สิ่งที่ต้องรู้ให้ทัน เมื่อคิดจะเปลี่ยนประกันภัยรถยนต์

สิ่งที่ต้องรู้ให้ทัน เมื่อคิดจะเปลี่ยนประกันภัยรถยนต์

สิ่งที่ต้องรู้ให้ทัน เมื่อคิดจะเปลี่ยนประกันภัยรถยนต์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เคยรู้สึกกันบ้างหรือเปล่าว่าประกันรถยนต์ที่ได้มาตอนถอยรถใหม่ป้ายแดงไม่ค่อยจะโดนใจคนใช้รถกันสักเท่าไร เพราะเป็นออปชันเสริมที่แถมมากับการซื้อรถ เวลาจะเคลมแต่ละครั้งก็มักเจอปัญหาชวนให้หงุดหงิดใจอยู่บ่อย ๆ หรือบางคนเพิ่งเคลมรอบคันไปหมาด ๆ เลยกลัวว่าเบี้ยประกันในปีถัดไปจะเพิ่มขึ้น จึงอยากเปลี่ยนเจ้าใหม่ไปเสียเลย จะได้ไม่ต้องเสียเบี้ยประกันแพง ๆ

     หลากหลายปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใช้รถ ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับการเลือกประกันภัยรถยนต์ หากคิดจะเปลี่ยนบริษัทใหม่ก็ต้องเลือกให้คุ้มค่า และเหมาะกับการใช้งานของตนเองกันด้วยเพื่อจะได้ไม่สิ้นเปลืองเงินโดยใช่เหตุ และนี่คือหลักเกณฑ์ที่ควรพิจารณาเวลาซื้อประกันภัยรถยนต์ในแต่ละครั้ง

เลือกบริษัทที่น่าเชื่อถือ มีประวัติดี

     ก่อนจะเลือกประกันรถที่เหมาะกับรถของตนเอง ควรจะศึกษาหาข้อมูลก่อนว่าบริษัทที่จะใช้บริการนั้นมีชื่อเสียง มีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด มีประวัติดีในการเคลมประกันจากผู้ใช้จริงหรือไม่ เนื่องจากปัจจุบันมีบริษัทที่ทำประกันรถอยู่มากมาย และมีการแข่งขันเรื่องราคากันสูงมาก

     ดังนั้น จึงควรเลือกบริษัทประกันภัยที่มีชื่อเสียงเรื่องการบริการ มีศูนย์ Call Center ที่สามารถแจ้งเหตุด่วนได้ เมื่อเกิดเหตุจำเป็นต้องเคลมประกัน สามารถมาถึงจุดเกิดเหตุได้ทันท่วงที และพนักงานเต็มใจให้บริการ

เลือกประกันภัยให้เหมาะกับตนเอง

     การเลือกประกันภัย นอกจากการทำ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” ที่เรียกว่า “ประกันภัยพ.ร.บ.” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว ก็ยังมี “ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ” ซึ่งเป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความพึงพอใจของผู้ใช้รถซึ่งทำด้วยความสมัครใจด้วย ได้แก่

  • ประกันภัยชั้น 1 เป็นประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณี, คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี รวมถึงคุ้มครองรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วมด้วย

     เหมาะกับใคร? – รถใหม่ป้ายแดง, ผู้ที่ขับรถยังไม่ชำนาญหรือมือใหม่เพิ่งขับรถ, ขับรถต่างจังหวัดบ่อย

  • ประกันภัยชั้น 2+ เป็นประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณี แต่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น กรณีชนแล้วหนีจะไม่สามารถเคลมได้ โดยมีความคุ้มครองรถหาย ไฟไหม้ น้ำท่วมด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย

     เหมาะกับใคร? – ขับรถชำนาญ ต้องการลดภาระเบี้ยประกัน แต่ยังต้องการความคุ้มครองใกล้เคียงประกันภัยชั้น 1

  • ประกันภัยชั้น 3+ เป็นประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณี แต่คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น กรณีชนแล้วหนีจะไม่สามารถเคลมได้ โดยมีเฉพาะความคุ้มครองน้ำท่วม ไม่รวมรถหาย ไฟไหม้

     เหมาะกับใคร? – ขับรถชำนาญ ต้องการลดภาระเบี้ยประกัน แต่ยังต้องการความคุ้มครองใกล้เคียงประกันภัยชั้น 1 ไม่มีความเสี่ยงเรื่องการโจรกรรม หรือไฟไหม้

  • ประกันภัยชั้น 2 และ 3 เป็นประกันภัยรถยนต์ที่คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น จึงต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ของตนเอง

     เหมาะกับใคร? – ขับรถชำนาญ ไม่ได้ใช้รถบ่อย ต้องการลดภาระเบี้ยประกัน

เปรียบเทียบเบี้ยประกันของแต่ละบริษัท

     หลังจากเลือกได้แล้วว่าจะใช้ประกันรถยนต์ชั้น 1, 2 หรือ 3 และมีตัวเลือกบริษัทประกันภัยที่สนใจแล้ว ให้เปรียบเทียบเบี้ยประกันของแต่ละบริษัทว่าแต่ละแห่งที่ไหนให้ราคาดีที่สุด และให้ความคุ้มครองเหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีเว็บไซต์หลายแห่งให้บริการในส่วนนี้ เพียงกรอกข้อมูลรถ รุ่นที่ใช้ ปีรถ และข้อมูลส่วนตัว (อีเมล, เบอร์โทรศัพท์) ก็สามารถเปรียบเทียบได้เลย

ระมัดระวังหากซื้อประกันผ่านโบรกเกอร์

     นายหน้าประกันรถยนต์ (โบรกเกอร์) อาจมีข้อเสนอราคาที่ถูกกว่าการซื้อผ่านตัวแทนประกัน หรือบริษัทประกันโดยตรง อีกทั้งสามารถเลือกบริษัทประกันที่ต้องการได้ และมีข้อมูลเปรียบเทียบให้

     แต่ควรตรวจสอบให้ดีว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ เพราะแม้ดำเนินการในรูปแบบบริษัท แต่บางคนอาจถูกโบรกเกอร์หาประโยชน์ส่วนตัวได้ เช่น ให้ชำระเบี้ยก่อนถึงกำหนดชำระล่วงหน้าหลายเดือน แต่ไม่ได้ไปชำระให้กับบริษัทประกันภัยจริง ๆ เป็นต้น

     หลายคนจึงตัดสินใจซื้อประกันกับบริษัทโดยตรงเพื่อแลกกับความสบายใจ ซึ่งบริษัทประกันภัยหลายแห่งมีสาขาย่อยในศูนย์การค้าต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าด้วย

เลือกแบบที่สามารถผ่อนชำระ 0% ได้

     เนื่องจากเบี้ยประกันรถยนต์ที่ชำระในแต่ละครั้งนั้นค่อนข้างสูง บริษัทประกันภัยหลายแห่ง จึงมีข้อเสนอที่สามารถผ่อนชำระแบบปลอดดอกเบี้ย หรือผ่อนชำระผ่านบัตรเครดิตแบบ 0 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 6 เดือนบ้าง 10 เดือนบ้าง ซึ่งเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของรถได้มากขึ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook