ต่อภาษีรถยนต์ 2567 อัปเดตล่าสุด เสียเงินกี่บาท?

ต่อภาษีรถยนต์ 2567 อัปเดตล่าสุด เสียเงินกี่บาท?

ต่อภาษีรถยนต์ 2567 อัปเดตล่าสุด เสียเงินกี่บาท?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต่อภาษีรถยนต์ 2567 เสียค่าต่อภาษีกี่บาท สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง, รถมอเตอร์ไซค์, รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง (รถตู้), รถยนต์ไฟฟ้า, รถแท็กซี่ และอื่นๆ

ภาษีรถยนต์ คืออะไร?

ภาษีรถยนต์ เป็นค่าใช้จ่ายที่เจ้าของรถทุกคนต้องจ่ายให้กับกรมการขนส่งทางบก โดยจำนวนเงินภาษีจะขึ้นอยู่กับอายุรถ ขนาดเครื่องยนต์ (cc) และน้ำหนักรถ เมื่อชำระภาษีแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะจัดส่งป้ายภาษีมาให้ภายใน 10 วัน เจ้าของรถต้องติดป้ายภาษีที่กระจกหน้ารถ หากไม่ติดอาจถูกปรับเมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจพบ

หากขาดการต่อภาษีรถยนต์ เจ้าของรถจะต้องเสียค่าปรับ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1% ต่อเดือน และหากขาดต่อภาษีเกิน 3 ปี ป้ายทะเบียนรถจะถูกยกเลิก ต้องคืนป้ายและเริ่มกระบวนการใหม่

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

  • คู่มือจดทะเบียนรถ
  • หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (ตรอ.) หากรถมีอายุเกินเกณฑ์
  • สำเนา พ.ร.บ. รถยนต์ที่ยังไม่หมดอายุ

อัตราภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 ที่นั่ง จัดเก็บตามความจุกระบอกสูบ (ซีซี)

  • 600 ซีซีแรก ซีซีละ 0.50 บาท
  • 601 - 1,800 ซีซี ๆ ละ 1.50 บาท
  • เกิน 1,800 ซีซี ๆ ละ 4.00 บาท

หมายเหตุ: กรณีจดทะเบียนในนามนิติบุคคลให้จัดเก็บในอัตราสองเท่าจากที่ระบุไว้ข้างต้น

หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อๆ ไป ดังนี้

Advertisement
  • ปีที่ 6 ร้อยละ 10
  • ปีที่ 7 ร้อยละ 20
  • ปีที่ 8 ร้อยละ 30
  • ปีที่ 9 ร้อยละ 40
  • ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50

อัตราภาษีรถยนต์รถจักรยานยนต์ รถพ่วง รถบดถนน รถแทรกเตอร์การเกษตร จัดเก็บเป็นรายคัน

  1. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 100 บาท
  2. รถจักรยานยนต์สาธารณะ คันละ 100 บาท
  3. รถพ่วงของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล คันละ 50 บาท
  4. รถพ่วงนอกจากข้อ 3 คันละ 100 บาท
  5. รถบดถนน คันละ 200 บาท
  6. รถแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตร คันละ 50 บาท

อัตราภาษีรถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง รถรับจ้าง รถบรรทุก รถลากจูง รถแทรกเตอร์ที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร จัดเก็บตามน้ำหนัก

 ต่อภาษีรถ ราคาเท่าไหร่ต่อภาษีรถ ราคาเท่าไหร่

ข้อมูลข้างต้นจะช่วยให้ทราบว่าแต่ละปีรถของคุณจะต้องเสียภาษีเป็นจำนวนเงินเท่าใด โดยสามารถตรวจสอบจำนวนเงินที่แน่ชัดจากสำนักงานขนส่งพื้นที่ 1-5 และสำนักงานขนส่งประจำแต่ละจังหวัด

แนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการต่อภาษีรถยนต์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้