เสาอากาศ "ครีบฉลาม" ดียังไง? ถ้าไม่ใช่ครีบฉลามจะเป็นแบบไหน?

เสาอากาศ "ครีบฉลาม" ดียังไง? ถ้าไม่ใช่ครีบฉลามจะเป็นแบบไหน?

เสาอากาศ "ครีบฉลาม" ดียังไง? ถ้าไม่ใช่ครีบฉลามจะเป็นแบบไหน?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยสังเกตไหมครับว่ารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ล้วนแต่ติดตั้งเสาอากาศแบบครีบฉลามมาให้ทั้งนั้น ตั้งแต่รถอีโคคาร์ไปจนถึงรถยนต์หรูราคาแพง ก็ล้วนแต่ติดตั้งเสาอากาศประเภทนี้มาให้ แล้วทำไมถึงต้องเป็นครีบฉลาม? เสาอากาศสมัยก่อนหน้าตาเป็นอย่างไร? บทความนี้ Sanook Auto มีคำตอบมาฝากกันครับ

ทำไมเสาอากาศต้องครีบฉลาม?

หากย้อนกลับไปเมื่อยุค 90 หรือก่อนหน้านั้น รถยนต์ส่วนใหญ่จะยังคงติดตั้งเสาอากาศแบบที่เป็นเสาจริงๆ มาให้ ถ้าเป็นรถราคาแพงขึ้นมาหน่อยก็จะเป็นเสาอากาศแบบไฟฟ้าที่ขึ้น-ลงโดยอัตโนมัติเมื่อเปิดหรือปิดวิทยุ ก่อนที่จะเริ่มทยอยเปลี่ยนไปเป็นเสาอากาศแบบฝังที่กระจกหลังในช่วงยุคปี 2000 ซึ่งช่วยให้การออกแบบตัวรถดูสะอาดตามากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีเสาอากาศมาเกะกะกวนใจ

แต่ปัจจุบันรถยนต์หลายรุ่นติดตั้งเสาอากาศแบบครีบฉลามไว้บริเวณหลังคารถส่วนท้าย ซึ่งสาเหตุที่ต้องออกแบบให้มีลักษณะคล้ายกับครีบฉลามก็เพื่อให้มีความลู่ลมมากที่สุดนั่นเอง จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเสียงรบกวนขณะขับรถด้วยความเร็วสูง และยังช่วยไม่ให้รถสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย

ข้อดีของเสาอากาศแบบครีบฉลาม (Shark fin antenna) มีหลายอย่าง เช่น ช่วยให้ตัวรถดูสวยงามมากขึ้น มีอายุการใช้งานยาวนานไม่ต่างกันเสาอากาศแบบปกติ และสามารถใช้กับอุปกรณ์ได้หลากหลาย เช่น วิทยุ, ระบบนำทาง, ระบบติดตามตัวรถ ฯลฯ นอกนั้นแทบไม่ต่างจากเสาอากาศแบบฝังกระจกปกติเลย

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเสาอากาศแบบครีบฉลามเริ่มได้รับความนิยมจากผู้ผลิตรถยนต์ลดลง โดยเปลี่ยนกลับไปเป็นเสาอากาศแบบฝังกระจกเช่นเดิม เนื่องจากเสาอากาศประเภทนี้ต่อให้ออกแบบลู่ลมมากแค่ไหน แต่ยังกระทบต่อหลักอากาศพลศาสตร์ของตัวรถอยู่ดี การกลับไปใช้เสาอากาศแบบฝังกระจกจึงเป็นทางออกที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคที่กำลังผันเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ทุกรายละเอียดของการออกแบบล้วนแต่มีความสำคัญเพื่อลดอัตราสิ้นเปลืองให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

ดังนั้น อนาคตเราอาจไม่ได้เห็นเสาอากาศแบบครีบฉลามอีกต่อไปก็เป็นได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook