อย่าละเลย! 10 อะไหล่รถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด

อย่าละเลย! 10 อะไหล่รถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด

อย่าละเลย! 10 อะไหล่รถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     การดูแลรักษารถยนต์ ถือเป็นสิ่งสำคัญของผู้ใช้รถ เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น และยังช่วยให้การขับขี่มีความปลอดภัยขึ้นด้วย เนื่องจากชิ้นส่วนต่างๆในรถยนต์นั้น มีการสึกหรอตามการใช้งานอยู่แล้ว จึงควรเปลี่ยนเมื่อครบอายุการใช้งานของมัน

     10 ชิ้นส่วนในรถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยที่สุด ได้แก่

1.น้ำมันเครื่อง และไส้กรองน้ำมันเครื่อง

     น้ำมันเครื่องถือเป็นปัจจัยหลักในการหล่อลื่นชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนตามกำหนดทุกครั้ง หรือหากตรวจพบว่าน้ำมันเครื่องเปลี่ยนเป็นสีดำสนิท ก็สามารถเปลี่ยนก่อนกำหนดได้เลย เพราะอาจบ่งบอกว่าน้ำมันเสื่อมสภาพแล้ว

     ระยะเวลาเปลี่ยน ทุกๆ 5,000 - 10,000 กิโลเมตร (แล้วแต่ประเภทน้ำมันเครื่อง)

 202

2. ผ้าเบรค

     ผ้าเบรคเป็นชิ้นส่วนที่ส่งผลต่อความปลอดภัยโดยตรง หากผ้าเบรคใกล้หมด จะมีเสียงดังเอี๊ยดเกิดขึ้นขณะเหยียบเบรค บ่งบอกว่าถึงเวลาเปลี่ยนได้แล้ว หากยังดึงดันที่จะใช้ต่อแล้วล่ะก็ อาจทำความเสียหายกับจานเบรคได้ ซึ่งมีราคาแพงกว่าผ้าเบรคหลายเท่าตัวเลยล่ะ

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 50,000 - 70,000 กิโลเมตร (หากใช้งานในเมืองอายุจะสั้นกว่า)

3. แบตเตอรี่

     แบตเตอรี่มีทั้งแบบแห้งและเปียก โดยแบบแห้งไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาใดๆตลอดอายุการใช้งาน แต่หากเป็นแบบเปียกนั้น จำเป็นต้องมีการเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับอยู่เสมอเพื่อให้แบตเตอรี่สามารถเก็บประจุไฟได้อย่างเต็มที่

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 2-3 ปีแล้วแต่การใช้งาน แบตเปียกควรเช็คน้ำกลั่นอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

200

4. ไส้กรองอากาศ

     เครื่องยนต์จำเป็นต้องได้รับอากาศบริสุทธิ์ในการเผาไหม้จำนวนมาก ดังนั้น ไส้กรองอากาศจึงเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการกรองสิ่งสกปรกในอากาศก่อนเข้าไปยังเครื่องยนต์ ซึ่งหากมีสิ่งสกปรกอุดตันเป็นจำนวนมากก็จะทำให้การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ กำลังเครื่องยนต์ลดลง

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 1 ปี หรือ 20,000 กิโลเมตร และเป่าทำความสะอาดทุกๆ 3,000-5,000 กิโลเมตร

5. น้ำมันเกียร์และไส้กรองน้ำมันเกียร์

     ระบบเกียร์มีชิ้นส่วนประกอบที่เป็นโลหะเข้าด้วยกันจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเกียร์อัตโนมัติแบบทั่วไป, แบบ CVT หรือแบบ Dual-clutch ซึ่งมีการเคลื่อนที่ภายในห้องเกียร์ตลอดเวลา จึงมีอัตราการสึกหรอสูง น้ำมันเกียร์เป็นสิ่งสำคัญในการลดการสึกหรอดังกล่าว ไม่ให้ระบบเกียร์กลับบ้านเก่าไปก่อนวัยอันควร หากใช้ไปนานๆจะทำให้เกิดเศษโลหะในน้ำมันเกียร์ที่เป็นอันตรายต่อระบบเกียร์ได้

     ส่วนน้ำมันเกียร์แบบ Long-life นั้น แม้ว่าผู้ผลิตจะระบุว่าสามารถใช้ได้ตลอดอายุการใช้งาน แต่ก็ควรได้รับการเปลี่ยนถ่ายบ้าง เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานระบบเกียร์

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 20,000 - 40,000 กิโลเมตรแล้วแต่รุ่นรถ

6. ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิง

     ไส้กรองน้ำมันเชื้อเพลิงพบได้ทั้งรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล โดยมีหน้าที่ดักจับสิ่งสกปรกต่างๆและน้ำ ที่มากับน้ำมันที่เราเติมตามปั๊มนั่นเอง ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานๆแล้ว จะทำให้ไส้กรองตัน จนแรงดันน้ำมันไปยังเครื่องยนต์ไม่พอ ส่งผลให้ครื่องยนต์มีอาการเร่งไม่ขึ้น กระตุก หรือสตาร์ทยากได้

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 2 ปีหรือ 40,000 กิโลเมตรแล้วแต่รุ่นรถ

203

7. หลอดไฟต่างๆ

     ควรตรวจเช็คหลอดไฟต่างๆรอบตัวรถ ไม่ว่าจะเป็น ไฟหน้า (ไฟต่ำ, ไฟสูง, ไฟหรี่), ไฟเลี้ยวทั้ง 4 มุมรวมถึงด้านข้าง, ไฟท้าย, ไฟเบรค ไฟถอยหลัง, ไฟตัดหมอก ฯลฯ ว่าติดครบทุกดวงหรือไม่ หลอดไส้แบบฮาโลเจนนั้นมีโอกาสขาดได้ง่ายกว่าแบบ Xenon และ LED มาก การขับรถผ่านทางขรุขระบ่อยๆก็อาจทำให้หลอดขาดได้ จึงควรหมั่นตรวจสอบสม่ำเสมอ

     ระยะเวลาเปลี่ยน เปลี่ยนเมื่อหลอดขาด

8. สายพานไทม์มิ่ง

     เครื่องยนต์ทั่วไป มีสายพานจำนวนหลายเส้นช่วยขับเคลื่อนเครื่องยนต์ให้สมบูรณ์ เช่น สายพานไทม์มิ่ง, สายพานคอมแอร์, สายพานเพาเวอร์, สายพานปั๊มน้ำ ฯลฯ แล้วแต่รุ่นรถ แต่หากสายพานไทม์มิ่งซึ่งเป็นสายพานหลักของเครื่องยนต์ขาดจะส่งผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างรุนแรง

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 100,000 กิโลเมตร

204

9. หัวเทียน

     หัวเทียนส่งผลต่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ หากหัวเทียนเก่าเกินไป อาจทำให้เครื่องยนต์สะดุด ทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งหัวเทียนแบบปกติมีราคาไม่แพง สามารถซื้อหามาเปลี่ยนได้ง่าย

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 40,000 กิโลเมตร

10. ใบปัดน้ำฝน

     อากาศร้อนอบอ้าวของเมืองไทย ส่งผลให้อายุการใช้งานใบปัดน้ำฝนเสื่อมสภาพเร็ว ดังนั้น หากใบปัดไม่สามารถรีดน้ำได้อย่างสมบูรณ์แล้ว จึงควรรีบเปลี่ยนทันที โดยเฉพาะเมื่อเข้าหน้าฝนแบบนี้

     ระยะเวลาเปลี่ยน ประมาณ 1 ปี

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook