ขึ้นทางด่วนแล้วแต่เงินไม่พอจ่าย มีวิธีแก้อย่างไร?

ขึ้นทางด่วนแล้วแต่เงินไม่พอจ่าย มีวิธีแก้อย่างไร?

ขึ้นทางด่วนแล้วแต่เงินไม่พอจ่าย มีวิธีแก้อย่างไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เชื่อว่าหลายคนต้องเคยใช้บริการทางด่วนกันมาไม่มากก็น้อย และต้องเคยประสบพบเจอปัญหาปริมาณรถที่ไม่สัมพันธ์กับช่องเก็บเงิน (รถเยอะ แต่เปิดช่องเก็บเงินไม่กี่ช่อง) หรือช่องเก็บเงิน Easy Pass ไม่สามารถใช้งานได้

     รวมถึงปัญหาสุดฮอตอย่าง “เงินไม่พอจ่ายค่าทางด่วน” ซึ่งบางคนก็มารู้ตัวว่า เงินไม่พอ ตอนที่จอดรถอยู่ในช่องเก็บเงินเสียแล้ว เรียกว่า กลับตัวก็ไม่ได้ ให้ขับต่อไปก็ไม่ได้เช่นกัน เมื่อเป็นแบบนี้ จะแก้ไขปัญหาได้อย่างไร วันนี้ Tonkit360 มีคำตอบมาฝาก

ปัจจุบัน ประเทศไทย มีทางด่วนทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ

  • ทางด่วนที่กำกับดูแลโดยทางพิเศษแห่งประเทศไทย อาทิ ทางด่วนขั้นที่ 1 และทางด่วนขั้นที่ 2
  • ทางด่วนสัมปทาน อย่างทางยกระดับอุตราภิมุข หรือดอนเมืองโทลล์เวย์ (ปัจจุบันมีที่เดียว)
  • ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์

เมื่อขึ้นทางด่วน แล้วเงินไม่พอจ่ายค่าผ่านทาง

     ไม่ว่าจะเป็นการค้างชำระค่าผ่านทางด่วนแบบใด สิ่งที่คุณต้องรีบทำ เพื่อไม่ให้ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม มีดังนี้

     1. ขอให้คุณรีบกลับมาชำระค่าผ่านทางฯ ที่ด่านเดิมได้ ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ลืมชำระค่าผ่านทางฯ โดยติดต่อกับหัวหน้าพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่อาคารด่านนั้น ๆ พร้อมแจ้งรายละเอียด อาทิ ยี่ห้อ ทะเบียนของรถ และวันเวลาที่ลืมชำระค่าผ่านทางฯ

     2. หากลืมชำระค่าผ่านทางฯ กระทั่งมีหนังสือเตือนส่งมาที่บ้าน ขอให้คุณนำหนังสือดังกล่าวไปยื่นให้หัวหน้าพนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษที่อาคารด่าน เพื่อชำระค่าผ่านทางฯ โดยคุณสามารถเลือกชำระค่าผ่านทางฯ ที่ด่านใดก็ได้ แต่ต้องไปจ่ายภายใน 30 วัน หรือตามเวลาที่กำหนด

ถ้าไม่ยอมจ่ายค่าผ่านทางตามกำหนด จะมีโทษอย่างไร

     1. หากค้างชำระค่าผ่านทางด่วนขั้นที่ 1 หรือ 2 ซึ่งดูแลโดยทางพิเศษแห่งประเทศไทย คุณจะต้องเสียค่าปรับจำนวน 2,000 บาท ฐานหลีกเลี่ยงไม่ชำระค่าผ่านทาง ตามมาตรา 63 ของ พ.ร.บ. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2550

     2. กรณีที่ค้างชำระค่าผ่านทางที่อยู่ในการดูแลของทางด่วนสัมปทาน อย่างดอนเมืองโทลล์เวย์ ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 10 เท่า ของค่าใช้ทางนั้น ๆ ตามมาตรา 33 ของ พ.ร.บ. ทางหลวงสัมปทาน 2542

     3. สำหรับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ ต้องเสียปรับไม่เกิน 10 เท่าของค่าผ่านทาง ตามมาตรา 7 ของ พ.ร.บ. กำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนต์บนทางหลวงและสะพาน 2497

     ดังนั้น ก่อนขับรถออกจากบ้านหรือที่ทำงาน ก็อย่าลืมดูเงินในกระเป๋าของคุณว่า มีพอจ่ายค่าทางด่วนหรือไม่ คุณจะได้ไม่ต้องเสียเวลา วนรถกลับไปจ่ายค่าทางด่วนในวันหลัง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook