ตัวถัง "รถยุโรป" แข็งกว่า "รถญี่ปุ่น" จริงไหม?

ตัวถัง "รถยุโรป" แข็งกว่า "รถญี่ปุ่น" จริงไหม?

ตัวถัง "รถยุโรป" แข็งกว่า "รถญี่ปุ่น" จริงไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     เคยมีความเชื่อที่ว่า วัสดุโครงสร้างรถยุโรปแข็งกว่ารถญี่ปุ่น ซึ่งนั่นเป็นคำกล่าวยังไม่สามารถพิสูจน์ได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ดี Tonkit360 จะพาทุกท่านไปรู้จักกับส่วนสำคัญของรถยนต์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ นั่นก็คือ "แชสซี" กับ "ตัวถัง" ในรถยนต์ว่าแท้จริงแล้วมันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

z02

แชสซี คืออะไร

     แชสซี (Chassis) หรือที่ในบ้านเราบางคนเรียกกันว่า "คัตซี" และในบางประเทศเรียกว่า เฟรม (Frame) นั้น แท้จริงแล้วมันคือส่วนที่เป็นโครงสร้างสำคัญที่สุดของตัวรถ เปรียบเสมือนเป็นกระดูกสันหลังของรถยนต์ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น มีลักษณะเป็นโครงเหล็ก โดยมันจะเชื่อมต่อกับทั้งเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง เพลาขับ รวมถึงช่วงล่างเอาไว้ด้วยกัน

     ปัจจุบัน แชสซี ยังเป็นส่วนสำคัญในรถยนต์ประเภทกระบะ และรถบรรทุก ที่เป็นเสมือนฐานล่างของรถ ที่จะประกอบรวมกับตัวถัง (Body) ด้านบนจนกลายเป็นรูปโฉมของรถยนต์ที่เราเห็นกันบนท้องถนน

z01

ตัวถัง คืออะไร

     ตัวถัง (Body) คืออีกหนึ่งชิ้นส่วนโลหะที่ถูกออกแบบและนำมาประกอบเข้าด้วยกันเป็นชิ้นส่วนที่ทำให้เกิดเป็นรูปโฉมของรถยนต์ อย่างไรก็ดีนับตั้งแต่ปี 1930 เป็นต้นมา ค่ายรถเริ่มพัฒนา แชสซี และ ตัวถัง รวมเป็นชิ้นส่วนชนิดเดียวกันในรถยนต์นั่งประเภทรถเก๋งทั่วไป

     ซึ่ง แชสซี และตัวถังที่ถูกสร้างขึ้นเป็นโครงสร้างทั้งตัวรถทั้งคันนี้จะเรียกว่า Unibody จึงเป็นที่มาของประเด็นที่หลายคนเถียงกันว่า รถเก๋งไม่มี แชสซี ! อย่างไรก็ดี แท้จริงแล้วมันคือ แชสซี และตัวถัง ที่ถูกสร้างภายในโครงสร้างโลหะเดียวกันทั้งชิ้น เพื่อรองรับความนุ่มนวลในการขับขี่ ส่วนรถกระบะในปัจจุบัน ยังเป็นรูปแบบของ แชสซี แยกจาก ตัวถัง เหมือนเดิมหรือที่เรียกว่า Body On frame นั่นเอง

     โดยไม่ว่าจะเป็นแชสซี หรือตัวถัง ผู้ผลิตจะออกแบบมาเพื่อความปลอดภัยเป็นสำคัญ ส่วนที่แข็งแรงที่สุดของรถยนต์ทุกคนจะอยู่ที่ด้านหน้าและด้านหลัง รวมถึงในบางรุ่นก็จะมีการเสริมคาดนิรภัยด้านข้างเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารด้วยเช่นกัน

z03

รถยุโรปแข็งกว่ารถญี่ปุ่นจริงหรือ

     นี่คือประเด็นที่ยังไม่มีค่ายรถยี่ห้อไหนออกมาประกาศยืนยันอย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีในยุคปัจจุบัน วัสดุที่นำมาใช้ผลิต ตัวถังนั้น จากที่เคยเป็นเหล็กทั้งหมดในอดีต เวลานี้มีการคิดค้นและผสมผสานอลูมิเนียม และวัสดุอื่นๆที่มีคุณสมบัติคงทนแต่น้ำหนักเบาเข้ามาทดแทน เพื่อทำให้น้ำหนักรถเบาลงและประหยัดพลังงานมากขึ้น

     ปัจจุบันมีค่ายรถหลายยี่ห้อ ทั้งแบรนด์อเมริกัน ยุโรป รวมถึงญี่ปุ่น ผลิตรถที่ตัวถังทำจากวัสดุอะลูมิเนียมทั้งคันผลิตออกมาแล้ว อาทิ ฟอร์ด F150 และฮอนด้า NSX เป็นต้น อย่างไรก็ดีสิ่งหนึ่งที่สามารถพิสูจน์ได้คือการวัดระดับมาตรฐานจากการทดสอบการชนของ ทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง

     โดยในแต่ละปี EuroNCAP ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในยุโรป จะมีการจัดอันดับความปลอดภัยของรถยนต์แต่ละยี่ห้อ และนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ www.euroncap.com ซึ่งหากย้อนดูผลการจัดอันดับจริงๆแล้ว ก็ไม่ใช่ว่ารถยุโรปจะกินขาดเสมอไป เพราะรถญี่ปุ่นในบางรุ่นก็มีผลการทดสอบความปลอดภัยจากการชนเหนือกว่ารถยุโรปเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook