"อีซูซุ" มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนพร้อมเผยโฉม "D-Max EV" ก่อนผลิตจริงปี 2568

"อีซูซุ" มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนพร้อมเผยโฉม "D-Max EV" ก่อนผลิตจริงปี 2568

"อีซูซุ" มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนพร้อมเผยโฉม "D-Max EV" ก่อนผลิตจริงปี 2568
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"อีซูซุ" เดินหน้ามุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยแนวคิด "โซลูชั่นส์อันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality) ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ การพัฒนาพลังงานสะอาดรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบการจัดการ และกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ ของอีซูซุ โดยคำนึงถึงความต้องการที่แตกต่างกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้รถ

isuzu59

มร. ทาคาชิ โอไดระ กรรมการผู้จัดการ และรองประธานบริหารรับผิดชอบด้านวิศวกรรม และกลยุทธ์ความเป็นกลางทางคาร์บอน บริษัท อีซูซุมอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า อีซูซุได้ประกาศเป้าหมายว่าจะ “สร้างเสริมการขับเคลื่อนอย่างสร้างสรรค์ของโลก” (Creating the Movement of the Earth) เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว

โดยตระหนักว่าอุตสาหกรรมยานยนต์โลกอยู่ในยุคการเปลี่ยนผ่านในรอบศตวรรษ รถเพื่อการพาณิชย์ก็ต้องเร่งพัฒนาด้วยเช่นกัน เรากำลังเผชิญกับความท้าทายทางสังคมที่ต้องเอาชนะ และเพิ่มการขับเคลื่อนอย่างสร้างสรรค์ สำหรับผู้คนและสินค้าทั้งหมดในโลก อาทิ ความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องบรรลุเป้าหมายสังคมความเป็นกลางทางคาร์บอน ความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรเป็นศูนย์ การจัดการปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

isuzu61

สำหรับนโยบายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของอีซูซุในประเทศไทย มร. ทาคาชิ ฮาตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ จำกัด ชี้แจงว่า ปัจจุบันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ที่สำคัญของโลก มีการผลิตรถยนต์ต่อปีมากถึง 1.8 - 1.9 ล้านคัน สูงที่สุดในอาเซียน และเป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ และการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเป็นรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engines : ICE) เกือบทั้งหมด ในปี 2566 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 9.73 แสนล้านบาท ซึ่งรถปิกอัพและอนุพันธ์ในฐานะ “โปรดักส์แชมเปี้ยน” เป็นรถที่ส่งออกมากที่สุดถึง 786,383 คัน คิดเป็น 70% จากรถทุกประเภท

นอกจากนี้ อีซูซุจะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 1 ล้านล้านเยน หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท ในด้านการวิจัยและพัฒนาภายในปีงบประมาณ 2573 เพื่อดำเนินการเรื่องการปฏิรูปทางดิจิทัลเกี่ยวกับความเป็นการทางคาร์บอนและโลจิสติกส์ (CN and logistics DX) อีกทั้งการสร้างศูนย์พัฒนาและทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ "The EARTH Lab" ภายในปี 2569

สำหรับ “โซลูชั่นส์อันหลากหลายสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Multi-pathways to Carbon Neutrality) ไม่ได้มีเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ หรือ BEV เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรถไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน (FCEV), การใช้น้ำมันไบโอดีเซลเจนเนอเรชั่นใหม่จากพืชใช้แล้ว (HVO - Hydrotreated Vegetable Oil) และ น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (e-Fuel) กับเครื่องยนต์สันดาปภายใน

isuzu47

ขณะเดียวกัน อีซูซุ ยังได้เผยโฉมกระบะไฟฟ้าต้นแบบ Isuzu D-Max EV Concept เป็นครั้งแรก ขับเคลื่อนด้วยชุดมอเตอร์คู่ eAxle ทำงานร่วมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ให้กำลังสูงสุด 130 กิโลวัตต์ หรือประมาณ 177 แรงม้า แรงบิดสูงสุด 325 นิวตัน-เมตร พร้อมแบตเตอรี่ที่ให้ระยะทางขับขี่ประมาณ 300 กม. หรือมากกว่า โดยมีแผนเดินสายการผลิตจากโรงงานในประเทศไทยปี 2568 เพื่อส่งออกไปยังนอร์เวย์เป็นประเทศแรก จากนั้นจึงตามด้วยสหราชอาณาจักร, ออสเตรเลีย, ไทย และภูมิภาคอื่นๆ ต่อไป

isuzu36

อีกรุ่นเป็น Isuzu D-Max Hi-Lander MHEV 4 ประตู ทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องยนต์ดีเซล 1.9 Ddi Blue Power กับมอเตอร์ไฟฟ้าขนาดเล็ก และแบตเตอรี่ 48 โวลต์ เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่องยนต์ในช่วงออกตัว รวมถึงช่วยลดการสั่นสะเทือนในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์และช่วยลด CO2 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำตลาด

isuzu16

Isuzu Elf EV พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิด “Isuzu Modular Architecture and Component Standard : I-MACS” สำหรับรถบรรทุกขนาดกลางและขนาดใหญ่ในรูปแบบต่างๆ พร้อมการออกแบบ “Center Drive System EV” เพื่อความสมดุลในการกระจายน้ำหนักและวงเลี้ยวที่เหมาะสม

ขณะเดียวกันอีซูซุอยู่ระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยีการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery Swapping System) ในระยะเวลาอันสั้นเพื่อลดระยะเวลาในการจอดเพื่อชาร์จแบตเตอรี่ อีกทั้งยังสามารถเลือกแบตเตอรี่ได้ตั้งแต่จำนวน 2 - 5 ก้อน เพื่อให้เหมาะกับระยะทางการขนส่ง

isuzu01

Isuzu Elf FCEV รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดกลางเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ ภายใต้โครงการ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) เหมาะกับการใช้งานบรรทุกหนัก สามารถเติมเชื้อเพลิงได้รวดเร็ว และไม่ก่อให้เกิดมลพิษ เป็นการเพิ่มตัวเลือกรถบรรทุกในตลาด โดยในญี่ปุ่นได้มีการวิ่งทดสอบตามการใช้งานจริงจำนวน 90 คัน ที่โตเกียว ฟุกุชิมะ และฟุกุโอกะ ส่วนประเทศไทยได้มีการวิ่งทดสอบแล้วจำนวน 4 คัน เมื่อปลายปี 2566 ที่ผ่านมา

อีซูซุยังมีกิจกรรมเพื่อสนับสนุนความเป็นกลางทางคาร์บอนอื่นๆ เช่น การลงนามบันทึกข้อตกลงการเข้าร่วมมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ากับกรมสรรพสามิตเพื่อใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถไฟฟ้าอีซูซุ การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาโครงการทดสอบรถยนต์กับพลังงานสะอาดเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ระหว่าง ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ มิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (ประเทศญี่ปุ่น) กับ ปตท. เพื่อศึกษาวิจัยน้ำมัน e-fuel และน้ำมัน HVO เป็นต้น

isuzu70

ตลอดระยะเวลา 67 ปีของการดำเนินธุรกิจอีซูซุในประเทศไทย อีซูซุได้อยู่เคียงคู่กับสังคมไทยในฐานะนิติบุคคลที่ดีเสมอมาภายใต้ปรัชญาการดำเนินธุรกิจ “วิถีอีซูซุ” (Isuzu Spirit) ผู้ใช้สุขใจ เพิ่มพูนรายได้ ช่วยให้สังคมพัฒนา” ผ่านนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ และเราขอให้คำมั่นว่า เราจะยังคงยืนหยัดร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยในการผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้ามุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนตามที่ได้ตั้งไว้

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ

อัลบั้มภาพ 20 ภาพ ของ "อีซูซุ" มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนพร้อมเผยโฉม "D-Max EV" ก่อนผลิตจริงปี 2568

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook