สติ๊กเกอร์ "มือใหม่หัดขับ" ติดแล้วได้อะไร?

สติ๊กเกอร์ "มือใหม่หัดขับ" ติดแล้วได้อะไร?

สติ๊กเกอร์ "มือใหม่หัดขับ" ติดแล้วได้อะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนใช้รถในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่คงเคยเห็นรถยนต์บางคันติดสติ๊กเกอร์ด้านท้ายว่า "มือใหม่หัดขับ" กันจนชินตา แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าสติ๊กเกอร์พวกนี้ติดแล้วได้ประโยชน์อะไร และผู้ที่เพิ่งขับรถจริงๆ ควรหามาติดหรือไม่? Sanook Auto จะพาไปหาคำตอบกัน

"Wakaba Mark" เป็นสติ๊กเกอร์มือใหม่หัดขับสำหรับผู้ใช้รถในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสติ๊กเกอร์ที่ถูกบังคับตามกฎหมายว่าผู้ที่เพิ่งได้รับใบอนญาตขับขี่รถยนต์ จะต้องติดสัญลักษณ์นี้เข้ากับตัวรถทั้งด้านหน้าและด้านหลังเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี เพื่อแสดงว่าผู้ขับขี่รถคันดังกล่าวมีทักษะการขับขี่ในระดับเริ่มต้น ผู้ใช้ถนนรายอื่นจะได้เพิ่มความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ

Wakaba Mark เป็นสัญลักษณ์ของใบไม้ผลิ มีสีเขียวและเหลือง บ่งบอกว่าเป็นผู้ขับขี่มือใหม่Wakaba Mark เป็นสัญลักษณ์ของใบไม้ผลิ มีสีเขียวและเหลือง บ่งบอกว่าเป็นผู้ขับขี่มือใหม่

แต่สำหรับประเทศไทย (รวมถึงแทบทุกประเทศทั่วโลก) ไม่มีข้อกำหนดตามกฎหมายว่าจะต้องติดตั้งสติ๊กเกอร์มือใหม่หัดขับเหมือนกับประเทศญี่ปุ่น แต่ถึงกระนั้นการติดตั้งสติ๊กเกอร์ลักษณะดังกล่าวก็มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ข้อ ดังนี้

1. เพื่อให้ผู้อื่นเพิ่มความระมัดระวัง - การติดสติ๊กเกอร์มือใหม่หัดขับจะช่วยให้ผู้ใช้ถนนรายอื่นเข้าใจถึงสถานการณ์ และเพิ่มความระมัดระวังได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากผู้ที่เพิ่งได้ใบขับขี่มักยังขับรถไม่แข็ง ไม่กล้าใช้ความเร็วสูง หากผู้ขับขี่ด้านหลังเห็นสติ๊กเกอร์ก็สามารถแซงไปได้เลย

2. ช่วยเพิ่มความมั่นใจแก่ผู้ขับขี่ - การติดสติ๊กเกอร์มือใหม่หัดขับจะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ขับขี่มากขึ้น ช่วยลดความรู้สึกกดดันจากผู้ขับขี่รอบข้าง เพิ่มความปลอดภัยทั้งแก่ตัวเองและคนอื่นได้

ส่วนสติ๊กเกอร์แม้ว่าจะไม่มีการกำหนดรูปแบบว่าต้องใช้หน้าตาแบบไหน แต่ควรเลือกที่สามารถมองเห็นได้ง่าย อ่านง่าย อ่านแล้วเข้าใจทันทีตั้งแต่แรกเห็น และมีขนาดพอเหมาะ ไม่ใหญ่จนเกินไป จะได้ไม่บดบังทัศนวิสัยในการขับรถ

แต่สิ่งสำคัญกว่าสติ๊กเกอร์มือใหม่หัดขับ คือการเรียนรู้ทักษะการขับรถจนกว่าจะคุ้นชินด้วยการขับรถบ่อยๆ ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุให้น้อยที่สุดนั่นเองครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook