ผ่อนรถต่อไม่ไหว ส่งรถคืนไฟแนนซ์ได้หรือไม่?

ผ่อนรถต่อไม่ไหว ส่งรถคืนไฟแนนซ์ได้หรือไม่?

ผ่อนรถต่อไม่ไหว ส่งรถคืนไฟแนนซ์ได้หรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     ผลจากพิษเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้หลายคนต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านการเงิน หลายครอบครัวมีรายได้ลดลง บางคนถูกบอกเลิกจ้างกะทันหัน เจอมรสุมปัญหาหนี้สินรุมเร้า โดยเฉพาะหนี้รถยนต์ที่ต้องชำระตรงเวลาทุกเดือน

     ปัจจุบันมีหลายสถาบันการเงินที่มีนโยบายเยียวยาผู้เช่าซื้อรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ก็ยังอาจไม่เพียงพอสำหรับใครหลายคน คำถามคือ ลูกหนี้จะสามารถส่งคืนรถให้ไฟแนนซ์เพื่อปลดหนี้ได้หรือไม่?

>>รวมมาตรการแบงก์พาณิชย์-แบงก์รัฐ "รวมหนี้-ยืดเวลา-ลดค่างวด" ช่วยลูกหนี้เช่าซื้อรถ

debt_02

ผ่อนรถไม่ไหว คืนรถได้ไหม?

     ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 มีใจความกล่าวโดยสรุปว่า หากผู้เช่าซื้อประสงค์จะบอกเลิกสัญญาสามารถบอกเลิกเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ให้เช่าซื้อจะผิดสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ก็ตาม แต่ผู้เช่าซื้อจะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าซื้อให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเอง

     จะเห็นได้ว่าการคืนรถให้กับไฟแนนซ์สามารถทำได้ แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ใช่เป็นการเคลียร์หนี้สินให้กลายเป็นศูนย์แต่อย่างใด เนื่องจากไฟแนนซ์จะนำรถไปขายทอดตลาด จากนั้นจึงจะนำเงินที่ได้มาหักลบกลบหนี้ีอีกครั้งหนึ่ง หากว่ายังมียอดหนี้ที่เกินอยู่ ลูกหนี้ยังคงต้องชำระส่วนที่เหลือรวมถึงค่าปรับและค่าธรรมเนียมที่อาจเกิดขึ้นอยู่ดี (แถมยังไม่มีรถใช้อีกต่างหาก)

     จะเห็นได้ว่าการส่งคืนรถยนต์นั้น อาจส่งผลเสียแทบจะไม่ต่างอะไรไปจากการถูกปล่อยยึดเลย โดยเฉพาะกรณีที่ยังคงมียอดหนี้เหลืออยู่ค่อนข้างเยอะ การคืนรถจึงไม่ใช่ทางออกที่ดีเสมอไป แม้ว่าในทางกฎหมายจะสามารถทำได้ก็ตาม

debt_01

ถ้าไม่คืนรถ แต่ผ่อนต่อไม่ไหว ทำอย่างไรดี?

1.การปรับโครงสร้างหนี้

     ไฟแนนซ์และลีสซิ่งหลายแห่งมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกค้าที่ประสบปัญหาด้านการชำระ โดยจะมีลักษณะคล้ายกับการรีไฟแนนซ์ คือ นำยอดหนี้คงค้างที่เหลือทั้งหมดมาทำสัญญาฉบับใหม่ โดยยืดงวดชำระให้นานขึ้นเพื่อทำให้ค่างวดในแต่ละเดือนลดลง ซึ่งวิธีนี้แม้ว่าจะดูเหมือนหนีเสือปะจระเข้ เพราะต้องกลายเป็นหนี้นานขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ช่วยไม่ให้ผู้เช่าซื้อเสียเครดิต ช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ในแต่ละเดือนลง และยังมีรถไว้ใช้งานเช่นเดิม

2.เปลี่ยนสัญญาหรือขายดาวน์

     แม้ว่ารถยังคงมีภาระผูกผันกับไฟแนนซ์อยู่ แต่คุณสามารถตัดไฟแต่ต้นลมด้วยการเปลี่ยนสัญญาเพื่อให้ผู้อื่นนำไปผ่อนต่อได้ เท่ากับเป็นการขายรถแม้ว่าจะยังผ่อนไม่หมดนั่นเอง โดยหากยอดหนี้ที่เหลืออยู่ต่ำกว่าราคาตลาดในขณะนั้น ก็จะยังคงพอมีเงินดาวน์ติดปลายนวมกลับมาจากผู้ซื้อบ้าง

     แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่การเปลี่ยนสัญญาให้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนทั้งสองฝ่าย มิเช่นนั้นแล้วอาจมีโอกาสโดนเบี้ยวจ่ายค่างวดและเชิดรถหนีหายไปแบบดื้อๆ สุดท้ายแล้วคุณก็จะต้องเป็นฝ่ายชำระหนี้ที่เหลือเองทั้งหมดทั้งที่รถก็ถูกขโมยไป

     ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจส่งคืนรถยนต์ให้กับไฟแนนซ์ หรือจะยอมให้ถูกปล่อยยึด ลองปรึกษาหลายๆ ช่องทางเสียก่อน เพื่อให้เสียประโยชน์ต่อตัวเองน้อยที่สุดครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook