ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันตรงไหน?

ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันตรงไหน?

ประกันชั้น 2+ กับ 3+ แตกต่างกันตรงไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2+ และชั้น 3+ แตกต่างกันตรงไหนบ้าง? แล้วควรจะเลือกทำประกันรถยนต์ชั้นไหนดีจึงจะคุ้มค่ามากที่สุด? Sanook Auto มีคำตอบมาฝากกันครับ

นอกเหนือจากประกันภัยชั้น 1 ที่มีค่าเบี้ยประกันสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประกันประเภทอื่นนั้น ประกันชั้น 2+ และ 3+ ก็เป็นอีกทางเลือกที่มีราคาย่อมเยาลงมา และยังคงให้ความคุ้มครองรถคันที่เอาประกัน แตกต่างจากประกันชั้น 2 ที่จะคุ้มครองในบางกรณี และประกันชั้น 3 ที่คุ้มครองเฉพาะคู่กรณีเท่านั้น

ประกันชั้น 2+ แตกต่างจาก 3+ อย่างไรบ้าง?

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ ต่างก็มอบความคุ้มครองใกล้เคียงกับประกันชั้น 1 โดยจะคุ้มครองรถคันที่เอาประกันภัยในกรณีอุบัติเหตุที่มีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบก (รถชนรถ) ตามทุนประกันที่ทำไว้ แตกต่างจากประกันชั้น 2 และชั้น 3 แบบปกติที่คุ้มครองเฉพาะค่าซ่อมของคู่กรณีเท่านั้น (ประกันชั้น 2 ครอบคลุมในบางกรณีเพิ่มเติม เช่น รถหาย ไฟไหม้ ภัยธรรมชาติ ฯลฯ)

อย่างไรก็ดี ประกันชั้น 2+ และ 3+ ต่างก็มีข้อแตกต่างเล็กน้อย โดยจะเพิ่มความคุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ และภัยธรรมชาติบางประเภท จึงทำให้ค่าเบี้ยของประกัน 2+ สูงกว่า 3+ เล็กน้อย ขณะที่เงื่อนไขความคุ้มครองตัวรถคันที่เอาประกันภัยยังคงเหมือนกันแทบทั้งหมด จะต่างกันก็เพียงทุนประกันตามที่ได้เลือกซื้อไว้แต่แรกนั่นเอง

สรุปง่ายๆ คือ ประกันชั้น 3+ จะด้อยกว่าประกันชั้น 2+ ตรงที่ไม่คุ้มครองกรณีรถหาย ไฟไหม้ และความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติเท่านั้น

ข้อควรระวังก่อนทำประกันชั้น 2+ และ 3+

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ 3+ จะคุ้มครองรถคันที่เอาประกันภัยก็ต่อเมื่อประสบอุบัติเหตุกับพาหนะที่สามารถจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกได้เท่านั้น จึงไม่คุ้มครองกรณีเฉี่ยวชนแบบไม่มีคู่กรณี เช่น เฉี่ยวเสาบ้าน, ชนกระถางต้นไม้ ฯลฯ

อีกทั้งยังไม่คุ้มครองกรณีถูกชนแล้วหนี ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์รายละเอียดของคู่กรณีได้ ยกตัวอย่างเช่น หากจอดรถไว้ข้างถนน หากถูกเฉี่ยวชนแล้วคู่กรณีหลบหนีไป ลักษณะเช่นนี้เจ้าของรถจะต้องพิสูจน์หาคู่กรณีที่แน่ชัดได้เสียก่อน จึงจะได้รับความคุ้มครอง

ดังนั้น หากจำเป็นต้องทำประกันชั้น 2+ หรือ 3+ เนื่องจากต้องการประหยัดค่าเบี้ยจากประกันชั้น 1 แล้วล่ะก็ ควรติดตั้งกล้องหน้ารถเพื่อเป็นตัวช่วยในการพิสูจน์คู่กรณีเอาไว้ด้วย จะช่วยลดโอกาสถูกปฏิเสธการเคลมประกันได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook