เทคนิคง่ายๆ จอดรถกลางแดดไม่ให้รถร้อน

เทคนิคง่ายๆ จอดรถกลางแดดไม่ให้รถร้อน

เทคนิคง่ายๆ จอดรถกลางแดดไม่ให้รถร้อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     การจอดรถทิ้งไว้กลางแดดนอกจากจะทำให้รู้สึกร้อนจัดเมื่อกลับมาขึ้นรถ ยังอาจทำให้ชิ้นส่วนภายในห้องโดยสารประเภท พลาสติก หรือ ยาง ได้รับความเสียหายได้ Sanook! Auto จึงมีวิธีช่วยลดความร้อนจากการจอดรถไว้กลางแดดมาฝากกันครับ

ใช้ม่านบังแดดแบบพับได้

     ควรหาซื้อม่านบังแดดแบบพับได้ติดรถเอาไว้ ทางที่ดีควรเลือกชนิดทึบแสงหรือสะท้อนแสงได้ จะช่วยกันความร้อนได้ดียิ่งขึ้น วิธีนี้จะช่วยไม่ให้แสงแดดสัมผัสกับพื้นผิวคอนโซลโดยตรง ช่วยลดความร้อน และยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของชิ้นส่วนภายในรถอีกด้วย

     ส่วนรถที่มีม่านบังแดดในตัวนั้น อันนี้ไม่แนะนำเปิดเปิดม่านทิ้งไว้เมื่อจอดรถ เพราะนานๆ เข้าความร้อนจะทำให้ม่านยืดย้วย ไม่สวยงาม หากเปลี่ยนใหม่ก็มีราคาสูง ทางที่ดีควรใช้ม่านบังแดดแบบซื้อตามห้างสรรพสินค้าจะดีกว่า

 

หันท้ายรถเข้าหาแดด

     หลายคนเคยชินกับการจอดรถโดยหันท้ายเข้าช่องจอด แต่หากจำเป็นต้องจอดรถไว้กลางแดด ให้ลองหันท้ายรถเข้าหาแสงแดดแทน จะช่วยลดความร้อนให้กับพวงมาลัยและเบาะนั่งของผู้ขับขี่ได้ รวมถึงป้องกันปัญหาปุ่มลอก ละลาย หรือโดนแสงแดดเลียได้

 

วางเสื้อหรือผ้าห่มทิ้งไว้บนเบาะนั่ง

     เบาะนั่งหุ้มหนังโดยเฉพาะหนังพีวีซี จะอมความร้อนไว้สูงกว่าเบาะแบบผ้า จึงควรนำเสื้อแจ็คเก็ตหรือผ้าห่มผืนเล็กๆ มาวางทิ้งไว้บนเบาะนั่ง เนื่องจากผ้าค็อตตอนจะช่วยดูดซับความร้อนลง ทำให้เบาะนั่งไม่ร้อนจัด และไม่ต้องทนนั่งอยู่บนเบาะร้อนๆ เมื่อกลับมาขึ้นรถอีกด้วย

     นอกจากนี้ รถที่หุ้มเบาะนั่งด้วยหนังแท้ ควรหมั่นใช้ครีมบำรุงวัสดุหนังทาลงบนผิวเบาะเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ 1-2 ครั้ง จะช่วยลดโอกาสการเกิดรอยแตกลายงาได้

 

แง้มกระจกลงทั้ง 2 ข้าง

     การแง้มกระจกลงจะช่วยให้อากาศภายในรถถ่ายเท ช่วยลดความร้อนสะสมภายในรถ แต่ทางที่ดีควรลดกระจกลงไม่เกิน 1-2 นิ้ว ทั้งข้างซ้ายและขวา จะช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดียิ่งขึ้น แต่หากฝนตกใกล้ตกก็อย่าลืมรีบปิดด้วยล่ะ!

 

เปิดกระจกระบายอากาศ

     เมื่อกลับมาขึ้นรถ วิธีที่จะช่วยระบายความร้อนภายในรถได้ดีที่สุด ก็คือการเปิดประตูทั้ง 4 บาน จะทำให้ความร้อนสะสมถ่ายเทออกไปอย่างรวดเร็ว หากไม่สะดวกก็เพียงแต่ลดกระจกลงสุดทั้ง 4 บานก็ได้ วิธีนี้จะช่วยให้รถเย็นเร็วขึ้น และลดภาระการทำงานของระบบปรับอากาศได้อีกทางด้วย

     รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมนำไปลองกันดูนะครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook