ถอดบทเรียน “โอนลอย” จากกรณี “หมอกระต่าย” ไม่โอนกรรมสิทธิ์บิ๊กไบค์แม้ผ่านไป 3 ปี

ถอดบทเรียน “โอนลอย” จากกรณี “หมอกระต่าย” ไม่โอนกรรมสิทธิ์บิ๊กไบค์แม้ผ่านไป 3 ปี

ถอดบทเรียน “โอนลอย” จากกรณี “หมอกระต่าย” ไม่โอนกรรมสิทธิ์บิ๊กไบค์แม้ผ่านไป 3 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     จากกรณีรถบิ๊กไบค์พุ่งชน “หมอกระต่าย” ขณะเดินข้ามทางม้าลายจนเป็นเหตุให้เสียชีวิตนั้น ยังมีข่าวเกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับผู้ถือครองกรรมสิทธิ์ของรถบิ๊กไบค์คันเกิดเหตุอีกด้วย เนื่องจากเจ้าของเก่าได้ทำการขายต่อด้วยวิธีการ “โอนลอย” มานานกว่า 3-4 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์เป็นชื่อเจ้าของใหม่ จนทำให้เจ้าของเก่าได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ดังกล่าวในที่สุด

การโอนลอยคืออะไร?

     การโอนลอย คือ การที่ผู้ซื้อและผู้ขายทำการลงนามในสัญญาซื้อขาย พร้อมทั้งมอบเอกสารที่จำเป็นทั้งหมดให้แก่ผู้ซื้อ (หรือพ่อค้าคนกลาง) เพื่อใช้ในการดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์จริงในภายหลัง แต่ทว่าตามกฎหมายแล้วกรรมสิทธิ์ในรถคันนั้นยังคงเป็นเจ้าของคนเดิมจนกว่าผู้ซื้อจะดำเนินการโอนเสร็จสิ้น

     ซึ่งจุดนี้เองกลายเป็นช่องโหว่ให้ผู้ซื้อสามารถนำรถไปใช้งานได้แม้ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามกฎหมายยังคงเป็นเจ้าของเดิมก็ตาม หากรถคันดังกล่าวถูกนำไปใช้กระทำการอันใดที่ขัดต่อกฎหมาย ก็อาจส่งผลให้เจ้าของเดิมเกิดความเดือดร้อนตามมา ซึ่งกรณีของ “หมอกระต่าย” ยังถือว่าโชคดีเพราะผู้ขับขี่ไม่ได้หนีไปไหน ขณะที่เจ้าของเดิมก็มีเอกสารซื้อขายยืนยันว่ารถบิ๊กไบค์คันดังกล่าวหลุดพ้นจากความครอบครองไปแล้ว แม้ว่าจะล่วงเลยมานานกว่า 3-4 ปีก็ตาม

ducati09

     โดยรถคันเกิดเหตุเป็นมอเตอร์ไซค์ Ducati Monster 795 ซึ่งเจ้าของเดิมที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน จ.เชียงราย ได้ทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนรถคันดังกล่าวกับพ่อค้ารายหนึ่งในภาคอีสานไปเมื่อกว่า 3-4 ปีที่แล้ว โดยได้นำเอารถมอเตอร์ไซค์ Honda CBR 1000 มาแลกเปลี่ยนกับรถคันเกิดเหตุ พร้อมทั้งจัดทำเอกสารโอนลอยในวันเดียวกัน ก่อนที่จะเกิดเหตุสลดจนทำให้เจ้าของเดิมต้องโร่เข้าแจ้งความว่าได้มีการซื้อขายและส่งมอบรถไปแล้ว

     ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่ถูกต้องควรดำเนินการให้เสร็จสิ้นตามขั้นตอนของกรมการขนส่งทางบก โดยผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องนัดวัน-เวลาที่เหมาะสมเพื่อเข้าไปดำเนินการยังสำนักงานขนส่งให้เรียบร้อย จึงจะถือเป็นการโอนที่สมบูรณ์และปลอดภัยทั้งฝั่งผู้ขายและผู้ซื้อ

     ส่วนกรณีมีการซื้อขายผ่านเต๊นท์รถหรือพ่อค้าคนกลาง หากมีความจำเป็นจะต้องโอนลอยจริงๆ ผู้ขายควรหมั่นสอบถามถึงความคืบหน้าในการโอนกรรมสิทธิ์กับทางเต๊นท์รถหรือผู้ซื้อเป็นระยะๆ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงถูกนำรถไปใช้งานโดยไม่โอนได้ครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook