ทำไมเครื่องยนต์เทอร์โบยุคใหม่จึงประหยัดน้ำมันได้ดีกว่า?

ทำไมเครื่องยนต์เทอร์โบยุคใหม่จึงประหยัดน้ำมันได้ดีกว่า?

ทำไมเครื่องยนต์เทอร์โบยุคใหม่จึงประหยัดน้ำมันได้ดีกว่า?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     หากเป็นยุคสมัยเมื่อสัก 20 ปีที่แล้ว เมื่อพูดถึงคำว่า “เทอร์โบ” หลายคนจะคิดถึงรถที่มีแรงม้าสูงๆ หรือรถที่ผ่านการโมดิฟายกันแบบเต็มสูบ แลกกับอัตราการกินน้ำมันชนิดล้างผลาญ เข็มน้ำมันแทบจะกระดิกทุกครั้งที่กดคันเร่ง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ระบบเทอร์โบก็เริ่มกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง แต่คราวนี้มาอยู่ในฐานะตัวช่วยเพิ่มความประหยัดน้ำมัน แล้วคุณเคยสงสัยว่าเทอร์โบยุคใหม่ทำไมจึงกินน้ำมันน้อยลง?

     ปัจจุบันเราจะได้ยินเทคโนโลยีการลดขนาดเครื่องยนต์ หรือ Downsizing กันมากขึ้น ซึ่งก็คือการลดปริมาตรกระบอกสูบของเครื่องยนต์ลง แล้วพ่วงเทอร์โบเข้าไปแทน จะเห็นได้จากรถรุ่นใหม่ๆ เช่น Honda City ที่แต่ก่อนจะถูกติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน 1.5 ลิตร แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 1.0 ลิตรพ่วงด้วยเทอร์โบ ซึ่งให้พละกำลังเพิ่มขึ้นทั้งแรงม้าและแรงบิด แถมยังประหยัดน้ำมันมากขึ้นด้วย

Ford Fiesta Ecoboost 1.0 ลิตร Ford Fiesta Ecoboost 1.0 ลิตร

     ระบบเทอร์โบยุคก่อนจะทำหน้าที่เพิ่มแรงอัดการจุดระเบิดในช่วงรอบกลาง-สูงเท่านั้น จึงมักได้ยินคำว่า “Turbo Lag” ควบคู่กันไปเสมอ การขับเครื่องยนต์เทอร์โบให้แรงจึงต้องเค้นรอบค่อนข้างสูงตลอดเวลา สิ่งที่ตามมาก็คืออัตราสิ้นเปลืองที่เพิ่มขึ้นจากปกติ

     ขณะที่เครื่องยนต์ที่ใช้เทคโนโลยี Downsizing จะถูกลดปริมาตรกระบอกสูบหรือแม้กระทั่งลดจำนวนลูกสูบเพื่อลดอัตราสิ้นเปลืองให้ต่ำลง จากนั้นจึงใส่เทอร์โบชาร์จเจอร์ขนาดเล็กเข้าไปชดเชยพละกำลังที่ขาดหายไป ซึ่งเทอร์โบของเครื่องยนต์ประเภทนี้จะเน้นการทำงานที่รอบต่ำ-รอบกลาง ซึ่งเป็นช่วงรอบเครื่องยนต์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันทั่วไป ผลที่ได้คือพละกำลังที่เพิ่มขึ้นและอัตราสิ้นเปลืองที่ลดลง แถมยังช่วยลดการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศอีกด้วย

turbo_03

     ยกตัวอย่าง Honda Civic เจเนอเรชันที่ 10 ซึ่งใช้เครื่องยนต์เบนซิน 4 สูบ ขนาด 1.8 ลิตร กำลังสูงสุด 141 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 174 นิวตัน-เมตร แต่เมื่อเปลี่ยนผ่านมาเป็นรุ่นปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินเทอร์โบ 1.5 ลิตร กลับมีกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 178 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 240 นิวตัน-เมตร ซึ่งเทียบได้กับเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.4 - 2.5 ลิตรที่ไม่มีระบบเทอร์โบเลยทีเดียว

     อย่างไรก็ดี สิ่งหนึ่งที่หลายคนยังไม่ทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้เครื่องยนต์เทอร์โบนั้น คือความถี่ในการเข้ารับบริการเช็กระยะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วรถยนต์ทั่วไปจะเข้าเช็กระยะที่ศูนย์บริการทุก 6 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร แต่ในกรณีเครื่องยนต์เทอร์โบมักต้องเข้ารับบริการทุก 7,000 - 8,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูงกว่า แถมยังต้องเสียเวลานำรถเข้าศูนย์บริการบ่อยขึ้นด้วย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook