ดื่มน้ำขวดในรถที่จอดทิ้งไว้กลางแดด เสี่ยงเป็นมะเร็งจริงไหม?

ดื่มน้ำขวดในรถที่จอดทิ้งไว้กลางแดด เสี่ยงเป็นมะเร็งจริงไหม?

ดื่มน้ำขวดในรถที่จอดทิ้งไว้กลางแดด เสี่ยงเป็นมะเร็งจริงไหม?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     หลายคนมีความเชื่อว่าการทิ้งขวดน้ำไว้ในรถที่จอดกลางแดด จะส่งผลให้น้ำในขวดมีการปนเปื้อนของสารก่อมะเร็ง อันเป็นผลจากการที่พลาสติกได้รับความร้อนเป็นระยะเวลานานๆ จึงไม่ควรดื่มน้ำจากขวดเด็ดขาด แต่ความจริงแล้วเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่?

     อ้างอิงจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่เคยออกมายืนยันว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบ “สารไดออกซิน” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในขวดพลาสติกบรรจุน้ำดื่ม แม้แต่การนำขวดน้ำไปทิ้งไว้ในรถที่จอดกลางแดด ก็ไม่พบสารพิษเช่นเดียวกัน โดยความเชื่อที่ว่าสารไดออกซินละลายออกมาจากขวดบรรจุน้ำดื่มเมื่อวางไว้ในที่ร้อนๆ เช่น ภายในรถยนต์ ฯลฯ เป็นเหมือนเรื่องเล่าที่มีการแผยแพร่ต่อกันมาโดยปราศจากข้อมูลที่แน่ชัด

waterbottleinsun

     ในความเป็นจริงนั้น จากที่มีการสืบค้นข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัยสรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินในพลาสติก รวมถึงสารเคมีต่างๆ ที่มีการกล่าวอ้างว่าละลายออกมาจากขวดพลาสติก ทั้งในสภาวะอุณหภูมิสูงหรือสภาวะแช่แข็ง แล้วทำปฏิกิริยาเกิดเป็นสารไดออกซินนั้นไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าเกิดขึ้นได้

     นอกจากนี้ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังเคยทำการทดลองโดยนำตัวอย่างน้ำดื่มที่บรรจุในขวดพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีน (PE) พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิพรอพิลีน (PET) พอลิคาร์บอเนต (PC) และพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ที่จำหน่ายในตลาดสดและซุปเปอร์มาร์เก็ตจำนวน 18 ยี่ห้อ และนำไปวางในรถที่จอดกลางแดดเป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์สารประกอบกลุ่มไดออกซิน จำนวน 17 ตัว และพีซีบี จำนวน 18 ตัว ผลการวิเคราะห์สรุปว่า ตรวจไม่พบ สารประกอบกลุ่มไดออกซินและพีซีบีในทุกตัวอย่าง

     ดังนั้น การดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่ทิ้งไว้ในรถจึงไม่ทำให้ก่อมะเร็งแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook