าของรถกระบะหลายคนยังนิยมปรับจูนเครื่องยนต์เพื่อให้มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นด้วย แต่หลายครั้งที่การปรับจูนดังกล่าวนำมาซึ่งปัญหาควันดำ ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมักเกิดจากการอุดระบบหมุนเวียนไอเสีย (EGR), เพิ่มแรงดันน้ำมันเชื้อเพลิง และการถอด Catalytic converter เป็นต้น

     การกระทำดังกล่าวที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษ ควันดำ ล้วนแต่เป็นการกระทำผิดกฎหมาย มีโทษปรับตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อหานำรถที่มีอุปกรณ์ส่วนควบไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษมาใช้ในทางวิ่ง มีโทษปรับสูงสุด 500 บาท ขณะที่รถบรรทุกปรับไม่เกิน 5,000 บาท

     ไม่เพียงเท่านั้น รถยนต์ที่ปล่อยควันดำเกินร้อยละ 50 ด้วยเครื่องมือวัดควันดำระบบกระดาษกรอง หรือเกินร้อยละ 45 ด้วยเครื่องมือระบบวัดความทึบแสง จะถูกติดสติ๊กเกอร์ "ห้ามใช้ชั่วคราว" เพื่อให้นำรถไปแก้ไขปรับปรุงเครื่องยนต์ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ภายใน 30 วัน หากพ้น 30 วันแล้วแต่ยังไม่มีการแก้ไขปรับปรุง จะถูกสั่ง "ห้ามใช้เด็ดขาด" โดยจะสามารถเคลื่อนย้ายรถได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เท่านั้น

203

204

     ประเภทรถยนต์ที่จะถูกห้ามใช้ตามกฎหมายหากมีควันดำเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด มีดังนี้

     1.รถยนต์ส่วนบุคคล ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลซึ่งมิได้ประกอบการขนส่งส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก เช่น รถกระบะหรือรถปิ๊กอัพ รถตู้ เป็นต้น
     2.รถยนต์สาธารณะ ได้แก่ รถยนต์รับจ้างระหว่างจังหวัด หรือรถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารไม่เกิน 7 คน หรือ รถยนต์สาธารณะอื่นนอกจากรถยนต์โดยสารประจำทาง
     3.รถยนต์บริการ ได้แก่ รถยนต์บริการธุรกิจ รถยนต์บริการทัศนาจร รถยนต์บริการให้เช่า
     4.รถพ่วง
     5.รถบดถนน
     6.รถแทรกเตอร์

     หากฝ่าฝืนนำรถที่ติดเครื่องหมายห้ามใช้มาใช้งาน จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และหากฉีก/แกะเครื่องหมาย "ห้ามใช้ชั่วคราว" หรือ "ห้ามใช้เด็ดขาด" จะมีความผิดทางอาญาด้วย

201

     นอกจากนั้น ผู้ที่ไม่หยุดรถเพื่อให้เจ้าพนักงานตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของรถยนต์ ยังมีโทษตามมาตรา 103 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook