ทำไมทางด่วนโทลล์เวย์ ถึงแพงกว่าทางด่วนสายอื่น?

ทำไมทางด่วนโทลล์เวย์ ถึงแพงกว่าทางด่วนสายอื่น?

ทำไมทางด่วนโทลล์เวย์ ถึงแพงกว่าทางด่วนสายอื่น?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทางด่วนโทลล์เวย์ดอนเมืองถือเป็นทางด่วนสายสำคัญของประชาชนที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพ โดยเฉพาะย่านรังสิตที่มีผู้อยู่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก การเดินทางเข้าเมืองด้วยทางด่วนโทลเวย์จะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางของใครหลายคนลงได้มากทีเดียว

แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมทางด่วนโทลล์เวย์ (Tollway) ซึ่งถือว่าเป็นทางด่วนที่มีระยะทางสั้นที่สุดของกรุงเทพฯ กลับมีราคาค่าผ่านทางสูงลิบลิ่ว แถมยังมีแผนขึ้นค่าผ่านทางอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเป็นเพราะอะไร Sanook Auto จะพาไปหาคำตอบกัน

ทำไมทางด่วนโทลล์เวย์ดอนเมืองถึงแพงกว่าทางด่วนสายอื่น?

ปัจจุบันทางด่วนโทลล์เวย์ดอนเมือง หรือ ทางยกระดับอุตราภิมุข บริหารงานโดย บริษัท ทางยกระดับดอนเมือง จำกัด (มหาชน) โดยคิดค่าผ่านทางเป็นไปตามสัญญาสัมปทานตามบันทึกข้อตกลงแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทานทางหลวง ฉบับที่ 3/2550 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 เพื่อชดเชยรายได้จากการปิดใช้สนามบินดอนเมืองช่วงปลายปี 2549 ตามการแก้ไขสัญญาฉบับที่ 3/2550 ลงวันที่ 12 กันยายน 2550 มีกำหนดการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าผ่านทางทุก 5 ปี จนกว่าจะครบสัญญาในปี 2577 ปรับครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2562

อัตราค่าผ่านทางโทลล์เวย์ดอนเมืองปี 2567

tollway02

tollway01

หมายเหตุ: *อัตราค่าผ่านทางรถ 4 ล้อ จำนวน 115 บาท/คัน/เที่ยว และรถมากกว่า 4 ล้อ จำนวน 155 บาท/คัน/เที่ยว เป็นการชำระค่าผ่านทางยกระดับฯ ช่วงอนุสรณ์สถาน-ดอนเมือง และช่วงดอนเมือง-ดินแดง รวมกันครั้งเดียวที่ด่านดอนเมือง

ค่าทางด่วนโทลล์เวย์ดอนเมืองเทียบกับทางด่วนสายอื่น

อัตราค่าผ่านทางสำหรับรถ 4 ล้อ

  • ทางพิเศษอุดรรัถยา บางปะอิน - ปากเกร็ด (32 กม.): 55 บาท
  • ทางพิเศษบูรพาวิถี บางนา - ชลบุรี (55 กม.): 80 บาท
  • ทางหลวงพิเศษ (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 7 ลาดกระบัง - พัทยา (125 กม.): 105 บาท
  • โทลล์เวย์ดอนเมือง (28 กม.): 115 บาท

ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าผ่านทางครั้งถัดไปจะมีขึ้นในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 ปรับขึ้น 5-10 บาท จากอัตราที่เรียกเก็บในปัจจุบัน อัตราใหม่จ่ายต่ำสุด 40 บาท และสูงสุด 170 บาท

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook